หลายคนคงเคยประสบปัญหาว่าเวลาปั่น จักรยาน ไปนานๆ แล้วรู้สึกปวดหลัง, ปวดคอ, ปวดไหล่ และปวดส่วนอื่นๆ ของร่างกายเวลาปั่น จักรยาน ไม่ใช่อาการปวดแบบเรื้อรัง แค่เราพัก หรือนวดแล้วอาการเหล่านี้ก็จะหายไป แต่พอกลับไปปั่นจักรยานอีกอาการปวดเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นอีก อาการเหล่านี้ นั้นอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เราหยุดปั่นเป็นเวลานานๆ แล้วกลับมาปั่นอีกอาการเหล่านี้ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากเราปั่น จักรยาน มานานแล้วยังมีอาการปวดเหล่านี้อีกก็แสดงว่าเกิดสิ่งผิดปรกติขึ้น และสิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวต่อไปนี้ คือสิ่งผิดปรกติที่เกิดจากการปรับขนาด หรือระยะของอุปกรณ์ จักรยาน ไม่ถูกต้องเช่น เบาะอาจจะปรับไปข้างหน้า หรือหลังมากเกินไป, คอแฮนด์ หรือสเตมอาจจะสั้นหรือยาวเกินไปเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยทั้งสิ้น ดังนั้นเรามาดูกันว่าอาการปวดเมื่อยของร่างกายแต่ละอย่างนั้นสาเหตุเกิดจากอะไร และเราจะมีวิธีการแก้ไขเบื่องต้นอย่างไรครับ
อาการ | สาเหตุ | วิธีแก้ไข |
เวลาปั่นคุณมักจะต้องเขยิบตัวไปข้างหลังบ่อยครั้ง | คอแฮนด์ หรือสเตมยาวเกินไป, องศาของเบาะนั่งก้มลงมากเกินไป | เปลี่ยนคอแฮนด์ให้สั้นลง, ปรับองศาเบาะนั่งให้เงยขึ้นเล็กน้อย |
เวลาปั่นคุณมักจะต้องเขยิบตัวไป ข้างหน้าบ่อยครั้ง | คอแฮนด์ หรือสเตมสั้นเกินไป, เบาะนั่งถูกปรับไปข้างหลังมากเกินไป | เปลี่ยนคอแฮนด์ให้ยาวขึ้น, ปรับเบาะนั่งไปข้างหน้าตามความเหมาะสม |
อาการปวดหลังส่วนล่าง | คอแฮนด์ หรือสเตมต่ำเกินไป, เบาะนั่งสูงเกินไป | ปรับคอแฮนด์ขึ้น, ปรับเบาะนั่งลงตามความเหมาะสม |
ปวดต้นคอเวลาปั่น | ปรับตั้งคอแฮนด์ต่ำเกินไป | ปรับคอแฮนด์ให้สูงขึ้น ตามความเหมาะสม |
ปวดมือ, เจ็บมือ | คอแฮนด์ต่ำเกินไปทำให้น้ำหนักตัวไปตกอยู่ตรงส่วนหน้ามากเกินไปส่งผลถึงมือของเราต้องรับน้ำหนักมากไปด้วยจึงทำให้ปวดมือ | ปรับตั้งคอแฮนด์ให้สูงขึ้นตามความเหมาะ สม |
ปวดหัวเข่าด้านหน้า | เบาะนั้งต่ำเกินไป | ปรับเบาะนั่งให้สูงขึ้นอย่างเหมาะสม |
ปวดหัวเข่าด้านหลัง | เบาะนั่งสูงเกินไป | ปรับเบาะนั่งให้ต่ำลงตามสมควร |
รู้สึกก้นชาตลอดเวลาการปั่น | น้ำหนักตัวส่วนใหญ่ลงมาที่เบาะนั่งมากเกินไป | ปรับคอแฮนด์ให้ต่ำลง หรือปรับเบาะนั่งให้สูงขึ้นแล้วแต่ความเหมาะสม |
รุ้สึกร้อนที่เท้า หรือปวดร้อนเท้าเวลาปั่น | รองเท้าปั่นคับเกินไป, คลิปล็อคบรรไดถูกปรับไปข้างหน้ารองเท้ามากเกินไป | หารองเท้า จักรยาน คู่ใหม่ที่ใหญ่ กว่าเท้าเรา 1 เบอร์ เช่น เท้าเปล่าเราเบอร์ 40 ให้หารองเท้าเบอร์ 41 หรือ 41 ครึ่ง , ปรับคลิปล็อคบรรไดให้ถอยมาข้างหลังอย่างเหมาะสม |
ปวดเอ็นร้อยหวาย | ในการปั่นคุณลงน้ำหนักไปที่นิ้วเท้ามากเกินไป หรือคุณปรับคลิปล็อคบรรไดไปข้างหน้ามากเกินไป | ปรับคลิปล็อคบรรไดถอยกลับมาตามความเหมาะสม |
หมายเหตุ ในการปรับระยะของอุปกรณ์ควรปรับที่ละน้อยๆ เช่น ปรับทีละ 1-2 ม.ม แล้วออกไปปั่นฝึกซ้อมจักรยานตามปรกติแล้วสังเกตุอาการปวดของเราว่ามันบรรเทาลง หรือไม่ หากยังไม่หายให้กลับมาปรับเพิ่ม หรือลดจนกว่าอาการปวดของเราจะหายไปเวลาเราปั่น ควรใจเย็นๆ นะครับเพราะมันอาจต้องใช้เวลาในการปรับหลายวันพอเราได้ขนาดที่เหมาะสมกับตัวเราแล้ว เราควรจดขนาดต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเราใส่กระดาษไว้เพราะหากวันหลังเราเปลี่ยน จักรยาน คันใหม่เราจะได้นำข้อมูลส่วนตัวของเราไปปรับใช้กับ จักรยาน คันใหม่ได้เลยไม่ต้องเสียเวลามาลองผิดลองถูกอีกครับ ขอบคุณทุกคนครับ
9 comments:
ขอบคุณมากๆครับ ผมกำลังปวดหลังช่วงล่างเลย
ขอบคุณครับ ที่เข้ามาเยี่ยมชม วันหลังแวะมาใหม่นะครับ
กำลังทำกางเกงขี่จักรยาน อยากให้คนที่ใช่จริงลองเอาไปใส่ และช่วยคอมเมน
ถ้าช่วยเอาไปลองให้ได้ แจ้งไซส์มา จะส่งไปให้ช่วยลองค่ะ
อยากได้สักตัว ไซค์ xl ครับ สูง 187 เบอร์โทร 0838955153
ขอบคุณ สำหรับคุณ Thipvipha Lertprasert และคุณ Arsenal ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อก ครับ ส่วนคุณ Thipvipha ที่มาแนะนำกางเกงปั่นจักรยาน ไม่ทราบว่า สำหรับ เสือหมอบ หรือว่า MTB ครับ แล้วมี เว็บไซต์ หน้าร้านหรือเปล่าครับ หากต้องการให้ผม Review สินค้าให้ส่งรูปและราคา มาได้ที่ tingaim@about.me นะครับ ผมจะเขียนบทความและ Review ให้ไม่คิดเงินครับ เพราะถือว่าช่วยๆ กันครับหากสินค้าดีจริง จะได้ช่วยแนะนำให้เพื่อนๆ ได้สินค้าที่คนไทยผลิตเองและคุณภาพดี มาใช้กันครับ
ขอบคุณครับ
เป็นข้อมูลที่ดีครับๆก็ว่าอยู่ปวดก้น หลัง แขน มือ ได้วิธีแก้ไขละครับ
สวัสดีครับ ผมหันมาปั่น หลังจากเล่นกีฬาประเภท เอ็กตรีมไม่ไหว แล้วก่มาวิ่ง สุดท้ายจเกรยานคือน่าจะเหมาะที่สุด ปกติเปนคนชอบออกกำลังกายถ้าได้ทำก่เปนบ้าเปนหลัง อย่างเล่นสเก็ตก่เล่นจนขาหัก พอหายเล่นต่อ ข้อมืือหลุด สุดท้ายไปวิ่ง ก่กระเทือนเอ็นข้อเข้า อยากถามว่า มือชาเวลาปั่นได้สักระยะ แบบนานหน่อย แก้ไขอย่างไรดี สูง 165 นน. 60 จย. จีทีทัวร์ ไซด์เอ็ม แรกๆเจ็บก้นมักๆแต่ปรับเบาะหลักอานแล้วดีขึ้น คนับ
ใหม่ๆเป็นครับ ตอนนี้หาย ขี่มา 16 ปีแล้วครับ
ขอบคุณมากๆครับ บาคาร่า
แสดงความคิดเห็น