การแข่งขัน จักรยาน รายการต่างๆ ที่น่าสนใจ

รวบรวมการแข่งจักรยาน รายการต่างๆ ที่น่าสนใจ ในส่วนนี้ ผมจะพยายาม หามาฝาก ให้ได้มากขึ้นครับ

จักรยานเสือภูเขา

สำหรับ ท่านที่เป็นแฟน จักรยานเสือภูเขา ทางผมจะพยายาม นำเรื่องราว เกี่ยวกับจักรยานประเภทนี้มานำเสนอให้มากขึ้น ครับ ที่ผ่านมา ผมคิดว่ามันยังน้อยอยู่ โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยถนัด ทางเสือภูเขามากเท่าไหร่ครับต้องขออภัย ไว้ล่วงหน้าหากมีข้อมูลผิดพลาด ครับ

อะไหล่ จักรยาน และเทคโนโลยี ต่างๆ

ในปัจจุบัน มีการพัฒนาไปมากครับ จนเราๆ ท่านๆ แทบจะหาเงิน มาเปลี่ยน อะไหล่พวกนี้กันแทบไม่ทัน ใครที่มีทุนมากหน่อย ก็สบายหน่อยครับ ได้ใช้ของใหม่ ก่อนใครเพื่อน ส่วนใครทุนน้อย ก็คงต้องรอของมือสองกันละครับ

จักรยาน BMX

จักรยาน BMX เป็นจักรยานที่ได้รับความนิยม มาอย่างยาวนาน และการพัฒนาของจักรยานประเถทนี้ ก็ไม่ได้น้อยหน้ากว่า จักรยาน ประเภทอื่นเลยครับ

จักรยาน ไทม์ไทรอัล

จักรยาน ประเภท ไทม์ไทรอัล หรือที่ใครหลายคน เรียกว่าจรวจทางเรียบ นั่นแหละครับ

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จักรยานสำหรับแข่งขัน

จักรยาน
Road Bike (จักรยานประเภทถนน)
    จักรยานประเภทถนน (Road bike) จักรยาน ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อขี่บนถนน ทั่วไปที่เป็นทางค่อนข้างเรียบ เช่น ถนนลาดยางมะตอย หรือ ถนนคอนกรีต จักรยานประเภทนี้ โดยทั่วไปเรามักเรียกกันว่า "จักรยานเสือหมอบ" นั่นแหละครับ จักรยาน ประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถ ใช้ความเร็วได้สูงกว่าจักรยานประเภทอื่นๆ สังเกตุว่าล้อจักรยานประเภทนี้จะมีหน้ายางขนาดเล็กมาก เพื่อลดแรงเสียดทานกับพื่นถนน และ รูปทรงของจักรยานประเภทนี้ ก็จะมีลักษณะ ลู่ลมเพื่อลดแรงเสียดทานกับอากาศ จักรยานประเภทนี้ส่วนมากจะใช้สำหรับการแข่งขันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจักรยานประเภทนี้สามารถ แบ่งลักษณะได้ตามประเภทของการแข่งขันดังนี้

จักรยาน ประเภทลู่
Time Trial Bike

จักรยานประเภท TT (Time Trial Bike) จักรยาน ประเภทนี้จะคล้ายๆกับจักรยาน ประเภทถนน แต่จะเน้นให้จักรยานมีความลู่ลม (Aerodynamic) มากกว่าจักรยานประเภทอื่นๆ โดยอุปกรณ์ทุกอย่างต้องเน้นความลู่ลมไว้ก่อน ร่วมทั้งท่าทาง ของผู้ขี่ด้วยต้องทำลำตัว ให้ทำแนวขนานกับพื่นถนนเพื่อให้ลู่ลมมากที่สุดเลยละครับ




จักรยาน
Track Bike

จักรยานประเภท ลู่ (Track Bike) จักรยาน ประเภทนี้ ส่วนมากจะใช้แข่งขันใน ลู่ หรือ ในโดม (Velodromes)เป็นส่วนใหญ่ จักรยานประเภทนี้ จะไม่มีเกียร์ และ เบรค นะครับ ซึ่ง จักรยาน ประเภทนี้จะเบรคได้โดยการใช้การฝืนเท้าเอาครับ เพราะเฟืองหลังเป็นแบบ เฟืองตาย (Fixed Gear) คือไม่สามารถ ฟรีเท้าได้เวลาปั่น เวลาเบรคก็ต้องฝืนเท้าเอา เพราะว่าถ้ามีเบรค เวลาแข่งขันจะอันตรายมากครับ เพราะความเร็วในการแข่งขันจะสูงมากถ้าเกิดการเบรคกระทันหันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายครับ และ อีกอย่างถ้ามีเบรคนักแข่งสามารถแกล้งกันได้ครับ ในปัจจุบัน จะเห็นจักรยานประเภทนี้ขี่บนถนนมากขึ้นเพราะตอนนี้ วัยรุ่นขาโจ๋กำลัง ฮิตครับ วัยรุ่นเรียกจักรยานประเภทนี้ว่า ฟิกเกียร์ (Fixed Bike) เห็นว่ามีการตั้งเป็น ชมรม ด้วยครับ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จักรยานเสือภูเขา

จักรยาน
Mountain Bike (จักรยานเสือภูเขา)
   จักรยานเสือภูเขา  (Mountain bike) จักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบมา เพื่อใช้งานแบบออฟโรด เช่น ใช้ขี่ขึ้นเขา ขี่ตามทางที่ข้อนข้างวิบาก หรือ ถนนลูกลัง จักรยานประเภทนี้จะถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงมากกว่าจักรยานประเภทอื่นๆ จักรยานประเภทนี้อุปกรณ์ จะเยอะมาก เช่น มี โช้ค หน้า หลัง, เกียร์ 16 - 28 เกียร์ ส่วนราคา ก็จะแพงกว่าจักรยานประเภททั่วไปมาก เริ่มตั่งแต่หลักพัน ไป จนถึงหลักแสน เลยที่เดียวครับ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ ต่างๆที่นำประกอบ และ วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิต มีตั้งแต่ เหล็กธรรมดาไปจนถึงระดับที่ใช้ คาร์บอนไฟเบอร์ มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตจักรยาน และ ชิ้นส่วนต่างๆ โดย ส่วนมากแล้วจักรยานที่ใช้อุปกรณ์ จากวัตถุดิบประเภทคาร์บอน จะเป็นจักรยานเพื่อใช้ในการแข่งขันเป็นส่วนใหญ่เพราะต้องการน้ำหนักที่เบาและแข็งแกร่ง จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าจักรยานสำหรับ แข่งขันนั้นจะมีราคาแพงมาก เราๆ ท่านๆ ที่มีฐานะทางการเงินระดับปานกลาง คงไมีมีโอกาสได้สัมผัส มันแน่นอน เพราะราคาระดับหลักแสนเลยละครับ

จักรยานทั่วไป

จักรยาน
Utility Bike (จักรยานทั่วไป)
    จักรยานทั่วไป (Utility bicycles) จักรยานประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานทั่วไป เช่น ไปจ่ายตลาด, ใช้ขี่ไปทำงาน และใช้งานทั่วไป หรือ ที่เราเรียกว่า จักรยานแม่บ้าน นั่นแหละครับ โดย ส่วนมากจักรยานประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถ ใช้งานได้ง่ายไม่มีฟังชั่นอะไรมากมาย เพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษา บางยี่ห้ออาจจะเพิ่มออฟชั่นเข้าไป เช่น เกียร์, ไฟส่องสว่าง, บังโคลน หน้า และ หลัง โดยทั่วไปแล้ว จักรยานประเภทนี้ราคาจะไม่ค่อยแพงมาก ราคา อาจจะเริ่มตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงหลักพัน คนทั่วไปสามารถหาซื้อมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันได้ จักรยานประเภทนี้ ส่วนมากจะมีใช้กันทุกบ้านอยู่แล้วแทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชิวิตเลยก็ว่าได้ครับ ยิ่งตอนนี้ราคาน้ำมันมีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวันทำให้คนส่วนใหญ่หันมาใช้จักรยานกันเยอะ ขึ้นเลื่อยๆจักรยานจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากในการเดินทางที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เช่น ระยะทาง 2 - 3 ก.ม. เช่น ไปตลาด, ไปโรงเรียน เป็นต้น

   จักรยานยังมีอีกหลายประเภทครับแล้วผมจะมานำเสนอใน บทความต่อไปครับขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของ จักรยาน

จักรยาน
จักรยาน
    จักรยานตามที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันโดยทัวไปแล้ว จะมีสองล้อ ถ้ามีล้อมากกว่านั้นก็จะเป็นจักรยานสำหรับเด็ก หรือผู้ที่หัด ขี่จักรยานเป็นครั้งแรกบ้างก็มีสามล้อ หรือ ที่เราเรียกกันว่ารถสามล้อสมัยก่อนเดียวนี้จะเห็นรถสามล้อถีบรับจ้าง ส่วนมากจะอยู่ทาง ภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง เป็นต้น จังหวัด อื่นก็มีนะครับ แต่ที่ไม่ได้เขียนลงไปเพราะ เดี๋ยวมันจะยาวครับ

    จักรยานคันแรกนั้นจากที่ผมได้ไปหาข้อมูลมานั้น เห็นว่าได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2377 ผู้สร้างคือ นาย Kirkpatrick Mcmillan เขาเป็นชาวสกอตแลนด์ โดยต่อมา จักรยานก็ได้มีการพัฒนามาเลื่อยๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2408 ได้มีสองนักประดิษฐ์ คือ Pierre Michaux และ Pierre Lallement ชาวฟรั่งเศส โดยทั้งสองได้ประดิษฐ์จักรยานขึ้นมาใหม่ โดยทำให้จักรยานมี ชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นมาคือ มี บรรไดถีบ และ โซ่ เพิ่มเข้ามา แต่สมัยก่อนล้อยังไมีมีการสูบลมเข้าไปนะครับ เวลาขี่จึงกระเทือนมากเลยครับ เอ "พูดเหมือนเคยขี่" ที่จริงไม่เคยขี่หลอกครับ พูดเล่นครับ เดี๋ยวจะหลับกันหมด เข้าเรื่องต่อเลยดีกว่าครับ

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2422-2428 จักรยานได้มีการพัฒนาขึ้นอีก โดยการมีการ ทำให้ยางสามารถ สูบลมเข้าไปได้ เพื่อให้ขี่ได้นุ่มนวลขึ้น ต้องขอบคุณ เขาเลย คือ นาย "J.K. Starley" ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ได้มีการเพิ่มระบบความปลอดภัยขึ้นมา คือ ระบบเบรค หลังจากนั้น จักรยานก็ได้มีการพัฒนามาเลื่อยๆจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2441 ได้มีการออกแบบให้จักรยานมีล้อหน้า และ ล้อหลัง (เอ แล้วเมื่อก่อนขี่กันยังไงละ!!)และ ได้มีการพัฒนามาเลื่อยๆ จนมีรูปแบบ เหมือนที่พวกเราเห็นกันทุกวันนี่แหละครับ

    ส่วนบ้านเรานั้นจักรยานเข้ามาแพร่หลาย ในสมัย รัชกาลที่ 5 ใน ปัจจุบันจักรยานได้มีการพัฒนาขึ่นมาก ทั้งรูปแบบ และ วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเฟรม และส่วนประกอบ แล้วแต่ จุดประสงค์ ว่าจะนำไปใช้ทางด้านใหน

หมายเหตุ นี่เป็นบทความแรกของบล็อกผม มีข้อมูลอะไรผิดพลาด หรือ ขาดหายไปสามารถ comment ได้นะครับ ผมจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น ท้ายนี้ก็ขอขอบคุณ ทุกท่านที่เข้าเยี่ยมชมครับ เจอ กันใหม่ในบทความหน้าครับ สวัสดี ครับ