วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เคล็ดลับสำหรับการปั่น จักรยาน ทางไกลระยะทาง 100 กิโลเมตรขึ้นไป
สำหรับนักปั่นจักรยานหลายๆ คนการที่จะปั่นจักรยานให้ได้ระยะทาง 100 กิโลเมตร ขึ้นไปนั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยนะครับ ยกเว้นสำหรับผู้ที่เป็นนักกีฬาปั่นจักรยานอยู่แล้ว 100 ก.ม ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักกีฬา จักรยาน แล้วละก็การที่ปั่นจักรยานเป็นระยะทางไกลๆ 100 ก.ม ขึ้นไปนั้นถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้นะครับ แต่เราต้องมีการเตรียมตัวกันหน่อย ถือว่าไปปั่นจักรยานเที่ยวก็แล้วกันอย่าไปจริงจังกับเรื่องความเร็วให้มากนักครับเดี๋ยวจะปั่นไม่ครบ 100 ก.ม แถมกลับมาบ้านเราอาจจะไม่สบายได้ เพราะออกกำลังมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับใหว อันนี้สำคัญมากนะครับ และนี่ยังเป็นสาเหตุหลักๆ เลยที่ทำให้ผู้ที่ปั่นจักรยานเบื่อการปั่นจักรยาน และเลิกปั่นไปในที่สุด
ยกตัวอย่างแบบง่ายนะครับ ถ้าคุณจะปั่นจักรยานระยะทางประมาณ 120 ก.ม โดยใช้ความเร็วประมาณ 20 - 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทริปนี้คุณจะใช่เวลาในการปั่นประมาณ 6 ชั่วโมง ขึ้นไป แต่ไม่น่าจะเกิน 8 ชั่วโมง นะครับเวลานี้เผื่อสำหรับการแวะทานอาหารเที่ยง และทำธุระต่างแล้ว แต่ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่นเส้นทางที่เราจะไปปั่น เป็นทางเรียบ หรือว่ามีทางขึ้นเขา หากเส้นทางที่เราไปปั่นเป็นเขาเยอะๆ เราควรเผื่อเวลาไว้ด้วยครับเพราะความเร็วที่เราใช้ปั่นจะช้าลง ดังนั้นเราควรจะศึกษาเส้นทางกันก่อนแล้วจึงมาคำนวนเวลาในการปั่น แล้วจึงเตรียมตัวอีกทีครับ
เคล็ดลับการปั่นจักรยานให้ครบระยะทางที่เราตั้งเป้าหมายไว้
การเตรียมตัวก่อนออกไปปั่นจักรยาน
คุณจะต้องคำนวนเวลาว่าวันนี้เราจะปั่นโดยใช้เวลาประมานกี่ชั่วโมง และกำหนดเวลาในการเริ่มต้นปั่นว่าเราจะออกไปปั่นเวลากี่โมง และจะกลับถึงที่พัก หรือบ้านเวลากี่โมง เอาแบบคล่าวๆ ครับไม่ต้องตรงเวลาเปะ แต่โดยส่วนตัวผมเอง ผมจะออกไปปั่นแต่เช้าหน่อยครับ เพราะจะเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วน 7 - 8 โมงเช้าเพราะการจราจร จะคับคั่งเกินไป
มันอยู่ที่ตัวเราว่าเราจะปั่นแบบไหน
การที่เราปั่นจักรยาน ระยะทางไกลๆ นั้นความเมื่อยล้านั้นเป็นของคู่กันอยู่แล้วครับ จงพักหากเราอยากจะพัก มันไม่ใช่เรื่องสำคัญเลยที่เราจะต้องนั้งบนอานจักรยานตลอด เช่นหากเราเห็นวิวทิวทัศน์สวยๆ ตามทางที่เราปั่นไป เราอาจจะแวะถ่ายรูปเก็บไว้ดู ภายหลัง จงอย่าเครียดนึกเสียว่าเป็นการไปเที่ยว
กินให้เยอะๆ
ในระหว่างการปั่นจักรยานเราควรทานของว่าง หรือขนมไปด้วย และพยายามกินบ่อยมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ซึ่งของว่างหรือ ขนมนั่นควรจะเป็นของที่ให้พลังงานสูงเพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้ร่างกายของคุณ หากคุณไม่ได้พลังงานที่เพียงพอแล้วละก็ ผลที่ตามมานั้น มันค่อนข้างจะหนักนะครับ ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตัวผมเอง ตอนที่เริ่มปั่นจักรยานใหม่ๆ ตอนนั้นออกไปซ้อมกับรุ่นพี่คนหนึ่ง ระยะทางในการปั่นประมาน 150 ก.ม แถมยังเป็นทางที่เป็นเขาเยอะด้วยครับ ระหว่างทางผมไม่ค่อยได้ทานอะไร ยกเว้น พักทานข้าวเที่ยง และน้ำเปล่าอีก 2 ขวด เหตุเกิดตอนไกล้จะถึงบ้าน คือเหลืออีก ประมาณ 20 ก.ม จะถึงบ้านแล้วผมก็รู้สึก ว่าตัวเองไม่มีแรงขึ้นมาเฉยๆ คล้ายๆ กับรถเวลาน้ำมันหมดนั้นแหละครับ อาการคือ ตัวจะเย็นๆ และใจเราจะหวิวๆ หากปั่นต่อผมคงน็อคคา จักรยานแน่ ผมเลยบอกพี่เขาว่าเราใจหวิวๆ หมดแรง พี่เขาเลยรีบจอด และซื้อน้ำอัดลมให้ผมทาน และนั่งพักกันสักพัก แรงผมก็เริ่มกลับมาแบบน้อยๆ พอจะพาตัวเองกลับบ้านได้ หลังจากทริปนั้นเวลาผมออกไปปั่นระยะทางไกลอีก ผมพกขนมเพียบครับ ประเภทว่ากระเป๋าตุงกันเลยครับ เพราะเข็ดแล้วครับ
ดื่มน้ำเยอะๆ เข้าไว้
น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เวลาปั่นจักรยาน ร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำออกไป โดยเหงือของเรานั้นเองครับ การจิบน้ำบ่อยเวลาปั่นนั้นจึงควรทำให้เป็นนิสัย พอนานๆ ไปเราจะคล่องเองครับ วิธีทดสอบง่ายว่าร่างกายของเราได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ คือระหว่างทางเวลาเรา แวะ เบา หรือปัสสาวะ ให้สังเกตุสีของมันหากเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ควรชดเชยน้ำให้ร่างกายอย่างเพียงพอ โดยเวลาปั่นควรจิบน้ำให้ถี่ขึ้น
อาหารกลางวันอย่าลืมครับ
แวะรับประทานอาหารเที่ยง ควรทานให้มากๆ และควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ไม่ต้องกลัวอ้วนครับ ทานเข้าไป ให้มากเท่าคุณจะทำได้ ผลดีของมันนั้นไม่ได้มีเฉพาะระหว่างปั่นจักรยาน แต่มันจะส่งผลดีต่อเนื่องไปจะถึง หลังจากที่เราปั่นจักรยาน เสร็จแล้วมันจะทำให้เราไม่รู้สึกอ่อนเพลียมากเกินไปจากการออกไปปั่นจักรยานไกลๆ พอเราทานอาหารเสร็จเราควรนั่งพักให้อาหารย่อยบ้างสัก 30 นาที แล้วค่อยออกไปปั่นต่อครับ
ประสบการณ์จะได้รับจากช่วงปั่นกลับนี่แหละครับ
เมื่อคุณเสร็จสิ้นการทานอาหารกลางวันแล้วก็ถึงเวลาสำหรับช่วงครึ่งหลังของการปั่นจักรยานทริปนี้แล้ว ทุกอย่างจะค่อยๆ เข้ามาหา เช่นความอ่อนล้า ความปวดเมื่อย และอื่นๆ แต่คุณต้อง ทนให้ได้ และคิดบวกเข้าไว้อย่าถอดใจโดยการโบกรถ สองแถว กลับบ้านนะครับ เพราะถ้าหากเราทำสำเร็จตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้ ถือว่าเราได้ชนะใจตัวเอง แล้วเพราะมันยิ่งใหญ่กว่าเราชนะคนอื่นๆ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์
การที่จะออกไปปั่น จักรยาน ระยะทางไกลๆ ผู้ปั่นควรจะมีสุขภาพที่แข็งแรง พอสมควรนะครับ ไม่ใช่ว่าไม่เคยปั่นเลย แต่จะไปออกทริป 100 ก.ม ผมว่าไม่ใหวแน่ครับ ควรเป็นผู้ที่ปั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถึงจะสามารถไปออกทริปไกลๆ ได้ ยังไงก็ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมไว้ก่อน จะดีกว่าครับ
ตอบลบน่าสนใจมาเลยนะครับ บอร์ดปราจีนบุรี
ตอบลบขอบคุณ พี่ Mr. Forextrading มากเลยครับ ที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ มีคำแนะนำอะไร สามารถติชมได้นะครับ วันหลังผมจะไปเยี่ยม ที่บอร์ดพี่นะครับ
ตอบลบขอบคุณครับพี่ยอดเยี่ยม
ตอบลบคุณ มด ก็เยี่ยมยอดมากครับ ขอบคุณมากครับ
ตอบลบขอบคุณสำหรับบทความนี้มากๆ เลยครับ
ตอบลบผมกำลังฟิตร่างกาย เพื่อทำสถิติให้ตัวเอง ครับ ปั่นไปกลับบ้าน-ที่ทำงาน
กรุงเทพฯ(ลาดกระบัง)-บางแสน
ตอนนี้ผมเพิ่งซื้อจักรยานมาใหม่ กำลังศึกษาข้อมูลการเริ่มปั่นทางไกล พี่ให้คำแนะนำได้ดีมากครับ ขอบคุณนะครับ
ตอบลบขอบคุณทุกคนที่เข้ามา แสดงความคิดเห็นมากครับ
ตอบลบถ้าเคยปั่นประมาณวันละครึ่งชั่วโมง ระยะทางประมาณ 10 กว่ากม.ขึ้นไป แล้วขึ้นไปปั่นระยะ 30 กม. อย่างงี้พอไหวไหมครับ
ตอบลบตอบคุณ อำนาจ ปกคุ้ม ครับ!! ผมบอกได้เลยครับว่า ไม่มีปัญหาครับ ยกตัวอย่างการฝึกซ้อมของผมสมัยก่อน นะครับ ผมซ้อมจักรยาน วันละ 40 ก.ม. เวลาไปออกทริปกับเพื่อนๆ ขี่ 100 ก.ม. สบายๆ ครับ แต่เวลาซ้อมนี้ต้องตั้งใจนะครับ เมื่อก่อนผมขี่ 40 ก.ม. ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงครับ (เพราะตอนนั้นกำลังฟิตสุดๆ ครับ)
ตอบลบขอบคุณครับสำหรับข้อมุลดีๆ ผมเคยน๊อคมาแล้วเนื่องจากขาดน้ำขาดคาร์โบฯ ถ้าได้เห็นบทความนี้ก่อนคงจะดี(ผมมือใหม่) ตอนนี้เข็ดแล้ว พักผ่อนเต็มที่ กินเยอะไว้ก่อน
ตอบลบถ้าออกทริปไกลๆ พยายามพกขนม และน้ำไปเยอะๆ ครับไม่ต้องอายใครครับ
ตอบลบก่อนวันออกทริป 1 - 2 วันพยายาม ท่านข้าวหรือขนมปังเยอะๆ พวกเนื้อ และผักต่างๆ ไม่ต้องเน้นมากครับ นักกีฬาส่วนใหญจะเรียกว่า โหลดคาร์โบไฮเดรต ครับ ลองทำดูก็ได้ครับ รับรองแรงแบบเหลือๆ ครับ
ขอบคุณครับ
อาการหมดเเรงจากการปั่นทางไกล เรียกว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีอาการช็อคถึงเสียชีวิตได้
ตอบลบ