วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

อัตราทดเกียร์สำหรับ จักรยาน

ระบบเกียร์ของรถจักรยาน นั้นหากเราทำความคุ้นเคย และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และชำนาญแล้วนั้น จะทำไห้เรามีความได้เปรียบ ในการแข่งขันอย่างแน่นอน ครับ หากคุณใช้เกียร์ ให้เหมาะสม กับสภาพภูมิประเทศ และความแข็งแรงของร่างกาย แล้วละก็ โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จ ในการแข่งขัน ไม่ว่า จะแข่งขันจักรยานทางเรียบ หรือ ทางที่มีภูเขาเยอะๆ ดังนั้น คุณต้องเลือกใช้เกียร์ให้เป็นด้วยครับ (ไม่ใช่โชว์เทพ ใส่ ใหญ่ 1 ขึ้นภูเขา อันนี้ผมเคยเจอมาแล้วครับ แต่แล้วสักพัก เขาก็ไปไม่รอดครับ โดนสวน แล้วค่อยๆ หายออกจากกลุ่มไป มันเป็นประสบการณ์ ตอนยังเด็กๆ ครับ!!) ปล. "ใหญ่ 1" ในที่นี้หมายถึง ใช้จานหน้า อันใหญ่สุด และใช้เฟืองหลังอันเล็กสุด นั่นแหละครับ มันเป็นภาษาของชาว จักรยาน ที่เรียกกันมานานแล้วครับ ไม่รู้เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าอะไร แต่เมื่อก่อนเขาเรียกกันแบบนี้จริงๆ ครับ

วันนี้ผมเลยนำ ตารางอัตราทดเกียร์สำหรับ จักรยาน มาฝากครับ

อัตราทดเกียร์ จักรยาน

จากรูปตารางข้างบน (Ring หมายถึง จำนวนฟันของจานหน้า) ส่วน (Cog หมายถึง จำนวนฟันของเฟืองหลัง) ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จักรยานเสือหมอบ ใบจานหน้าจะมี 2 ใบ คือ 39 และ 53 หรือ หากเป็นรุ่น คอมแพค จะเป็น 39 กับ 50 ส่วนเฟืองหลังนั้น จะเริ่ม ตั้งแต่ 11 ไปจนถึง 25 ครับ โดยเฟืองหลังของจักรยาน เสือหมอบทั่วไป จะมีประมาณ 10 - 11 ใบ แล้วแต่ยี่ห้อครับ สมัยผมขี่นั้น แค่ 7 ใบก็หรูแล้วครับ เดี๋ยวนี้ มีเยอะจริงๆ จักรยานของผมมีแค่ 10 ใบ ผมยังใช้ไม่ทั่วถึงเลยครับ เข้าเรื่องดีกว่าครับ สังเกตุจากตัวเลขนะครับ ตัวเลขยิ่งเยอะ ยิ่งหนักครับ คือ เราต้องออกแรงปั่นเพิ่มขึ้นนั่นเองครับ

ผมขอยกตัวอย่าง การใช้เกียร์ ในการฝึกซ้อมจักรยานของผมเลยนะครับ คือ ผมจะปั่นเพื่ออบอุ่นร่างกาย ก่อน ประมาน 10 กิโลเมตร โดยเริ่มใช้ เกียร์ 39/17 ซึ่งอัตราทดเกียร์ จะอยู่ที่ 2.3 และ ผมจะค่อยๆ เปลี่ยนเกียร์ให้หนักขึ้นเลยเลื่อย โดยผมจะรักษาระดับรอบขาให้อยู่ระหว่าง 85 - 90 RPM จนกระทั่ง ผมเปลี่ยนเกียร์ไปจนถึง 39/12 อัตราทดเกียร์ คือ 3.3 โดยแต่ละช่วงของอัตราทดนั้น ผมจะใช้เวลาในการอยู่ในช่วงนั้นประมาณ 2 - 3 นาที เพื่อนให้กล้ามเนื้อได้มีการปรับตัว โดยหลังจากนี้ผมจะเปลี่ยนไปใช้ อัตราทด 53/15 คือ ผมเปลี่ยนไปใช้จานหน้าอันใหญ่นั่นเองครับ โดย อัตราทด จะหนักขึ้นมาเป็น 3.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก 3.3 ซึ่งพอเราขึ้นจานใหญ่แล้ว พยายามรักษารอบขาไว้ อย่าให้ต่ำกว่า 70 RPM นะครับ ในช่วงแรกๆ สำหรับนักปั่นจักรยาน มือใหม่ ควรจะค่อยฝึกซ้อมโดย ค่อยๆ เพิ่มอัตราทดขึ้นเลื่อยๆ โดยรักษารอบขาไว้ อย่าให้ต่ำกว่า 70 RPM หากเราฝึกไปนาน เราจะสามารถใช้อัตราทด 53/11 ได้เองครับ ซึ่งมันเป็นอัตราที่หนักที่สุดแล้ว ยิ่งถ้าหากคุณใช้อัตราทด 53/11 และยังสามารถรักษารอบขาไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 70 RPM ได้ ตลอดระยะทางการฝึกซ้อม ผมถือว่าคุณนั้นหาตัวจับได้ยากแล้วครับ
อัตราทดเกียร์มีผลต่อความเร็วของ จักรยาน

ส่วนตารางที่ 2 เป็นตารางที่แสดงให้เห็นถึง ระดับความเร็วของจักรยาน ที่เราได้จากการใช้เกียร์ในแต่ละระดับ ที่รอบขา 90 RPM ยกตัวอย่างเช่น ผมใช้อัตราทด 53/11 ความเร็วที่ได้ คือ 54.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง ครับ หากเพื่อนๆ คนไหน อยากคำนวนเองก็ไม่ยากครับ เว็บที่ให้บริการนี้เป็นของฟรั่งครับชื่อเว็บ www.bikecalc.com ลองไปใช้บริการกันได้ครับ ไม่เสียเงินครับ

ซึ่งการเลือกใช้เกียร์จักรยานให้เหมาะสม นั้น มันมีปัจจัยหลายอย่าง เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ เช่น
  • ลักษณะภูมิประเทศ หรือเส้นทางที่เราจะไป ทำการฝึกซ้อม หรือ แข่งขันจักรยาน จะมีความลาดชันแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเราควรเลือกใช้อัตราทดเกียร์ ให้เหมาะสมกับ สภาพความลาดชัน คือพยายามรักษารอบขา (RPM) ให้อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกันมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่เราขี่บนเส้นทางเรียบๆ ครับ

  • ความแข็งแรงของร่างกาย พละกำลังของนักปั่นจักรยาน แต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกัน อยู่แล้วครับ ซึ่งจะส่งผลให้ แต่ละคนใช้อัตราทดเกียร์จักรยาน ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น นักปั่นจักรยาน ระดับโปร หรือ ระดับอาชีพ พวกเขาเหล่านั้นส่วนใหญ่ จะมีกำลังขาที่แข็งแรงมากๆ ซึ่งจะส่งผลให้เขาเหล่านั้นสามารถ ใช้อัตราทดเกียร์ ที่หนักๆ ในรอบขาที่สูงๆ ได้ ถ้าหากเราอยากจะทำได้แบบเขาเหล่านั้น การฝึกซ้อมเป็นสิ่งสำคัญครับ รวมไปถึงผู้ฝึกสอนหรือโค้ช กีฬาจักรยาน ต้องมีความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์การกีฬา และโภชนาการ สำหรับนักกีฬา ด้วยครับ จึงจะทำให้นักกีฬามีพัฒนาการที่ดีขึ้น ประกอบกับนักกีฬาเหล่านั้นต้องมีใจรักใน กีฬาจักรยาน ด้วยครับ จึงจะประสบความสำเร็จได้ครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : นักปั่นจักรยานเขาเข้าโค้งกันยังไงให้เร็ว และปลอดภัย

4 comments:

ได้ความรู้มากครับ ขอบคุณครับ

ผมมือไหม่ครับอ่านแล้วใด้รับความรู้มากครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับ หูตาสว่างขึ้นอีกเยอะครับ

เป็น blog ที่มีประโยชน์ กับ นักปั่น มาก ครับ

แสดงความคิดเห็น