สวัสดีครับ เพื่อนๆ ชาว จักรยาน ทุกท่านครับ วันนี้ผมจะขอมาเล่าประสบการณ์ และเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ เทคนิคการปั่นจักรยานขึ้นเขา ไม่ว่าเพื่อนๆ จะปั่น จักรยาน ชนิดใดก็สามารถนำไปใช้ได้ครับ เพราะมันเป็น เทคนิค แบบพื้นฐานครับ ไม่ซับซ้อนอะไรเลย แต่หากเพื่อนๆ ท่านใด ปั่นจักรยาน เสือภูเขา ก็อาจจะได้เปรียบหน่อยนะครับ เพราะมีระบบเกียร์ ให้เลือกใช้เยอะกว่าจักรยาน ประเภทอื่นๆ แต่หากท่านใดปั่น จักรยานฟิกเกียร์ ผมขอบอกว่า เหนื่อยครับงานนี้ แต่ถ้าหาก ภูเขา ที่เราต้องการ จะขึ้นนั้นไม่สูงชันมาก และระยะทางไม่ไกลมาก ก็ไม่เป็นปัญหาครับ
ศึกษาเส้นทางก่อนออกไป ปั่นจักรยาน กันก่อนครับ
ผมว่ามันเป็นการดีนะครับ หากเรารู้ว่า เส้นทางที่เราจะไปปั่นนั้น มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นอย่างไร มีความสูงชัน มากน้อยแค่ใหน ระยะทาง ระหว่างเชิงเขาถึงจุดหมาย มีระยะทางเท่าไหร่ เพราะเราจะได้เตรียมตัวได้ถูกครับ เช่น เตรียมจักรยานให้พร้อม ที่สำคัญระบบเบรค ครับ อย่าได้ลืมเช็คเป็นอันขาดครับ หากผ้าใบเบรคของเรา สภาพมันไม่น่าไว้วางใจ หรือเก่าเอามากๆ ผมแนะนำว่า ควรเปลี่ยนใหม่ครับคู่ละไม่กี่ตัง เมื่อเทียบกับ ความปลอดภัยแล้ว ส่วนตัวผมว่ามันคุ้มมากครับ เพราะความปลอดภัยนั้น มันหมายถึง ชีวิตของเราเอง และผู้ร่วมเดินทางกับเราด้วยครับ ลองนึกดูครับ หากเราเกิดอุบัติเหตุแล้วเพื่อนที่ปั่น จักรยาน ตามเรามาเขาหลบไม่ทัน จะเกิดอะไรขึ้น ผมไม่อยากนึกเลย เพราะเหตุการณ์นี้เคยเกิดกับผมมาแล้วครับ สมัยที่ผมยังเป็นนักกีฬาปั่น จักรยาน อยู่ สรุปแล้วก็ เจ็บด้วยกันทั้งคู่ครับ เพราะเพื่อนผมเขามือใหม่จริงๆ ครับ คือผม เป็นคนชักชวน เพื่อนคนนี้มาเข้าวงการ จักรยาน เองครับ แต่ผมก็ไม่ได้โกรธหรือ ต่อว่าเขานะครับ เพราะผมคิดว่ามันเป็นอุบัติเหตุ ใครก็ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นครับประเมินความสามารถของตัวเองว่า เพียงพอหรือไม่
อันนี้สามารถใช้ได้ทั้งก่อนออกไปปั่น จักรยาน และขณะที่เรากำลังปั่นอยู่ครับ ยกตัวอย่างเช่น เราไม่เคยปั่นจักรยานขึ้นเขา หรือปั่นระยะทางไกลๆ เลย แต่มีเพื่อนมาชวนไปปั่นจักรยานขึ้นดอยอินทนนท์ อย่างนี้เราสามารถปฏิเสธได้ครับ ไม่ต้องอายครับ บอกเขาไปเลยว่าเราไม่พร้อม (เปรียบเทียบซะเห็นภาพเลยใหมครับ!!) หรืออาจจะบอกไปว่า "ไว้คราวหน้าละกันนะเพื่อนเกลอ ให้เราฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อน แล้วเจอกัน!!" อะไรประมาณนี้ ก็ได้นะครับ อย่าเผลอเคลิ้มไปกับเขาหละ เหนื่อยแน่ๆ ครับแถมจะไม่สบายเอาด้วยนะครับ อันนี้อันตรายครับ
ต่อมานะครับ หากเรามีความพร้อม และตอบรับการออกทริปครั้งนี้แล้ว ตอนนี้ก็มาถึงตอนที่เรากำลังปั่นจักรยานขึ้นเขา ละครับ
- ปั่นในเกียร์ที่เหมาะสม และใช้เกียร์ให้เป็นครับ คือ ใช้อัตราทดที่เราปั่น จักรยาน แล้วเรารู้สึกสบายที่สุด อันนี้ผมก็บอกแบบ ตรงตัวไม่ได้ครับ เพราะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของ แต่ละคนนั้น ไม่เท่ากัน แต่สำหรับตัวผมเองนะครับ ผมจะใช้จานหน้าเล็ก และเฟืองหลังประมาน 17 - 21 ครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชันของ ภูเขา หรือเนินที่เราขึ้นด้วยครับ
- ท่าทางในการปั่น จักรยาน ขึ้นเขา อันนี้ผมว่ามันเป็นสไตล์ การปั่นของแต่ละคน นะครับว่าถนัดแบบใหนที่สุด โดยส่วนตัวแล้วผมชอบแบบนั่งปั่น (หรือภาษาในหมู่นักปั่นเขาจะเรียกการขึ้นเขาแบบนี้ว่า "นั่งกด" ครับ) ครับสูตรของผม คือ กด, ดึง, ดัน อธิบายง่ายครับ กด คือ เช่นเท้าซ้ายกดบรรได เท้าขวาก็ดึงบรรไดขึ้น ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยชอบลุกขึ้นโยกครับ เพราะว่าในความคิดของผมคิดว่า มันจะเสียแรงเยอะครับ ผมจะลุกขึ้นโยกก็ต่อเมื่อ ผมเมื่อยล้า และต้องการผ่อนคลาย หรือ ตอนที่ไกล้จะ สปรินเข้าเส้นชัย เท่านั้นครับ
- การหายใจเราต้องฝึกหายใจให้ถูกต้องครับ ควรหายใจให้ลึกๆ ยาวๆ ครับจะช่วยได้เยอะครับ ผมเห็นจุดนี้เป็นจุดสำคัญมากครับ ไม่ว่าเราจะปั่น จักรยาน ทางเรียบ หรือขึ้นเขา การหายใจที่ถูกต้อง นั้นมีสำคัญมากครับ เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายของเราได้รับ ออกซิเจน อย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลทำให้ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้เราไม่เมื่อยล้า เร็วจนเกินไป ลองฝึกหายใจยาวๆ ลึกๆ ให้เป็นนิสัยดูครับ ผมรับรองว่า ท่านจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นครับ
ตอนนี้เรามาทราบถึง วิธีสำหรับการฝึกซ้อมปั่นจักรยานขึ้นเขากันบ้างครับ
- ในกรณีที่ แถวบ้านท่านไม่มีภูเขา ให้ขึ้นครับ เราก็สามารถฝึกได้ตามท้องถนน ทางเรียบนี่แหละครับ โดยการปรับจานหน้า ไปใช้จานใหญ่ และใช้เฟืองหลังอันเล็กสุดครับ คือฝึกโดยการปั่นแบบเต็มที่ประมาน 1 - 2 นาที แล้วพัก ให้กล้ามเนื้อฟื้นตัว 3 - 5 นาที ทำแบบนี้ ซ้ำกัน 4 - 6 เซ็ทครับ โดยใช้อัตราทดเฟือง ดังที่กล่าวมาข้างต้นครับ ใน 1 อาทิตย์ ฝึกแบบนี้แค่ 2 ครั้งก็พอครับ
- สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาใกล้ ภูเขา หรือแถวบ้านของท่าน มีภูเขาเยอะนั่นเองครับ สำหรับคนที่มีบ้านใกล้ภูเขาแล้ว ผมว่ามีความได้เปรียบครับ เพราะได้ฝึกขี่ จักรยาน แบบขึ้นเขาจริงๆ เพราะความรู้สึก และเหตุการณ์จริง นี้เองจึงทำให้มีการพานักกีฬาไปเก็บตัวฝึกซ้อม ตามสถานที่แข่งขันจริงก่อนการแข่งขัน จะเกิดขึ้น ซึ้งผมคิดว่ามันมีประโยชน์มาก และสร้างความได้เปรียบ ขึ้นอีกระดับหนึ่งครับ เพราะการที่เราได้ฝึกซ้อมจักรยานในสถานที่จริง จะทำให้เราได้รู้ถึงจุดต่างๆ ของภูมิประเทศ และสร้างความคุ้นเคยกับมัน ไม่น่าแปลกใจเลยนะครับ หากการแข่งขัน จักรยาน ทางไกลที่มีทางขึ้นเขาเยอะๆ ส่วนมากเจ้าถิ่นจะได้เปรียบครับ ส่วนการฝึกซ้อมนั้น ก็ฝึกปั่นขึ้นเขา แค่ อาทิตย์ละ 2 ครั้งก็พอครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องฝึกแค่อาทิตย์ละสองครั้ง ฝึกทุกวันไม่ได้หรือ คำตอบคือ ได้ครับ!! หากท่านต้องการเป็นเทพแห่งการขึ้นเขา อย่างเดียวโดยไม่ต้องการที่แข่งขัน จักรยาน ประเภททางเรียบ และจักรยานประเภทอื่นๆ เลย และอีกอย่างครับ ถ้าหากคิดว่าท่านไม่เบื่อเลยกับ การฝึกแบบขึ้นเขาทุกวัน อันนี้ก็ไม่มีใครสามารถ ห้ามท่านเทพได้ครับ (เอ!! วันนี้ออกแนวโหดไปหน่อยครับ!!)
สุดท้ายนี้ผมขอฝากคำขวัญ เล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ ชาวจักรยาน ทุกคนครับ
คือคำว่า "อีกนิดซิ" ส่วนมากผมจะใช้ตอนที่เหนื่อยมากๆ ครับ หรือตอนกำลังฝึกซ้อมหนักๆ หากเราเหนื่อยสุดๆ แล้วหรือ ไม่ใหวแล้ว นึกในใจเสมอว่า "อีกนิดซิ" คือ หมายความว่าให้เราอดทน "อีกนิดซิ" ตรงนี้ละครับ คือพัฒนาการที่ดีขึ้น ที่ท่านจะได้รับจาก การฝึกซ้อมจักรยานในแต่ละวัน ครับ นี่เป็นคำขวัญของ ผู้ฝึกซ้อมจักรยานให้แก่ผม คนแรกเลยนะครับ ผมเรียกท่านว่า อาจารย์เลยครับ แล้ววันหลังผมจะมาเล่าเรื่องสนุกๆ เกี่ยวกับการฝึกซ้อม จักรยาน กับอาจารย์คนแรก ของผมให้ฟังนะครับ อย่าลืมติดตามนะครับ มีอะไรดีๆ มากมายเลยครับ ขอบคุณครับ !!