บทความนี้ผมเริ่มร่างไว้ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ต้องหาข้อมูลเยอะมาก และทดลองเองด้วยครับ แล้วค่อยมาเขียนอีกที ก็เรื่องการเล่นเวทเทรนนิ่ง
สำหรับ
นักปั่นจักรยาน นั่นแหละครับ เพื่อนๆ พี่ๆ
หลายคนอาจจะเคยเห็นนักปั่นจักรยานระดับโลกหลายคน มีต้นขาที่ใหญ่
และแข็งแรงมาก
บางท่านอาจจะคิดว่าพวกเขาเหล่านั้นต้องฝึกปั่นจักรยานอย่างหนักกว่าจะได้ต้นขา
ที่ใหญ่ขนาดนั้นได้
แต่ไม่ใช่เลยครับการปั่นจักรยานมันไม่ได้ทำให้ขาใหญ่ขึ้นเลย
เพราะการปั่นจักรยานนั้น จัดอยู่ในการออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ (Cardio)
ซึ่งกล้ามเนื้อของเราจะทำงานไม่หนัก แต่จะทำงานเป็นเวลานานๆ
(ยกเว้นการแข่งขันจักรยานระยะสั่น ครับ) ซึ่งนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่ เวลาออกไปฝึกซ้อมแต่ละครั้ง
ก็จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ด้วยรอบขาที่ 80 - 100 รอบ/นาที
ด้วยรอบขาดังกล่าวนั้น นักปั่นจักรยานส่วนใหญ่จะใช้อัตราทดเกียร์ที่ไม่หนักจนเกินไป เพื่อที่จะให้ตนเองปั่นให้ครบตามระยะทางที่กำหนดไว้
ยิ่งถ้าคุณใช้อัตราทดเกียร์ที่หนักมากๆ เช่น 53/11 หรือ 53/10
คุณจะไม่สามารถทำรอบขาที่ 90 - 100 รอบต่อนาทีได้เป็นเวลานานๆ
สาเหตุเพราะกล้ามเนื้อของคุณนั้นยังแข็งแรงไม่เพียงพอ ที่จะรับอัตราทดดังกล่าวได้
แต่หากเป็นนักปั่นระดับอาชีพบางคน แล้วอัตราทดดังกล่าวอาจจะเบาไปเสียด้วย สำหรับเขาเหล่านั้น
แล้วเราจะทำยังไงให้มีขาที่แข็งแรงพอที่จะ
ใช้ปั่นจักรยานในอัตราทดที่หนักหน่วงได้เป็นเวลานานๆ
ทางออกคือคุณต้องรู้จัก ใช้การฝึกเวทเทรนนิ่งเสริมเข้าไปครับ
ยิ่งถ้าหากคุณจะเอาดีทางด้าน
การแข่งขันระยะสั้น หรืออยากจะเป็นตัวสปริ้นที่เก่งกาจแล้วละก็
การฝึกเวทเทรนนี้ยิ่งมีสำคัญมากสำหรับคุณ
สำหรับการฝึกเวทเทรนนิ่งนั้นจะว่ายากมันก็ไม่ยากครับ
แต่ที่สำคัญท่าทางต้องถูกต้อง และไม่โกงตัวเองครับ สำหรับเพื่อนๆ
ที่ไม่เคยฝึกเวทเทรนนิ่งมาก่อน ผมขอเตือนเลยนะครับ ว่าอย่าบ้าพลัง
เช่นไปฟิตเนส วันแรก เล่นมันทุกท่า ท่าละ 5 เซ็ท พอวันรุ่งขึ้น
ทรุดลุกไม่ขึ้นครับคือไม่สบายนั่นเอง ผมเคยเจอน้องๆ
และพี่ๆหลายคนในฟิตเนส ที่พึ่งมาฝึกเวทเทรนนิ่งเป็นครั้งแรก
ยังไม่ทราบว่าต้องฝึกยังไง จึงถามเพื่อนข้างๆ ที่เล่นด้วยกันว่า "ผมมาเล่นครั้งแรก
ช่วยแนะนำหน่อยครับว่าผมต้องเล่นท่าไหนยังไงบ้าง
คำตอบที่น้องเขาได้ไปก็คือ เล่นไปเลยท่าละ 6 เซ็ท - เซ็ทละ 12 ครั้ง
หากพรุ่งนี้รู้สึกเจ็บๆ ก็มาเล่นซ้ำอีกให้มันหายเจ็บ
พอดีผมนั่งอยู่ไม่ไกลเท่าไหร่ พอได้ยินคำตอบ ผมเลยคิดในใจว่า ซวยแล้วน้องถามผิดคนเสียแล้ว
และต่อมาผมก็ไม่เห็นน้องคนที่ตั้งคำถามมาเล่นฟิตเนสอีกเลย
ผมคิดว่าเขาคงเข็ดไปอีกนานละครับ"
ผมว่าในปัจจุบันความคิดแบบนี้น่าจะหมดไปได้แล้วนะครับยิ่งเป็นยุคที่เรา
สามารถหาความรู้ได้อย่างมากมายทั้งจากหนังสือ ที่มีวางขายกันทั่วไป
แล้วยังมีอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถใช้หาความรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อประมาณ
10 กว่าปีก่อนผมเคยสนใจเรื่องการเพาะกายอยู่เหมือนกันครับ
เลยตัดสินใจซื้อหนังสือมาศึกษาดู และปฏิบัติตามที่หนังสือเขาแนะนำไว้
ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจครับ ซึ่งสมัยก่อนที่ผมยังปั่นจักรยานแข่งขัน
ตารางฝึกซ้อมจะมีแต่ ปั่นจักรยานอย่างหนักเลยครับ ฝึก 6 วันต่อสัปดาห์
พักแค่ 1 วัน สำหรับตอนนี้แล้วการฝึกแบบนี้ผมว่า
ตัวเราจะมีพัฒนาการที่ช้ามาก เพราะฝึกหนักทุกวัน แต่มีวันพักแค่ 1 วัน
ร่างกายน่าจะฟื้นตัวไม่ทัน ซึ่งในปัจจุบันการฝึกจึงหลากหลายขึ้น
มีวันหนัก วันเบา และเวทเทรนนิ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า
นักกีฬาจักรยาน
ในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งกว่าสมัยก่อนมากครับ
แนวทางการฝึกเวทเทรนนิ่ง ขั้นพื้นฐาน
สำหรับการฝึกเวทเทรนนิ่งนั้นผู้ที่ไม่เคยฝึกมาก่อน ผมจะถือว่าเป็นผู้เริ่มต้นหมด ไม่ว่าคุณจะปั่น
จักรยานมากี่ปีก็ตามหากคุณไม่เคยฝึกเวท
จะถือว่าเป็นผู้เริ่มต้นหมดครับ และคุณควรปฏิบัติดังนี้ครับ
- ฝึกท่าหลักแค่ 1 ท่า ต่อกล้ามเนื้อ 1 ส่วน
(คือกล้ามเนื้อแต่ละส่วน จะมีท่าฝึกหลักของมันอยู่ครับ
เดี๋ยวผมจะลงรูปไว้ข้างล่างนะครับ)
- โดยแต่ละท่าให้ฝึกแค่ 1 เซ็ท, เซ็ทละ 15 - 20 ครั้ง
สำหรับร่างกายส่วนบน (หน้าอก, ไหล่, แขนด้านหลัง, หลัง,
ต้นแขนด้านหน้า, ปลายแขน, ท้อง)
วิธีเลือกน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับการยกคือ
ใช้น้ำหนักที่เราสามารถยกได้แค่ 15 - 20 ครั้ง โดยครั้งที่ 19 หรือ 20
เราจะรู้สึกฝืนๆ หรือล้าที่สุด จนไม่สามารถจะยกครั้งที่ 21 ได้
นั่นแหละครับคือน้ำหนักที่เหมาะสม (ส่วนท้องก็ Sit Up ธรรมดา ไม่ต้องอุ้มแผ่นเวทครับ)
- สำหรับร่างกายส่วนล่าง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับนักปั่นจักรยาน
ก็ให้ฝึกแค่ 1 เซ็ท, เซ็ทละ 7 - 10 ครั้ง (ต้นขา, ต้นขาด้านหลัง, น่อง)
ส่วนการเลือกน้ำหนักที่เหมาะสมก็ใช้หลักการเช่นเดียวกันกับที่ผมแนะนำ
ไว้ในหัวข้อที่แล้วครับ
- โดยใน 1 สัปดาห์ ควรฝึกเวทเทรนนิ่ง 2 - 3 วัน
โดยในวันที่มีการฝึกให้คุณฝึกให้ครบทุกส่วนของร่างกาย
หรือภาษานักเพาะกายเขาจะเรียกว่า "เล่นทั่วร่าง"
โดยต้องเริ่มจากกล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อนเสมอ กล้ามเนื้อมัดใหญ่คือ
กล้ามเนื้ออก, กล้ามเนื้อหลัง และ กล้ามเนื้อต้นขา
โดยทั่วไปผมจะเรียงลำดับการฝึกดังนี้ครับ = อก » ไหล่ » แขนหลัง » หลัง »
แขนหน้า » ปลายแขน » ต้นขาด้านหน้า » ต้นขาด้านหลัง
» น่อง » ท้อง โดยในแต่ละเซ็ท ให้คุณพัก 90 วินาที
สำหรับกล้ามเนื้อกลุ่มใหญ่ และ 60 วินาทีสำหรับกล้ามเนื้อกลุ่มเล็ก
- เมื่อคุณฝึกจนครบ 1 เดือน ทีนี้คุณก็สามารถเพิ่มจากท่าละ 1
เซ็ท เป็นท่าละ 2 เซ็ทได้แล้วครับ และเดือนที่ 3 และ 4
ก็เพิ่มเข้าไปเดือนละ 1 เซ็ท ให้ค่อยๆฝึกไปครับ อย่าใจร้อน
ผมไม่แนะนำให้ข้ามขั้นตอนไปฝึกหลายท่าต่อกล้ามเนื้อ 1 ส่วน
เมื่อคุณฝึกต่อไปจนครบ 4 เดือนคุณก็สามารถเพิ่มท่าฝึกเข้าไปอีก 1
ท่าต่อกล้ามเนื้อ 1 ส่วน แต่ที่สำคัญคุณอย่าลืมว่าคุณคือนักปั่นจักรยาน
ไม่ใช่นักเพาะกาย เมื่อคุณเห็นนักกีฬาเพาะกายเล่นท่าแปลกๆ และหนักๆ
คุณอย่าเผลอไปยกหนักตามเขานะครับเดี๋ยวจะบาดเจ็บได้ครับ
- ในการฝึกเวทเทรนนิ่งแต่ละครั้งนั้นระยะเวลาที่ได้ผลดีที่สุดคือ
ควรใช้เวลาอย่างน้อย 45 นาที และห้ามเกิน 90 นาที
หมายเหตุ หลายคนอาจสงสัยว่ากล้ามเนื้อส่วนบน
ทำไมต้องฝึกในจำนวนครั้งต่อ 1 เซ็ทเยอะๆ จุดมุ่งหมายคือ
ทำให้แข็งแรงแต่ไม่ต้องการให้กล้ามเนื้อใหญ่มาก ซึ่งนักปั่นจักรยาน
ทางไกลจะใช้กล้ามเนื้อส่วนบนน้อยกว่า ส่วนล่าง
แต่หากเป็นนักปั่นจักรยาน ระยะสั้นหรือ
ตัวสปริ้นอันนี้ต้องเล่นให้ใหญ่ทั้งตัวครับ
หลายคนคงเคยสังเกตุเห็น นักปั่นจักรยานระยะสั้นของต่างประเทศส่วนใหญ่
ตัวของเขาเหล่านั้นจะเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
ไม่ต่างอะไรกับนักกีฬาเพาะกายเลย
บางคนที่ผมเคยเห็นตัวใหญ่กว่านักเพาะกายก็มีครับ
เพาะหากร่างกายเราเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อที่ใหญ่และแข็งแรง จะส่งผลให้การออกตัว และเร่งความเร็วเป็นไปอย่างฉับไวขึ้นนั้นเองครับ
ท่าพื้นฐานในการฝึกเวทเทรนนิ่ง
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้ออก (bench press) |
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้อไหล่ (barbell shoulder press) |
|
ท่าฝึกแขนหลัง (skull crushers ez bar) |
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้อหลัง (barbell row) |
ข้อควรระวัง ท่าฝึกหลัง
barbell row เป็นท่าที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างมาก ควรเริ่มด้วยน้ำหนัก น้อยๆ หรือจะใช้คานเปล่าๆ ไม่ต้องใส่แผ่นน้ำหนัก ลองดูก่อนครับ
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (barbell curls) |
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้อปลายแขน (barbell reverse wrist curls) |
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้อต้นขา (squats) |
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (lying leg curl) |
|
ท่าฝึกกล้ามเนื้อน่อง (standing calf raises) |
|
ท่าฝึกกล้ามท้อง (sit up) |
เมื่อคุณ
ฝึกปั่นจักรยาน และเวทเทรนนิ่งอย่างเข้มข้นแล้ว
เรื่องอาหารการกินก็เป็นเรื่องสำคัญครับ ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
และหากคุณต้องการที่จะเพิ่มมวลกล้ามเนื้อของคุณเป็นพิเศษแล้วละก็คุณต้องกิน
โปรตีนให้เยอะกว่าปรกติด้วยครับ แบบคนปรกติทั่วไปใน 1 วันร่างกายต้องการโปรตีน 1
กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
แต่ถ้าหากคุณต้องการเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ ในช่วงที่คุณฝึกเวทเทรนนิ่ง
แล้วละก็คุณยิ่งต้องการโปรตีนมากกว่าคนปรกติ ครับ จัดไปเลยครับ 2 กรัม
ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ซึ่งรายละเอียดว่าเราต้องทานโปรตีนจากแหล่งไหนบ้าง
แล้วต้องทานจำนวนเท่าไหร่ต่อ 1 มื้อ ผมขอยกไปไว้ในบทความต่อไปนะครับ
เพราะบทความนี้รู้สึกมันจะยาวมากแล้ว เดี๋ยวเพื่อนๆ พี่ๆ
จะหลับกันเสียก่อน ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาให้กำลังใจ
และมาอ่านบล็อกของผมครับ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
วิธีเลือกซื้อจักรยานทัวร์ริ่ง
ขออนุญาติแนะนำเวปให้คำแนะนำและขายดัมเบลราคาถูกและอุปกรณ์เล่นกล้ามที่บ้านครับ มีทั้งม้านั่งดัมเบล บาร์เบลครับเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจออกกำลังแต่ไม่มีเวลาไปเล่นที่ฟิตเนสครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบขอขอบพระคุณมากครับ...ที่ช่วยแบ่งปันความรู้...
ตอบลบขอบคุณเช่นกันครับ ที่มาเยี่ยมบล็อกของผมครับ
ตอบลบThankyou.........ม๊วกๆๆๆๆๆ ครับ
ตอบลบ-ขอบคุณค๊าบ
ตอบลบขอแชร์นะครับ
ตอบลบขอแชร์นะครับ
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณมากค่ะ รู้สึกมีกำลังใจ ได้แนวทาง
ตอบลบthank you
ตอบลบบทความดีๆ แชร์ครับ
ตอบลบขอบคุณครับกำลังเล่นพอดีครับ
ตอบลบได้ความรู้ดีทีเดียวครับขอบคุณมากๆครับจากใจเลย
ตอบลบ