การแข่งขัน จักรยาน รายการต่างๆ ที่น่าสนใจ

รวบรวมการแข่งจักรยาน รายการต่างๆ ที่น่าสนใจ ในส่วนนี้ ผมจะพยายาม หามาฝาก ให้ได้มากขึ้นครับ

จักรยานเสือภูเขา

สำหรับ ท่านที่เป็นแฟน จักรยานเสือภูเขา ทางผมจะพยายาม นำเรื่องราว เกี่ยวกับจักรยานประเภทนี้มานำเสนอให้มากขึ้น ครับ ที่ผ่านมา ผมคิดว่ามันยังน้อยอยู่ โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยถนัด ทางเสือภูเขามากเท่าไหร่ครับต้องขออภัย ไว้ล่วงหน้าหากมีข้อมูลผิดพลาด ครับ

อะไหล่ จักรยาน และเทคโนโลยี ต่างๆ

ในปัจจุบัน มีการพัฒนาไปมากครับ จนเราๆ ท่านๆ แทบจะหาเงิน มาเปลี่ยน อะไหล่พวกนี้กันแทบไม่ทัน ใครที่มีทุนมากหน่อย ก็สบายหน่อยครับ ได้ใช้ของใหม่ ก่อนใครเพื่อน ส่วนใครทุนน้อย ก็คงต้องรอของมือสองกันละครับ

จักรยาน BMX

จักรยาน BMX เป็นจักรยานที่ได้รับความนิยม มาอย่างยาวนาน และการพัฒนาของจักรยานประเถทนี้ ก็ไม่ได้น้อยหน้ากว่า จักรยาน ประเภทอื่นเลยครับ

จักรยาน ไทม์ไทรอัล

จักรยาน ประเภท ไทม์ไทรอัล หรือที่ใครหลายคน เรียกว่าจรวจทางเรียบ นั่นแหละครับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

5 เทคนิคสู่การเป็นนักปั่นจักรยานมืออาชีพ

ผู้ชนะ ทัวร์ เดอ ฟรองซ์

5 เทคนิคที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในอาชีพนักปั่นจักรยาน
เทคนิคต่าง ๆ ทีผมจะนำเสนอนี้ ถึงแม้มันจะไม่ใช่เป็นวิธีการฝึกซ้อมโดยตรง แต่มันจะเป็นแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่คุณควรกระทำ ถ้าหากคุณคิดว่าคุณจะเป็นนักปั่นจักรยานที่ประสบความสำเร็จแล้วละก็ คุณควรปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้ในขั้นตอนการฝึกซ้อมของคุณ ถ้าคุณสามารถปฏิบัติตามหลักการเหล่านี้ได้แล้วนั้นแน่ใจได้เลยว่า คุณจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการปั่นจักรยานของคุณขึ้นอย่างรวดเร็วเลยละครับ

1. ทุกครั้งที่คุณออกไปฝึกซ้อมคุณควรมีเป้าหมาย
คือ ในการที่คุณจะออกไปฝึกซ้อมในแต่ละครั้งคุณควรมีเป้าหมายว่าวันนี้คุณจะออกไปฝึกซ้อมแบบไหน หรือ ปรับปรุงในส่วนใหนที่คุณ ขาดไปหรือ ข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยของคุณ เพื่อที่จะทำให้คุณมีความสามารถในการปั่นจักรยานเพิ่มขึ้น อย่างเช่น วันนี้คุณ จะออกไปปั่นเพื่อคลายกล้ามเนื้อ คุณควรจะเสริมหรือเพิ่มทักษะด้านการควบคุมรถจักรยาน เช่น การฝึกการเข้าโค้ง, ความคร่องตัวในการหลบหลีกเมื่อเจอเหตุการคับขันเป็นต้น คุณไม่ควรมุ่งเน้นการฝึกความแข็งแรงในวันดังกล่าว
โดยทั่วไปแล้วนักปั่นจักรยาน ที่ประสบความสำเร็จนั้นเขาจะสนุกกับการฝึกซ้อม และหนึ่งในทักษะที่ดีที่สุดของเขาคือ ด้านเทคนิคของการขี่จักรยานซึ่งจะทำให้การฝึกซ้อมมีรสชาติไม่น่าเบื่อ

2. กำจัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้น
ถ้าคุณทำ การฝึกซ้อมที่ไม่ทำให้คุณแข็งแกร่งขึ้นคุณควรพยายามกำจัดสิ่งนั้นออกจากการฝึกซ้อมของคุณ และทำการเพิ่มเติมของการฝึกซ้อมในสิ่งที่จะนำคุณเข้าใกล้ไปเป้าหมายของคุณมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณลดเวลาในการฝึกซ้อมลง และ คุณเพิ่มความตั้งใจ และความเข้มข้นในการฝึกซ้อมเข้าไปด้วยระยะเวลาที่สั้นลง มันจะทำให้ง่ายต่อการทำให้การฝึกซ้อมของคุณเสร็จสมบูรณ์ ตามที่คุณได้วางแผนไว้ หรืออาจจะใช้เวลาเพิ่มเติมในการฝึกซ้อมจักรยานในส่วนที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงเป้าหมายที่คุณกำหนดไว้

3. มีทัศนคติที่ดีต่อคำวิจารณ์ของคนอื่น
คำวิจารณ์หรือ การตำหนิของคนอื่นเมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามแบบที่คุณชอบ คุณกำลังมีทัศนคติที่เป็นค่าลบที่จะไม่สามารถช่วยคุณเขาใกล้กับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ ดังนั้นจงมีทัศนคติที่เป็นบวกเกี่ยวกับความรับผิดชอบและ ทำการถ่ายทอดทัศนคตินั้น เป็นความรู้แก่คนทั่วไป และมันทำให้คุณรู้สึกดีอย่างแน่นอน
เมื่อคุณมีความรับผิดชอบ คุณจะบรรลุผลสำเร็จเพิ่มเติมเป็นจำนวนมากเนื่องจากการถ่ายทอดทัศนคติด้านบวก ตัวอย่างเช่น จะดีมากถ้าคุณจะไม่พยายามอยากรู้ว่าทำไมกลุ่มคนในการปั่นจักรยานของคุณทำไมน้อยกว่ากลุ่มของคนอื่นจงคิดว่าที่กลุ่มเรามีสมาชิกน้อยนั้นจะทำให้ดูแลกันง่ายและทั่วถึง ดีกว่าไปคิดกับกลุ่มอื่นทางด้านลบ

4. จงเชื่อฟังโค้ชมืออาชีพ หรือผู้ที่ทำการฝึกสอนคุณอยู่
โค้ชมืออาชีพสามารถพัฒนาแผนการฝึกซ้อมของคุณให้ดีขึ้น และช่วยให้คุณไปถึงศักยภาพสูงสุดของคุณเท่าที่ร่างกายคุณจะรับได้โค้ชมืออาชีพทั้งหลายรู้ว่าสรีรร่างกายของแต่ละคนสามารถทำการฝึกซ้อมแบบใหนถึงจะดีที่สุด และนักกีฬาจักรยานคนใหนควรขี่จักรยานแข่งขันประเภทใหนถึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นโค้ชมืออาชีพจะมี เคล็ดลับในการฝึกซ้อม และการออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมให้มีความแตกต่างระหว่างสรีรวิทยาของนักกีฬาแต่ละคน ดังนั้นเมื่อคุณมีรถโค้ชจักรยานที่ดีแล้วคุณควรเชื่อฟังโค้ชผู้นั้น ซึ่งช่วยให้คุณฝึกซ้อมตามกำหนดเวลา และตารางการฝึกซ้อมที่ดีและเหมาะสมแก่ตัวคุณ ทั้งหมดนี้คือประโยชน์จากการมีโค้ชหรือ ผู้ให้คำปรึกษาในการฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักปั่นจักรยานที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

5. หมั่นหาความรู้จากบทความและหนังสือเกี่ยวกับจักรยาน
และนี่ก็เป็นอีกวิธีดีที่สุดต่อพัฒนาการในการปั่นจักรยานของคุณ คุณมักจะได้แรงบันดาลใจจากนักปั่นจักรยานคนอื่นๆ ที่เขามีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันมากมายในการไปถึงประสิทธิภาพสูงสุดของการขี่จักรยาน และ นักปั่นส่วนใหญ่จะใช้ประการณ์ที่สั่งสมมานานของตนเอง แล้วมาเขียนเป็นหนังสือบอกเล่าเทคนิคต่างๆ ที่เขาทำและสามารถประสบความสำเร็จจากเทคนิคนั้น ดังนั้นเราจึงสามารถ หาความรู้จากหนังสือต่างๆ เหล่านี้ เพื่อมาปรับปรุงการขี่ของเราให้ดีขึ้นได้ ยิ่งอ่านมากเท่าใหล่ตัวเราเองก็จะมีความรู้ และเทคนิคต่างๆ สะสมภายในตัวเราและจะทำให้เรามีประสบการณ์ และความรู้มากตามไปด้วยครับ

สิ่งสำคัญและโปรดจำไว้ว่า
เราไม่ได้รู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับจักรยาน และไม่มีสูตรสมบูรณ์แบบตายตัวที่เหมาะสมกับทุกคน ดังนั้นคุณสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการฝึกซ้อมที่ดีที่สุด และรวมสิ่งเหล่านั้นเข้าไปในโปรแกรมการฝึกซ้อมของคุณ ผมหวังว่า คุณจะใช้วิธีการแบบคล้ายคลึงกันนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณกำลังค้นหาและมุ่งหวัง ขอบคุณครับ

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัตินักปั่นจักรยาน ชื่อ Sean Kelly

Sean Kelly

    Sean Kelly หรือ "John James Kelly " เคลลี่เกิดวันที่ 24 พ.ค ค.ศ 1956 ปัจจุบัน อายุ 54 ปี เป็นชาว ไอริช เคลลี่เป็นหนึ่งในนักปั่นจักรยานที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของช่วงปี ค.ศ 1980 และเขารับฉายาว่า เป็น ราชาของความคลาสสิกในการปั่นจักรยานตลอดกาล เคลลี่นับได้ว่าเป็นนักปั่นจักรยานที่ สามารถสปริ้นได้ดีมากและนี่ก็เป็นสไตร์การขี่ประจำตัวของเขาเลย(คือ ถ้าหากมาเป็นกลุ่มแล้วมาสปริ้นเข้าเส้นชัยแล้วคนอื่นๆ แทบจะไม่มีทางเอาชนะเขาได้เลย) เคลลี่ เริ่มเป็นนักปั่นจักรยานอาชีพใน วันที่ 7 ก.พ ปีค.ศ 1977 และในระหว่างชีวิตการเป็นนักปั่นอาชีพเขาสามารถคว้าตำแหน่งแชมป์ มาได้ถึง 193 รายการ อาทิเช่น แชมป์ Paris - Nice เจ็ดปีซ้อน และ UCI World Cup ในปี 1989 เขาชนะรายการ Vuelta a Espana, the Giro di Lombardia , Milan – San Remo , Paris–Roubaix , Liege–Bastogne–Liege, Vuelta Espana, Giro di Lombardia , Milan San Remo , Paris - Roubaix, Liege - Bastogne - Liege, the Criterium International , Grand Prix des Nations, และ รายการแข่งขันทัวเล็กๆอย่างเช่น the Tour de Suisse , Vuelta al Pais Vasco, Volta a Catalunya,ชัยชนะอื่น ๆ อีกมามายรวมถึง Criterium International , Grand Prix des Nations แต่เขาไม่เคยได้ครองแชมป์โลกเลยแม้แต่ครั้งเดียวดีที่สุดที่เขาทำได้ในรายการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลกคือ ได้เหรียญทองแดง

    เคลลี่ได้เลิกอาชีพการเป็นนักปั่นจักรยานใน ปีค.ศ 1994 และ ผันตัวเองไปเป็น ผู้วิจารณ์การแข่งขันให้กับ Eurosport และเขายังได้ร่วมก่อตั้ง "the Sean Kelly Cycling Academy" ในปี ค.ศ 2006 และ ยังได้ปั่นจักรยานเพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้ พิการทางสายตา และช่วยเหลืองานการกุศลอื่นๆอีกมากมาย

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัตินักปั่นจักรยาน ชื่อ เอ็ดดี้ เมิร์ก

เอ็ดดี้ เมิร์ก

    เอ็ดดี้ เมิร์ก (Eddy Merckx) หรือ ชื่อเต็มของเขาคือ "Edouard Louis Joseph, Baron Merckx" เอ็ดดี้ เมิร์ก เกิดวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ 1945 ปัจุบันเขาอายุ 65 ปี, เป็นชาว เบลเยี่ยม เอ็ดดี้ เมิร์ก นั้นได้ชื่อว่าเป็นนักปั่นจักรยานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และ ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ผลงานที่ทำให้เขาได้รับการยกย่องในฐานะนี้คือ เขาสามารถชนะการแข่งขันจักรยานรายการ "Tour de France" ถึง 5 สมัย, ชนะ "Giro d' Italia" 5 สมัย, ชนะรายการ "Vuelta a Espana" 1 ครั้ง และ ชนะรายการแชมป์โลกทั้ง แบบสมัครเล่น และอาชีพแค่นั้นยังไม่พอเขายังทำลายสถิติโลกด้วย

    เอ็ดดี้ เมิร์ก เริ่มแข่งขันจักรยานครั้งแรกในรายการ "Laeken" ในวันที่ 16 ก.ค ค.ศ 1961 แต่ยังไม่ได้รับชัยชนะจนกระทั่ง ในรายการที่ 13 เขาก็ได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรก ในรายการ "Petit - Enghien" โดยตรงกับวันที่ 1 ต.ค ค.ศ 1961 ต่อมาในปี ค.ศ 1964 เขาได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนโดยเขาได้อันดับที่ 12 และ ในปีเดียวกันนี่เขาชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลกประเภทสมัครเล่น ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยขณะที่เขายังอยู่ในระดับสมัครเล่นเขาสามารถชนะรายการแบบสมัครเล่นถึง 80 รายการ
เอ็ดดี้ เมิร์กได้เริ่มชีวิตการเป็นนักปั่นจักรยานอาชีพในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ 1965 โดยสังกัดทีม "Solo-Superia" และในปีเดียวกันนี้เขาชนะรายการแรกคือรายการ Vilvoorde ต่อมาในปีค.ศ 1969 เขาก็สามารถได้รับชัยชนะรายการที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกสำเร็จรายการนั้นก็คือ Tour de France โดยเขาเป็นแชมป์รายการนี้ ถึง 5 ครั้ง ต่อมาในปี ค.ศ 1974 เขาก็สามารถชนะรายการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลกได้สำเร็จ

    เอ็ดดี้ เมิร์กได้เลิกอาชีพการเป็นนักปั่นจักรยานในวันที่ 19 มี.ค ค.ศ 1978 โดยรายการสุดท้ายที่เขาเข้าร่วมการแข่งขันคือ "Omloop van het Waasland" โดยเขาได้จบการแข่งขันในอันดับที่ 12 ในรายการดังกล่าว หลังจากที่เขาเลิกขี่จักรยานเขาได้ผันตัวเองไปเป็นโค้ชจักรยาน, เป็นผู้วิจารณ์การแข่งขันกีฬา และ เป็นที่ปรึกษาให้กับผู้จัดการแข่งขันจักรยานรายการต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา

การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา

การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา (Mountain bike racing) นั้นได้รับการรับรองจาก สมาคมจักรยานนานาชาติ (UCI) ในปีค.ศ 1990, และได้เริ่มมีการแข่งขันชิงแชมป์โลกในปีค.ศ 1991 โดยรายการแรกนั้นทำการแข่งขันใน ยุโรป และ อเมริกาเหนือ โดยทำการแยกเป็น 9 สนามด้วยกันรายการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท จากเยอรมัน คือ Grundig
การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา
การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา นั้นสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการแข่งขันดังนี้
แบบ Cross-country การแข่งขันจักรยานประเภทนี้จะใช้ระยะทางที่ทำการแข่งขันประมาน 6-8 ก.ม สำหรับนักแข่งจักรยานสมัครเล่น แต่ถ้าเป็นระดับโปรนั้นจะใช้ระยะทางในการแข่งขันประมาน 50 ก.ม โดยจะทำการปล่อยตัวนักปั่นจักรยานแบบ massed-start
แบบ Short track Cross-country การแข่งขันประเภทนี้จะใช้ระยะทางสั้นมากประมาน 800 เมตร ถึงระยะทางในการแข่งขันจะสั้นมาก และใช้เวลาในการทำการแข่งขันประมาน นาทีกว่าๆ แต่การแข่งขันจักรยานประเภทนี้นั้นเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและน่าสนใจตลอดระยะเวลาที่นักแข่งกำลังทำการแข่งขัน
แบบ Downhill การแข่งขันประเภทนี้จะทำการแข่งขันในภูมิประเทศที่มีความสูงชัน โดยปล่อยตัวนักแข่งจักรยานทีละ 1 คนโดยเว้นระยะห่างระหว่างแต่ละคนตั้งแต่ 30 วินาทีไปจนถึง 3 นาทีแล้วแต่ลักษณะของสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน และ ผู้จัดการแข่งขัน โดยนักแข่งจะเริ่มจากจุดเริ่มต้นบนเขาลงมาเข้าเส้นชัยทางด้านเชิงเขา โดยผู้ที่ทำเวลาได้น้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะการแข่งขันประเภทนี้
แบบ Super D การแข่งขันจักรยานประเภทนี้จะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง แบบ Cross-country และ Downhill ดังนั้นลักษณะของสนามที่ใช้ทำการแข่งขัน จะมีทั้ง ทางลงเขา และ ขึ้นเขา ในการปล่อยตัวนักแข่งสำหรับการแข่งขันประเภทนี้นั้น จะทำการปล่อยทีละ คน หรือ ปล่อยตัวแบบ เป็นกลุ่ม ก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้จัดการแข่งขัน
แบบ Freeride การแข่งขันประเภทนี้ลักษณะของสนามจะมีสิ่งกีดขวางเพิ่มเข้าไป คือมันจะคล้ายๆ กับสนามที่ใช้ทำการแข่งขันจักรยานBMX
แบบ Dual Slalom การแข่งขันจักรยานประเภทนี้นั้นได้รับแรงบรรดาลใจมาจากการแข่งขัน สกี แบบ Slalom โดยนักแข่ง จะถูกปล่อยตัวลงมาพร้อมกันทีละ คู่ แล้วใครเข้าเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ

การแข่งขันจักรยานเสือภูเขานั้นยังมีอีกหลายประเภทครับ ยกตัวอย่างเช่่น Four cross, Marathon, Enduro, Stage Races, Bike trials, Dirt Jumping และ Mountain bike orienteering Federation ส่วนรายละเอียดของแต่ประเภทผมจะนำมา update ให้ภายหลังนะครับ ขอบคุณครับ

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การแข่งขันจักรยานเสือหมอบ

การแข่งขันจักรยานเสือหมอบ

การแข่งขันจักรยานเสือหมอบ การแข่งขันนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ครับ การแข่งขันจักรยานประเภทถนน และ การแข่งขันจักรยานประเภทลู่

การแข่งขันจักรยานประเภทถนน
1. การแข่งขันจักรยานประเภทถนน นั้นสามารถแยกออกได้อีก 3 ประเภทย่อยๆ
1.1 การแข่งแบบวันเดียวจบ (single day race) จะเป็นการจัดการแข่งขันโดยจะจบการแข่งขันภายในวันเดียว แล้วเป็นอันจบรายการ ผู้ชนะก็รับรางวัลกลับบ้านไปเลยภายในวันเดียวกันนั้นเลยครับ การจัดการแข่งขันแบบนี้สามารถแยกออกได้อีก 4 ประเภทดังนี้ครับ
 1.1.1 ประเภท Criterium จะเป็นการแข่งขันจักรยานโดยใช้ระยะทางสั้นๆ โดยปรกติจะใช้ระยะทางไม่เกิน 5 ก.ม มักจะแข่งขันกันในเมืองโดยการขี่แขันกันไปรอบๆเมือง การแข่งประเภทนี้จะปล่อยนักแข่งจากจุดเริ่มต้นแบบเป็นกลุ่มหรือที่เราเรียกว่า "mass start"
  1.1.2 ประเภท Circuit race จะเป็นการแข่งขันจักรยานโดยใช้ระยะทางปานกลาง โดยปรกติจะใช้ระยะทางประมาน 5 - 10 ก.ม การแข่งประเภทนี้จะปล่อยนักแข่งจากจุดเริ่มต้นแบบเป็นกลุ่มหรือที่เราเรียกว่า "mass start"
 1.1.3 ประเภท Road race จะเป็นการแข่งขันโดยใช้ระยะทางค่อนข้างยาว โดยทั่วไปแล้วการแข่งขันจักรยานประเภทนี้จะมีระยะการแข่งทางการแข่งขันมากกว่า 60 ก.ม ขึ้นไป รูปแบบการแข่งขันนั้นสามารถแข่งแบบเป็นรอบๆ หรือจะจัดแบบจุดเริ่มต้นแล้วไปถึงเส้นชัยโดยใช้เส้นทางแบบทางไกลก็ได้ การแข่งจักรยานประเภทนี้จะปล่อยนักแข่งจากจุดเริ่มต้นแบบเป็นกลุ่มหรือที่เราเรียกว่า "mass start"
  1.1.4 ประเภท Time trial จะเป็นการแข่งขันโดยใช้ระยะทางปานกลาง โดยปรกติจะใช้ระยะทางประมาน 20 - 50 ก.ม การแข่งประเภทนี้จะปล่อยนักแข่งจากจุดเริ่มต้นแบบปล่อยที่ละ 1 คนหรือที่เราเรียกว่าแบบ "solo start" หลายคนคงคุ้นเคยกับการแข่งขันจักรยานแบบนี้เป็นอย่างดีครับ มันเป็นการแข่งขันเพื่อพิสูจความแข่งแกร่งของนักปั่นโดยแท้ครับ โดยส่วนตัวผมชอบมากครับ เพราะมันทดสอบความสามารถที่แท้จริงของเราจริงๆ ประเภทคอยดูด คอยจี้หมดสิทธิครับ ไม่ต้องห่วงว่าจะมีใครมากินแรง ถ้าไม่แน่ ไม่เหนียวจริง ยากที่จะคว้าชัยชนะมาครับ

1.2 การแข่งขันแบบสเตจ (Stage races) การแข่งขันจักรยานประเภทนี้หลายคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้วครับ ยกตัวอย่างเช่น Tour Of Thailand, Tour De France และ อีกหลายรายการครับ การแข่งขันแบบนี้ จะแบ่งการแข่งขันออกเป็นหลาย Stages แล้วใครทำเวลารวมแล้วน้อยที่สุดก็จะชนะไปตามระเบียบครับ

1.3 การแข่งขันแบบอัลตร้ามาราธอน (Ultra marathon) จะเป็นการแข่งขันเพียง Stage เดียวแต่ระยะทางนั้นเรียวได้ว่า "โค ตะ ละ" ยาวครับเพราะระยะทางที่ใช้แข่งขันจักรยานประเภทนี้นั้นประมาน 3,000 ไมล์ ลองเอามาคูณด้วย 1.6 ก.ม แล้วได้เป็น 4,800 ก.ม คิดแล้วเพรียแทนนักแข่งเลยครับ รายการแข่งที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างคือ "Race Across America" รายการแข่งขันนี้จัดขึ้นโดย "The Ultra Marathon Cycling Association"

การแข่งขันจักรยานประเภทลู่
2. การแข่งขันจักรยานประเภทลู่ การแข่งขันจักรยานประเภทนี้ส่วนมากจะแข่งขันกันใน เวลโลโดม (velodromes) แต่สมัยก่อนตอนที่ผมยังแข่งขันอยู่นั้น เขาจัดการแข่งขัน กันในสนามกีฬาที่ใช้ วิ่ง 100 เมตร นั่นแหละครับ พอเข้าโค้งแรงๆ ก็แหกโค้ง หรือล้มกันเป็นว่าเล่นครับ และ ยังสามารถแยก ได้ อีก สอง ประเภทหลักๆ ครับ แบบ สปริ้น (Sprint races) และ (Endurance races)

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกไซด์จักรยาน BMX

การเลือกไซด์จักรยานBMX

    การเลือกไซด์จักรยานBMX หลังจากที่เมื่อวานผมได้พูดถึง การเลือกขนาดจักรยานที่เหมาะสมสำหรับชาวเสือภูเขาไปแล้วนะครับ วันนี้ก็ขอเอาใจวัยรุ่นหน่อยนะครับ โดยวันนี้ผมจะมาพูดถึงการเลือกขนาดจักรยานที่เหมาะสมสำหรับชาวสาวก จักรยานBMX กันบ้างครับ หลายท่านคงสงสัยว่าจักรยานประเภทนี้ต้องมีการเลือกขนาดที่เหมาะสมด้วยหรือ ขอตอบว่าต้องมีครับ ถ้าหากนักปั่นผู้นั้นเป็นระดับมืออาชีพ หรือ ต้องการจะนำไปใช้ในการแข่งขัน การหาขนาดจักรยานที่เหมาะสมกับตนเองจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการขี่จักรยานนั้นเพิ่มขึ้น หรือถ้าเปรียบเทียบกับรถยนต์ก็เหมือนกับว่าสามารถรีดแรงม้าออกมาได้หมดทุกตัวโดยไม่มีตัวใหนขี้เกียจเลย

    ดังนั้นเรามาเริ่มกันเลยครับ การเลือกขนาดของเฟรมจักรยานBMX นั้นจะแตกต่างจากการเลือกขนาดเฟรมของจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขา คือ จักรยานBMX นั้นจะวัดความสูงของผู้ขี่เพียงอย่างเดียวแล้วนำไปเปรียบเทียบกับตารางที่ผมให้ไว้ด้านบนได้เลยครับ ดูตัวอย่างการวัดขนาดเลยนะครับ ผมจะยกตัวโดยใช้ข้อมูลความสูง ของตัวผมเองเลยนะครับ เริ่มกันเลยนะครับ ตัวผม สูง 179 ซ.ม. ดังนั้น ผมจึงควรขี่จักรยานBMX ขนาด 22.0 นิ้ว และ ความยาวของขาจานหน้าที่ผมควรใช้ คือ 185 mm ครับ หวังว่าคงจะไม่ยากเกินความสามารถของเพื่อนๆ พี่ๆ นะครับ ส่วนรูปภาพที่ผมนำมาลงให้นั้นสามารถกดที่รูปดูขนาดเต็มได้นะครับ จะได้มองเห็นกันชัดๆ ครับ ขอให้มีความสุขกับการขี่จักรยานกันทุกคนนะครับ และขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของผมครับ

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกไซด์จักรยานเสือภูเขา

การเลือกไซด์จักรยานเสือภูเขา
สามารถคลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้ครับ

    การเลือกไซด์จักรยานเสือภูเขา วันนี้เรามาพูดถึงการเลือกหาขนาดหรือไซด์ของจักรยานเสือภูเขากันบ้างครับหลังจากที่เมื่อวานนี้ผมได้นำเสนอการเลือกไซด์ที่เหมาะสมของชาวจักรยานเสือหมอบไปแล้ว วันนี้มาตามที่ให้สัญญาไว้ครับ เริ่มกันเลยนะครับ จักรยานเสือภูเขา หรือ ที่เราเรียกได้อีกอย่างว่าจักรยาน MTB จะกำหนดขนาดของจักรยาน เป็นหน่วย "นิ้ว" เช่น ขนาด 14 นิ้ว, 15 นิ้ว หรือ 16 นิ้ว ซึ่งต่างจากจักรยานเสือหมอบที่จะกำหนดขนาดของรถจักรยานเป็น หน่วย "ซ.ม."

    ดังนั้นเรามาเริ่ม ดูตัวอย่างการวัดขนาดเลยนะครับ ผมจะยกตัวโดยใช้ข้อมูลความสูง และ ความยาวช่วงขาของตัวผมเองเลยนะครับ เริ่มกันเลยนะครับ ตัวผม สูง 179 ซ.ม. ช่วงขาของผมยาว 81 ซ.ม. ดังนั้น ผมจึงควรขี่จักรยานเสือภูเขาที่มีขนาด 18 นิ้ว และ ขาจานหน้าต้องใช้ความยาว 175 mm. ภาพที่ผมนำมาลงให้นั้นสามารถกดดูขนาดใหญ่ได้นะครับ จะได้เห็นกันชัดๆ ครับ เอาละครับวันนี้ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วพรุ่งนี้เจอกันผมจะแนะนำ การเลือกไซด์สำหรับจักรยานBMX มาลงให้ครับเอาใจวัยรุ่นหน่อย! ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม และเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกจักรยานเล็กๆ บล็อกนี้ครับ


บทความเกี่ยวกับจักรยานอื่นๆ ที่น่าสนใจ การเลือกไซด์จักรยานเสือหมอบ

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเลือกไซด์จักรยานเสือหมอบ

การเลือกไซด์จักรยานเสือหมอบ

    การเลือกไซด์จักรยานให้เหมาะสมกับรูปร่างและส่วนสูงของผู้ขี่นั้น มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการปรับแต่งรถจักรยานหรือคุณภาพของอะไหล่จักรยานที่นำมาประกอบเป็นรถจักรยานสักคัน ดังนั้น การเลือกไซด์ของจักรยานจึงมีความจำเป็นซึ่งมันจะทำให้ประสิทธิภาพในการปั่นของผู้ที่เป็นเจ้าของรถคันนั้นได้ประสิทธิภาพสูงสุด ในการปั่นจักรยานที่มีไซด์ที่เหมาะสมกับผู้ขี่มากที่สุด ยิ่งถ้าเป็นจักรยานที่ใช้สำหรับการแข่งขันแล้วละก็ยิ่งสำคัญมากเลยครับ ดังนั้น ทีมแข่งจักรยานที่มีชื่อเสียงส่วนมากทางทีมงานจะมีการวัดตัวนักแข่ง เช่น ส่วนสูง, ช่วงความยาวของขา, ความยาวของลำตัว เป็นต้น เพื่อนำไปสร้างจักรยานและชิ้นส่วนของจักรยานคันที่นักกีฬาคนนั้นใช้ให้เหมาะสมกับสรีระของนักแข่งในทีมตนมากที่สุด

    ดังแผนภาพที่ผมนำลงให้นั้น ผมจะยกตัวอย่าง สัก 1 ตัวอย่างนะครับเผื่อผู้ที่ดูภาพแล้วไม่เข้าใจ ผมจะยกตัวอย่าง โดยใช้ข้อมูลความสูง และ ความยาวของช่วงขาของตัวผมเองเลยนะครับ ง่ายดี เริ่มกันเลยนะครับ ตัวผม สูง 179 ซ.ม. ช่วงขายาว 81 ซ.ม. (ช่วงขาวัดจากพื่นถึงเป้ากางเกงนะครับ ก่อนวัดควรถอดรองเท้าก่อนนะครับ แต่กางเกงไม่ต้องถอดครับเดี๋ยวมีคนมอง!!) ดังนั้นผลลัพธ์ของผมก็ คือ ผมควรขี่จักรยาน ไซด์ 55 และ ขาจานหน้าต้องใช้ความยาว 172.5 mm จึงจะเหมาะสม

    ภาพทีผมนำมาลงให้นั้นสามารถกดดูขนาดเต็มได้นะครับภาพก็ใหญ่พอสมควรหวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาซื้อ จักรยานเสือหมอบ ซักคันแต่ไม่รู้ว่าตนเองควรใช้จักรยานไซด์อะไรดี ส่วนทางด้าน จักรยานเสือภูเขา และ จักรยานBMX เดี๋ยวอีกประมาน 1 ถึง 2 วันผมจะเอามาลงให้นะครับ ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของผมครับ

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมแซมรถจักรยาน

อุปกรณ์ซ่อมแซมจักรยาน

    เครื่องมือและอุปกรณ์ซ่อมแซมจักรยาน (Bicycle accessories, repairs and tool) อุปกรณ์เสริมที่ติดตั้งมากับจักรยานโดยตามปกติแล้วมักจะติดตั้งมากับจักรยานทั่วไปหรือที่เรารู้จักกันว่าอุปกรณ์มาตรฐานนั่นแหละครับ ยกตัวอย่าง เช่น บังโคลนหน้า หลัง, ตะกร้า, ที่บังโซ่รถ เพื่อไม่ไห้น้ำมันหล่อลื่นโซ่มาเปอะเสื้อผ้า, ขาตั้งรถ และ อีกมากมายครับ

ส่วนอุปกรณ์ที่เจ้าของรถจักรยานควรจะมีไว้ และต้องควักตังซื้อเองก็อย่างเช่น

หมวกกันน็อคจักรยาน
หมวกกันน็อคจักรยาน เพื่อลดอาการบาดเจ็บถ้าหากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขี่จักรยาน เพราะสิ่งไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดครับเพราะฉนั้นควรปลอดภัยไว้ก่อนนะครับ อีกอย่างถ้าให้ดีควรใช้หมวกกันน็อคให้ถูกประเภทด้วยนะครับ ผมเคยเห็นบางคนเอาหมวกกันน็อคจักรยานมาใส่ขี่มอเตอร์ไซค์ อันนี้ไม่ควรครับเพราะใช้ผิดประเภท และมันดูตลกๆนะครับ



อุปกรณ์ปะยางจักรยาน
อุปกรณ์ในการปะยางจักรยาน, ที่สูบลมแบบพกพา อันนี้พวกนักปั่นจักรยานทางไกลหรือผู้ที่ต้องการออกทริป ต่างๆ ควรมีติดรถจักรยานไว้นะครับเพราะมีความจำเป็นมาก ผมเคยโดนวันเดียว 3 รูเลยครับถ้าไม่มีที่ปะยางจักรยานไปด้วยคงแย่ เพราะผมพกยางอะไหล่ไปแค่ 2 เส้นเอง ที่สำคัญมีแล้วต้องปะยางเป็นด้วยนะครับ ใว้วันหลังผมจะเอารูป และวิธีในการปะยางมาลงให้ครับ เผื่อผู้ที่ยังปะยางจักรยานไม่เป็นครับ


อุปกรณ์ซ่อมบำรุงรถจักรยาน
อุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงรถจักรยาน ยกตัวอย่างเช่น ไขควง, ประแจเบอร์ต่าง, ชุดหกเหลี่ยม พวกนี้จะเป็นอุปกรณ์สำหรับ ช่างซ่อมรถจักรยาน หรือผู้ที่มีความชำนาญ ในการปรับแต่ง หรือซ่อมแซม ยกตัวอย่างเช่นการขึ้นซี่ลวดล้อรถจักรยาน อันนี้ควรให้ช่างเป็นคนทำให้นะครับ ผมคิดว่าคนทั่วไปหรือคนส่วนใหญ่จะทำไม่เป็นกันเหลืองานไว้ให้ช่างซ่อมรถจักรยานบ้างก็ได้ครับ เขาจะได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ถ้าเราทำทุกอย่างเป็นหมดเขาคงแย่แน่ครับ

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ยางและล้อรถจักรยาน

Bicycle wheels and tires

    ยางและล้อรถจักรยาน (Bicycle wheels and tires) ล้อรถจักรยานสามารถแบ่งได้ตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้ครับ
road bike wheels
ล้อสำหรับรถจักรยานประเภทถนน ขนาดของล้อจักรยานประเภทมักจะมีขนาด 700C / ISO 622 (ISO 622 อันนี้หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง 622 มิลลิเมตร ครับ) ลักษณะเด่นของล้อประเภทนี้คือ
น้ำหนักจะต้องเบา เรื่องน้ำหนักของล้อนั้นเรียกได้ว่ามีความสำคัญมากสำหรับจักรยานประเภทนี้เพราะถ้าล้อยิ่งมีน้ำหนักเบาแล้วจะทำให้ผู้ปั่นนั้นใช้แรงในการปั่นน้อยลงไปด้วยครับ
ความลู่ลม อันนี้ก็สำคัญครับคือมันจะช่วยลดแรงเสียดทานกับอากาศเวลาใช้ความเร็วสูงๆ สังเกตุได้จากรถจักรยานประเภทนี้ส่วนมากซี่ล้อ จะมีลักษณะแบนๆ บ้างก็จะใช้ล้อแบบดิสไปเลย (แบบล้อทึบๆครับ คงเคยผ่านสายตากันมาบ้างนะครับ)
ความลื่นของดุมล้อ อันนี้ยิ่งลื่นยิ่งดีครับเหตุผลก็เหมือนกับข้อแรกละครับมันทำให้เราใช้แรงในการปั่นน้อยลง
ทางด้านยางของล้อจักรยานถนนนั้นลักษณะจะมีน้ำหนักเบา จะเป็นยางแบบ ฮาฟ หรือ แบบ ล้องัด นั้นก็แล้วแต่ประเภทของการใช้งานครับ ถ้าสำหรับแข่งขันส่วนมากจะใช้ยาง ฮาฟ ครับ เพราะน้ำหนักจะเบากว่า แบบล้องัดครับ

mtb bike wheels
ล้อสำหรับจักรยานเสือภูเขา ขนาดของล้อจักรยานประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีขนาด 26 นิ้ว/ISO 559 (ISO 559 อันนี้หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง 559 มิลลิเมตร ครับ) ลักษณะเด่นของล้อประเภทนี้ จะคล้ายกับล้อจักรยานประเภทถนนครับ แต่ที่เพิ่มเข้ามาคือความแข็งแรงของล้อครับเพราะใช้กับสภาพถนนที่แตกต่างกัน ส่วนยางของล้อจักรยานเสือภูเขานั้น จะมีหน้ายางที่กว้างและใหญ่กว่าประเภทถนนครับ บางที่ยางประเภทนี้เขาจะฉีดน้ำยากันรั่วเข้าไปด้วยครับเพื่อป้องกัน ยางรั่วเวลาโดนหนาม หรือ เศษแก้ว จะทำไห้เราสามารถเดินทางต่อไปได้โดยไม่ต้องว่าจะต้อง จูงจักรยานกลับบ้านครับ

bmx bike wheels
ล้อจักรยาน BMX ขนาดของล้อจักรยาน BMX คือ ขนาด 20 นิ้ว/ISO 406 (ISO 406 อันนี้หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง 406 มิลลิเมตร ครับ) ลักษณะเด่นของล้อจักรยานประเภทนี้ คือ จะต้องแข็งแรงมากเพื่อจะได้ทนต่อการกระโดดเนิน และ การเล่นท่า ของนักปั่นจักรยาน ส่วนความคล่องตัวนั้นก็สำครับมากครับสำหรับจักรยานประเภทนี้ สังเกตุได้จากล้อที่มีขนาดเล็ก ทำให้มีผลดีต่อการเร่งความเร็วในการออกตัวเพราะส่วนใหญ่สนามแข่งขันจักรยาน BMX นั้นจะ ระยะทางสั้นๆ ไม่ยาวเหมือนประเภทอื่น

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระบบกันสะเทือนและโช๊คอัพจักรยาน

Bicycle Suspension

    ระบบกันสะเทือนและโช๊คอัพจักรยาน (Bicycle suspension) โช๊คอัพหรือระบบกันสะเทือนของจักรยานนั้นโดยทั่วไปแล้วจะพบเห็นได้มากในจักรยานเสือภูเขาเป็นส่วนใหญ่ แต่จักรยานประเภทอื่นๆที่ใช้โช๊คอัพก็มีบ้างแต่จะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหล่ ส่วนประเภทของระบบกันสะเทือนของจักรยานยังสามารถแยกได้หลายประเภทดังนี้ครับ

Bicycle suspension
ระบบกันสะเทือนด้านหน้าหรือที่เราเรียกกันว่า "โช๊คอัพหน้า" ส่วนนี้จะได้รับความนิยมมากเพราะจักรยานเสือภูเขาแทบทุกคันจะต้องมีโช๊คอัพหน้าติดมาด้วย
Bicycle suspension
ระบบกันสะเทือนด้านหลังหรือที่เราเรียกกันว่า "โช๊คอัพหลัง" ส่วนนี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่ากับโช๊คอัพหน้าเพราะจะเห็นได้จากจักรยานส่วนใหญ่จะไม่มีโช๊คอัพหลังติดตั้งมาด้วย อาจจะเนื่องมาจากต้นทุนการผลิต หรือ มันจะให้น้ำหนักของรถจักรยานเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นเท่าที่ควร สำหรับผู้ขี่จักรยานที่รักความนุ่มนวลเวลาขี่ก็สามารถเลือกซื้อจักรยานที่มีโช๊คอัพหลังติดตั้งมาด้วยก็ไม่ว่ากันครับอันนี้แล้วแต่ความต้องการส่วนตัวครับ
Bicycle suspension
ระบบกันสะเทือนของเบาะจักรยาน ระบบนี้จะพบเห็นได้จากรถจักรยานรุ่นเก่าๆ หรือจักรยานคลาสสิค ลักษณะของระบบกันสะเทือนแบบนี้คือ จะมีสปริงอยู่บริเวณใต้เบาะนั่งครับเพื่อดูดซับแรงกระแทกจากพื้นถนน

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เบรคจักรยาน

Bicycle bracke systems
ระบบเบรคจักรยาน
    เบรคจักรยาน (Bicycle bracke systems) ระบบเบรคนั้นไม่ว่าจะเป็นของรถอะไรก็ตามหน้าที่หลักๆ ของมันก็ คือทำให้รถ หรือ อะไรก็ตามที่กำลังเคลื่อนที่อยู่นั้น หยุด หรือ ชะลอความเร็วลง ดังนั้นระบบเบรคจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ยานพาหนะจำเป็นต้องมีไว้เพื๋อความปลอดภัยของผู้ที่ใช้หรือโดยสารยานพาหนะนั้นๆครับ ย้อนเข้าไปเรื่องระบบเบรคของจักรยานกันครับ ระบบเบรคของจักรยานนั้นสามารถแยกได้เป็น 3ประเภทหลักๆ ด้วยกันครับ

Bicycle rim bracke
แบบริมเบรค (Rim brakes) จักรยานที่ใช้ระบบเบรคแบบนี้ส่วนมากจะเป็นจักรยานธรรมดาทั่วไปที่ใช้ตามบ้านนั่นแหละครับเพราะระบบนี้จะมีการทำงานที่ไม่ซับซ้อนบำรุงรักษาง่าย และ ที่สำคัญราคาไม่แพงครับ ส่วนจักรยานประเภทอื่นๆ ที่ใช้ระบบเบรคแบบนี้ก็มีนะครับ เช่นจักรยานเสือหมอบ และ จักรยานเสือภูเขา แต่ราคาของมันก็จะแพงกว่าที่ติดตั้งกับจักรยานแบบธรรมดาครับบางยี่ห้อชุดละเป็นหมื่นก็มีครับ ส่วนมากเขาจะเอาไว้สำหรับการแข่งขันซะเป็นส่วนใหญ่


Bicycle disc bracke
แบบดิสเบรค (Disc brakes) จักรยานที่ใช้ระบบเบรคแบบนี้ส่วนมากจะเป็นจักรยานเสือภูเขา หรือ จักรยานประเภทลงเขา หรือ(Down hill) เพราะจักรยานประเภทนี้จะต้องเจอกับสภาพสนามที่เต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น โคลน และ ฝุ่นระบบเบรคแบบนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะให้การหยุดที่มั่นคงและแน่นอนแม้จะมีโคลน หรือ น้ำมาเกาะบริเวณรอบๆ เบรคก็ตาม


Bicycle drum bracke
แบบดรัมเบรค (Drum brakes) จักรยานที่ใช้ระบบเบรคแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นจักรยานโบราณ ลักษณะของระบบเบรคแบบนี้คือ ผ้าใบเบรคจะอยู่ภายในดุมล้อเลยครับ จะเห็นได้ว่าดุมล้อจะใหญ่กว่าจักรยานทั่วไปในปัจจุบันจักรยานที่ใช้ระบบเบรคแบบนี้จะไม่มีให้เห็นกันมากเท่า 2 แบบแรกครับ เพราะการผลิตและความนิยมลดลงครับรวมถึงการบำรุงรักษาก็ทำได้ยากครับ ดังนั้นในปัจจุบัน 2 ระบบแรกจะได้รับความนิยมที่สุดครับ

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เบาะ และ แฮนด์จักรยาน

เบาะ และ แฮนด์จักรยาน
เบาะ และ แฮนด์จักรยาน
    เบาะ และ แฮนด์จักรยาน (Bicycle handlebars and Saddles) จักรยานแต่ละประเภทนั้นจะใช้แฮนด์จักรยานที่แตกต่างกัน อย่างเช่น จักรยานเสือหมอบนั้นแฮนด์ก็จะมีลักษณะโค้งๆ เหมือนอะไรก็จินตนาการกันเองนะครับ ส่วนจักรยานเสือภูเขาแฮนด์ก็จะมีลักษณะค้อนข้างตรง เพื่อจะได้มีความคล่องตัวในการบังคับ และ ควบคุมจักรยาน คงตลกดีนะครับถ้าเอาแฮนด์จักรยานเสือหมอบมาใส่จักรยานแม่บ้าน แล้วปั่นไปซื้อของตามตลาด คงมีคนมองกันมากพอสมควร เอ่ รถอะไรหว่า! แฮนด์จักรยานนั้นจะเป็นส่วนที่เอาไว้ติดตั้ง พวกเบรค และ อุปกรณ์ตัวสับเกียร์ หรือ ชิพเตอร์ รวมถึงพวกไฟส่องสว่าง

    ทางด้านเบาะจักรยาน ก็เป็นที่รู้กันครับเอาไว้นั่งปั่นจักรยานครับ บ้างก็ใหญ่ บ้างก็เล็ก บางทีก็เพรียว หรืออาจจะอ้วน นั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของจักรยานอีกเช่นกันครับ ยกตัวอย่างเช่น จักรยานที่ใช้แข่งขันประเภทลู่ จะมีลักษณะ เล็กและเพรียวเปรียบเสมือนนางแบบที่ผอมเพรียว (เห็นภาพเลยครับ!) จะได้ลู่ลมและมีน้ำหนักเบา ยิ่งในปัจจุบันคนส่วนมากให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำหนักของอะไหล่จักรยานมาก เห็นได้จากเวลาไปซื้ออะไหล่ตามร้านจักรยาน อันนี้เล่าจากประสบการณ์ของตัวเองเลยครับ ไปมาหลายร้านเลยครับ เขาจะมีตาชั่งเอาไว้ชั่งน้ำหนักอะไหล่จักรยานเลยครับ (ตอนแรกนึกว่าขายเป็นกีโล นึกเองครับ แบบตลกๆ) วันนั้นผมไปซื้อเบาะจักรยานใหม่ครับ กะจะเอามาใส่จักรยานเสือหมอบคันเก่ง เดินดูหลายยี่ห้อครับโดยส่วนตัวผมจะไม่เลือกที่ยี่ห้อครับ จะดูที่คุณภาพเป็นหลัก"ของดีไม่จำเป็นต้องแพงครับ" ผมเลยขอเขาดูอยู่ 2 ยี่ห้อ ยี่ห้อแรก หกพันกว่าบาทครับ ส่วนยี่ห้อที่สอง ราคาพันนิดๆครับเลยลองชั่งน้ำหนักดูเล่นๆ ตามแฟชั่นครับผลปรากฎว่า อันที่ราคาหกพันกว่าเบากว่าอันที่ราคาพันนิดๆ อยู่ 100 กรัม ตกลงวันนั้นผมเลยคว้า อันที่หนักกว่าเพียง 100 กรัมมาครับและมันก็อยู่กับผมมาจะถึงทุกวันนี้ครับนับเวลาแล้วก็ผ่านมาเกือบสองปีแล้วยังใช้ได้ดีไม่งอแงไดๆทั้งสิ้นครับ คุ้มจริงๆครับ ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคของผมครับ ขาดตกบกพร่องตรงส่วนใหนขออภัยมาในโอกาสนี้ด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เกียร์จักรยาน และ ระบบขับเคลื่อน

เกียร์จักรยาน
เกียร์จักรยาน และ ระบบขับเคลื่อน
     เกียร์จักรยาน และ ระบบขับเคลื่อน (Bicycle drivetrain and gearing) ระบบขับเคลื่อนของจักรยานนั้นโดยทั่วไปแล้วจะไมค่อยมีอะไรซับซ้อน โดยพื้นฐานแล้วก็จะเริ่มจาก บรรไดจักรยาน (Pedals) ส่งผ่านกำลังไปยัง จานหน้า (Crank)โดยใช้โซ่จักรยาน (Chain) เป็นตัวถ่ายทอดกำลังไปยัง ระบบขับเคลื่อนทางด้านหลัง ที่เราเรียกเฟืองหลังนั่นแหละครับ อาจจะเป็น แบบเฟือง เดียว หรือ หลายๆ เฟืองนั้นก็แล้วแต่วัตถุประสงค์ในการใช้งาน หรือ ภูมิประเทศ ถ้าเป็นจักรยานทั่วไป เช่นใช้ในหมู่บ้าน หรือไปซื้อของปากซอย ก็จะเป็นจักรยาน เฟืองเดียว ส่วนถ้าเป็นจักรยานสำหรับแข่งขันทางไกล หรือ จักรยานท่องเที่ยวนั้นจำเป็นต้องมีระบบเกียร์เพิ่มเข้าไปเพราะเส้นทางในการแข่งขัน หรือ ท่องเที่ยวบางทีต้องขึ้นเขาสูงชัน ระบบเกียร์จึงเป็นสิ่งจำมาก

     ส่วนจักรยานที่ไม่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบโซ่ ก็มีนะครับ อย่างเช่่น ใช้เพลาขับ, ใช้สายพาน เป็นตัวขับเคลื่อน จักรยานที่ใช้ระบบขับเคลื่อนแบบนี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหล่เพราะมีความยุ่งยากในการบำรุงรักษา และ ราคาสูงครับ ที่เป็นทีนิยมมากที่สุดก็แบบใช้โซ่นี่แหละครับ สำหรับชิ้นส่วนและอุปกรณ์เกียร์จักรยาน และ ระบบขับเคลื่อนนั้นผมได้แสดงไว้บนภาพข้างบนแล้วนะครับ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคของผมครับ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เฟรมจักรยาน

จักรยาน
เฟรมจักรยาน
    เฟรมจักรยาน (Bicycle Frame) เฟรมจักรยานนั้นเป็นชิ้นส่วนหลักของจักรยานทุกคัน ไม่ว่าจักรยานนั้น จะราคาถูก หรือ แพง จะหนัก หรือจะเบา จักรยานทุกคันจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ชิ้นนี้ครับ (นึกภาพไม่ออกถ้าจักรยานไม่มีเฟรมแล้วหน้าตาจะเป็นยังไง!) เฟรมจักรยานนั้นมีหลายแบบครับ ยิ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตจักรยานนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จึงทำให้เทคนิคการผลิต เฟรมจักรยานนั้นมีการพัฒนาทั้่ง รูปแบบ และ วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเฟรมจักรยาน แต่ในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึงแค่ รูปแบบหลักๆ ของเฟรมที่ได้รับความนิยม และ มีให้เห็นกันทั่วไปก่อนนะครับ ส่วนเฟรมจักรยานแบบอื่นๆ ผมจะเอามาอัปเดทให้ภายหลังแล้วกันนะครับ

จักรยาน
จักรยานเสือหมอบ
    เฟรมจักรยานแบบรูปทรงเพชร (Diamond Frame) เฟรมจักรยานแบบนี้เรามักจะรู้จักกันเป็นอย่างดีแล้วนะครับ ก็เฟรมของ จักรยานเสือหมอบ, จักรยานเสือภูเขา และ จักรยาน BMX ไงครับหลายคนคงร้อง อ๋อนึกออกแล้ว ทำไมเขาถึงเรียก เฟรมจักรยานแบบนี้ว่า แบบรูปทรงเพชร นั้นหรือครับ ก็เพราะรูปทรงของเฟรมจักรยานแบบนี้นั้น มีรูปทรงคล้ายกับรูปทรงของเพชรที่เจียรนัยแล้วไงครับ (ฟรั่งเขาเรียกกันอย่างนี้ ผมไม่รู้จะแปลให้สวยกว่านี้ได้แล้วครับ ถ้าผู้อ่านท่านใดมีคำแปล สวยๆ ช่วยบอกผ่าน Comment ของบล็อกได้เลยนะครับจะเป็นพระคุณยิ่ง)

จักรยาน
จักรยานแม่บ้าน
    เฟรมจักรยานแม่บ้าน (Step through Frame) เฟรมจักรยานแบบนี้ถูกออกแบบมาสำหรับคุณ สุภาพสตรีโดยเฉพาะ เพื่อให้ง่ายสำหรับเวลาขึ้น หรือ ลงจากจักรยานเพราะผู้หญิงในสมัยก่อนส่วนมากจะนิยมใส่กระโปรงกันครับ เขาจึงผลิตเฟรมจักรยานแบบนี้มาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่คุณสุภาพสตรีโดยเฉพาะครับ เพราะ ท่อบน (Top tube) ของเฟรมจักรยานประเภทจะมีลักษณะเฉียงลง มาเชื่อมกับท่อนั่ง (Seat tube) ไกล้ๆ กับกระโหลก ของจักรยานจึงทำให้การ ขึ้น และ ลง จักรยานทำได้ง่ายกว่าเฟรมจักรยานแบบเพชรครับ

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จักรยานครุยเซอร์ (Cruiser Bike)

จักรยาน
จักรยานครุยเซอร์
    จักรยานครุยเซอร์ (Cruiser Bike) จักรยานประเภทนี้ส่วนใหญ่จะใช้ขี่เทื่ยวตามชายหาด หรือ ชายทะเล ลักษณะจะเป็นจักรยาน เฟืองเดี่ยว (single-speed) หรือ บางตัวแทนจำหน่ายจะนำมาใส่ระบบเกียร์เพิ่มเข้าไปเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้า ส่วนทางด้านตัวถัง หรือ เฟลมส่วนใหญ่จะผลิตมาจากเหล็ก จึงทำให้จักรยานครุยเซอร์นั้นมีน้ำหนักเยอะพอสมควร จักรยานครุยเซอร์นั้นได้รับความนิยมมาก ในประเทศสหรัฐ ช่วง ปี 1930 ถึง 1950 และ ได้รับความนิยมมาเลื่อยๆ จนถึง ปี 1990

    จักรยานครุยเซอร์ นั้นในบ้านเราไม่ค่อยมีให้พบเห็นกันมากเท่าไหล่ แต่ก็มีกลุ่มที่ขี่จักรยานประเภทนี้อยู่เหมือนกัน แต่ก็ไม่มากเท่ากับจักรยานเสือหมอบ และ จักรยานเสือภูเขา ส่วนสถานที่จำหน่ายจักรยานครุยเซอร์ก็มีไม่มากครับ เคยเห็นประกาศขายตามเว็ปเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นจักรยานมือสองจาก ประเทศญี่ปุ่น ส่วนจักรยานครุยเซอร์แบบใหม่ๆนั้นบ้านเราก็มีตัวแทนจำหน่ายเหมือนกันครับ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จักรยาน BMX

จักรยาน
จักรยาน BMX
    จักรยาน BMX หรือ "Bicycle motocross" เป็นจักรยานที่เราๆ ท่านๆส่วนมากจะรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเด็กๆ ไปจนถึงวัยรุ่น จักรยาน BMX นั้นชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นจักรยาน วิบากใช้ได้ทุกสภาพถนนอยู่แล้วครับ ตั้งแต่ทางเรียบๆ ไปจนถึงทางวิบากมากๆ เรื่องความแข็งแรงไม่ต้องบรรยายให้มากครับ แข็งแกร่งสุดๆ ในปัจจุบันจักรยาน BMX มีการพัฒนาไปมาก ต่างจากสมัยตอน ผมยังเด็กก็เคยขี่ จักรยาน BMX เหมือนกัน จำความได้ตอนนั้นผมอายุประมาน 13 ปี กำลังเรียนอยู่ ม. 1 พอดี ผมต้องอ้อนพ่ออยู่หลายอาทิตย์ครับกว่าที่ท่านจะยอมซื้อให้ ในสมัยนั้น จักรยาน BMX ยังไม่ค่อยมีใครได้ขี่มากเพราะราคาค้อนข้างจะแพง คือถ้าใครได้ขี่ในตอนนั้น คือเท่สุดๆ ครับนึกแล้วก็ตลก นะครับ โดยอะไหล่ ส่วนมากจะ ทำมากจากเหล็กคุณภาพดี หรือ ที่เราเรียกว่า โคโมลี่ นั่นแหละครับจะแข็งแรงมากครับ กระโดดเนินแล้วล้ม รถไปทาง คนไปทาง แต่ก็ยังลุกขึ้นมาคว้าจักรยานขี่ต่อได้สบายครับ จักรยานไม่เป็นไรเลยสภาพยังดีอยู่ แต่คนซิครับ หมูแดงทั้งตัว ล้มกี่ครั้งก็ไม่เข็ด พอหายก็จับ เจ้าจักรยานคันเก่ง แล้วพามันออกไปขี่ได้ทุกวันไม่รู้จักเบื่อซักที

การได้ขี่จักรยาน BMX ในสมัยนั้น ทำให้ผมได้รู้จักเพื่อน ต่างโรงเรียนหลายคนครับ ตอนนั้นตัวผมเองเรียนอยู่ โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย มีโอกาสได้รู้จักรเพื่อนต่างโรงเรียน เช่น โรงเรียนมงฟอร์ต, โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย และเพื่อน ต่างวัยที่มีอายุเยอะกว่าผมหลายปี ซึ่งผมคิดว่า การขี่จักรยาน สามารถหาเพื่อน ดีๆ ได้ไม่ยากครับ พวกเพื่อนที่ผมได้มีโอกาสได้รู้จักรส่วนมาก จะขี่จักรยานเก่งกันทุกคน ผมว่าในกลุ่ม ผมอ่อนที่สุดแล้วครับ ผมยังจำได้มีเพื่อนคนหนึ่ง ชื่อเล่นว่า "เดช" คนนี้ขอบอกครับ ผมว่าเขาเก่งที่สุดครับในตอนนั้น อายุเท่าผมเลย อยู่โรงเรียนเดียวกัน เพื่อนคนนี้เก่งตรงที่ว่า สามารถเล่นท่าได้หมดครับ ซื้อ วีดีโอ จักรยาน BMX มานั่งดูกันในกลุ่มเพื่อน เพื่อนคนนี้ฝึกไม่เกิน 1 เดือนครับ ทำได้หมด ผมยังไม่อยากจะเชื่อเลย ถ้าไม่เห็นด้วยตาตัวเอง ยกตัวอย่าง ท่ากระโดดหมุน 360 (คือ ขี่ๆ ไปบนถนน แล้วกระโดดหมุน 360 องศา แล้วขี่ต่อไปเลยหนะครับ) ท่านี้ผมฝึกเกือบๆ 3 เดือน แต่เพื่อนคนนี้ ฝึกแค่ ประมาณ 3 อาทิตย์

    จักรยาน BMX นั้น ปัจจุบันมีการบรรจุ เข้าไปในการแข่งกีฬาโอลิมปิกด้วยครับ หลายท่านคงได้ผ่านสายตามาบ้างนะครับ วันหลังผมจะหา VDO การแข่งขันจักรยาน BMX มาลงให้ชมกันนะครับ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคของผมครับ!

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จักรยานเอกเขนก (Recumbent Bike)

จักรยาน
จักรยาน"Recumbent Bike"
    จักรยานเอกเขนก (Recumbent Bike) จักรยานประเภทนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ขี่มีความสะดวกสบายมากที่สุด คือ ผู้ขี่นั้นแทบจะนอนขี่เลยละครับ ภาษาชาวบ้านพูดกันเล่นๆ ก็ทำนองว่า "นอนมา" ละครับ จักรยานประเภทนี้ จะได้เปรียบกว่าจักรยานประเภทอื่นๆ ทางด้าน ความลู่ลม เพราะผู้ขี่นั้นแทบจะนอนอยู่แล้วจึงทำให้มีส่วนที่ประทะกับลมน้อยกว่าจักรยานประเภทอื่นครับ ทางด้านอุปกรณ์นั้นจักรยานประเภทนี้ จะมีจุดติดตั้งอะไหล่ต่างๆ แตกต่างจากจักรยานประเภทอื่นมากครับ ยกตัวอย่าง เช่น จานหน้า ก็จะอยู่หน้าจริง"อย่างนี้ซิถึงเรียกว่าจานหน้าของจริง"
    ส่วนทางด้านอุปกรณ์อื่นๆนั้นก็แล้วแต่เจ้าของรถเลยครับ ว่าต้องการความสบายมากน้อยแค่ไหน มันไม่มีอะไรตายตัวสำหรับจักรยานประเภทนี้ครับขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เป็นเจ้าของจักรยาน "ตรงกับชื่อของจักรยานประเภทนี้จริงๆเลย" ผู้ที่ใช้จักรยานประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ที่ชอบอะไรแปลกๆไม่เหมือนใคร และ ผู้มีอาการปวดหลังเวลาขี่จักรยานแบบธรรมดาทั่วไป จึงหันมาขี่จักรยานประเภทนี้

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จักรยาน Cyclo cross bike

จักรยาน
จักรยาน Cyclo cross bike

จักรยาน
การแข่งจักรยาน Cyclo cross
    จักรยาน Cyclo Cross (Cyclo cross bike) จักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการแข่ง "Cyclo Cross" โดยเฉพาะ ลักษณะของจักรยานประเภทนี้จะคล้ายๆ กับจักรยานเสือหมอบ แต่จะต่างกัน ตรงที่ ยาง และ เฟลมของรถ ยางจะมีลักษณะ กว้าง และ ใหญ่กว่าจักรยานเสือหมอบ เฟลมก็จะยาวกว่าจักรยานเสือหมอบเล็กน้อย ส่วนทางด้านเกียร์นั้นจะมีหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของสนามแข่งขัน จักรยานประเภทนี้จะมีน้ำหนักเบา ส่วนมากจะทำมาจากอลูมิเนียม หรือ คาร์บอนไฟเบอร์ เพราะเวลาแข่งขันบางช่วงผู้ ที่เข้าแข่งขันต้องลงจากจักรยานและแบก รถจักรยานของตนวิ่ง เพราะการแข่งขันประเภทนี้ จะมีสิ่งกีดขวางด้วย เช่น เนินดิน หรือ ท่อนไม้ ซึ่งการแข่งขันประเภทนี้ เส้นทางจะเป็นทางวิบาก บางทีก็มีโคลน ดังนั้น จักรยานบางคันจะมีที่สำหรับดักโคลน เพื่อไม่ให้โคลน ติดล้อมากเกินไป จนไม่สามารถปั่นได้

   ในบ้านเราการแข่งขันประเภทนี้จะไม่มีแข่งนะครับ หรือถ้ามีส่วนมากจะเป็นการแข่งขันจักรยานเสือภูเขา ซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ในต่างประเทศการแข่งขันประเภทนี้ได้รับความนิยม ไม่แพ้ พวกจักรยานเสือหมอบ และ เสือภูเขาเลยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จักรยานท่องเที่ยว (Touring Bike)

จักรยาน
Touring Bike "จักรยานท่องเที่ยว"
    จักรยานท่องเที่ยว (Touring Bike) จักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการขี่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะลักษณะจะคล้ายกับจักรยานเสือหมอบ โดยผู้ผลิต จักรยานท่องเที่ยวจะเน้นให้ผู้ขี่นั้นได้รับความสะดวกสบายมากกว่าจักรยานเสือหมอบ และ จักรยานประเภทอื่นๆ จักรยานท่องเที่ยวนั้นจะมีจุดยึด อุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อที่จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเดินทางเข้าไป เช่น กระเป๋าสัมภาระ และ อุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ ในการเดินทางไกล เรียกว่าแบกสัมภาระ เลยก็ได้ครับ ดังนั้น จักรยานประเภทนี้จึงต้องมีความแข็งแรงพอสมควร จึงส่งผลทำไห้จักรยานประเภทนี้มีน้ำหนักค่อนข้างเยอะกว่าจักรยานประเภทอื่นๆ หลายคนคงเคยเห็นชาวต่างชาติปั่นจักรยานประเภทนี้ไปท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในบ้านเรา หรือ บางกลุ่มก็จะใช้จักรยานประเภทนี้ ปั่นท่องเที่ยวไกลๆ ข้ามจังหวัด หรือ ข้ามประเทศ หลายคนคงเคยเห็นตามข่าวทาง ทีวี หรือ สื่ออื่นๆ มาบ้างนะครับ

จักรยานส่งเอกสาร (Messenger Bike)

จักรยาน
Messenger Bike
    จักรยานส่งเอกสาร (Messenger bike) จักรยานประเภทนี้ส่วนมากจะพบเห็นได้มากในเมืองที่มีการจราจรคับคั่ง จุดประสงค์ คือใช้ส่งเอกสารที่มีความเร่งด่วนระหว่างบริษัท โดยทางด้านรูปทรงแล้วจักรยานประเภทนี้จะเน้นความคล่องตัวเป็นหลัก ลักษณะก็จะคล้ายๆกับพวก จักรยานเสือหมอบ และ จักรยาน (Fixed bike) ส่วนระบบเกียร์นั้นจะมีหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ ผู้ที่ใช้ แต่ที่ต้องมีเลยคือ เบรค เพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าใครมั่นใจว่าระดับเทพก็ไม่ต้องมีเบรคก็ได้ไม่ว่ากัน

    ส่วนในเมืองไทย ไม่ค่อยมีใครใช้จักรยานในการส่งเอกสารมากเท่าใหล่ แต่ถ้ามีก็จะน้อยมาก ส่วนมากจะพบเห็นได้ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ บ้านเราส่วนมากจะใช้มอเตอร์ไซค์ในการส่งเอกสาร