การแข่งขัน จักรยาน รายการต่างๆ ที่น่าสนใจ

รวบรวมการแข่งจักรยาน รายการต่างๆ ที่น่าสนใจ ในส่วนนี้ ผมจะพยายาม หามาฝาก ให้ได้มากขึ้นครับ

จักรยานเสือภูเขา

สำหรับ ท่านที่เป็นแฟน จักรยานเสือภูเขา ทางผมจะพยายาม นำเรื่องราว เกี่ยวกับจักรยานประเภทนี้มานำเสนอให้มากขึ้น ครับ ที่ผ่านมา ผมคิดว่ามันยังน้อยอยู่ โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยถนัด ทางเสือภูเขามากเท่าไหร่ครับต้องขออภัย ไว้ล่วงหน้าหากมีข้อมูลผิดพลาด ครับ

อะไหล่ จักรยาน และเทคโนโลยี ต่างๆ

ในปัจจุบัน มีการพัฒนาไปมากครับ จนเราๆ ท่านๆ แทบจะหาเงิน มาเปลี่ยน อะไหล่พวกนี้กันแทบไม่ทัน ใครที่มีทุนมากหน่อย ก็สบายหน่อยครับ ได้ใช้ของใหม่ ก่อนใครเพื่อน ส่วนใครทุนน้อย ก็คงต้องรอของมือสองกันละครับ

จักรยาน BMX

จักรยาน BMX เป็นจักรยานที่ได้รับความนิยม มาอย่างยาวนาน และการพัฒนาของจักรยานประเถทนี้ ก็ไม่ได้น้อยหน้ากว่า จักรยาน ประเภทอื่นเลยครับ

จักรยาน ไทม์ไทรอัล

จักรยาน ประเภท ไทม์ไทรอัล หรือที่ใครหลายคน เรียกว่าจรวจทางเรียบ นั่นแหละครับ

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการปั่น จักรยาน ขึ้นเขา

การฝึกซ้อมปั่น จักรยาน ขึ้นเขา

สวัสดีครับ เพื่อนๆ ชาว จักรยาน ทุกท่านครับ วันนี้ผมจะขอมาเล่าประสบการณ์ และเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ เทคนิคการปั่นจักรยานขึ้นเขา ไม่ว่าเพื่อนๆ จะปั่น จักรยาน ชนิดใดก็สามารถนำไปใช้ได้ครับ เพราะมันเป็น เทคนิค แบบพื้นฐานครับ ไม่ซับซ้อนอะไรเลย แต่หากเพื่อนๆ ท่านใด ปั่นจักรยาน เสือภูเขา ก็อาจจะได้เปรียบหน่อยนะครับ เพราะมีระบบเกียร์ ให้เลือกใช้เยอะกว่าจักรยาน ประเภทอื่นๆ แต่หากท่านใดปั่น จักรยานฟิกเกียร์ ผมขอบอกว่า เหนื่อยครับงานนี้ แต่ถ้าหาก ภูเขา ที่เราต้องการ จะขึ้นนั้นไม่สูงชันมาก และระยะทางไม่ไกลมาก ก็ไม่เป็นปัญหาครับ

ศึกษาเส้นทางก่อนออกไป ปั่นจักรยาน กันก่อนครับ

ผมว่ามันเป็นการดีนะครับ หากเรารู้ว่า เส้นทางที่เราจะไปปั่นนั้น มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นอย่างไร มีความสูงชัน มากน้อยแค่ใหน ระยะทาง ระหว่างเชิงเขาถึงจุดหมาย มีระยะทางเท่าไหร่ เพราะเราจะได้เตรียมตัวได้ถูกครับ เช่น เตรียมจักรยานให้พร้อม ที่สำคัญระบบเบรค ครับ อย่าได้ลืมเช็คเป็นอันขาดครับ หากผ้าใบเบรคของเรา สภาพมันไม่น่าไว้วางใจ หรือเก่าเอามากๆ ผมแนะนำว่า ควรเปลี่ยนใหม่ครับคู่ละไม่กี่ตัง เมื่อเทียบกับ ความปลอดภัยแล้ว ส่วนตัวผมว่ามันคุ้มมากครับ เพราะความปลอดภัยนั้น มันหมายถึง ชีวิตของเราเอง และผู้ร่วมเดินทางกับเราด้วยครับ ลองนึกดูครับ หากเราเกิดอุบัติเหตุแล้วเพื่อนที่ปั่น จักรยาน ตามเรามาเขาหลบไม่ทัน จะเกิดอะไรขึ้น ผมไม่อยากนึกเลย เพราะเหตุการณ์นี้เคยเกิดกับผมมาแล้วครับ สมัยที่ผมยังเป็นนักกีฬาปั่น จักรยาน อยู่ สรุปแล้วก็ เจ็บด้วยกันทั้งคู่ครับ เพราะเพื่อนผมเขามือใหม่จริงๆ ครับ คือผม เป็นคนชักชวน เพื่อนคนนี้มาเข้าวงการ จักรยาน เองครับ แต่ผมก็ไม่ได้โกรธหรือ ต่อว่าเขานะครับ เพราะผมคิดว่ามันเป็นอุบัติเหตุ ใครก็ไม่อยากให้มันเกิดขึ้นครับ

ประเมินความสามารถของตัวเองว่า เพียงพอหรือไม่

อันนี้สามารถใช้ได้ทั้งก่อนออกไปปั่น จักรยาน และขณะที่เรากำลังปั่นอยู่ครับ ยกตัวอย่างเช่น เราไม่เคยปั่นจักรยานขึ้นเขา หรือปั่นระยะทางไกลๆ เลย แต่มีเพื่อนมาชวนไปปั่นจักรยานขึ้นดอยอินทนนท์ อย่างนี้เราสามารถปฏิเสธได้ครับ ไม่ต้องอายครับ บอกเขาไปเลยว่าเราไม่พร้อม (เปรียบเทียบซะเห็นภาพเลยใหมครับ!!) หรืออาจจะบอกไปว่า "ไว้คราวหน้าละกันนะเพื่อนเกลอ ให้เราฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อน แล้วเจอกัน!!" อะไรประมาณนี้ ก็ได้นะครับ อย่าเผลอเคลิ้มไปกับเขาหละ เหนื่อยแน่ๆ ครับแถมจะไม่สบายเอาด้วยนะครับ อันนี้อันตรายครับ

ต่อมานะครับ หากเรามีความพร้อม และตอบรับการออกทริปครั้งนี้แล้ว ตอนนี้ก็มาถึงตอนที่เรากำลังปั่นจักรยานขึ้นเขา ละครับ
  • ปั่นในเกียร์ที่เหมาะสม และใช้เกียร์ให้เป็นครับ คือ ใช้อัตราทดที่เราปั่น จักรยาน แล้วเรารู้สึกสบายที่สุด อันนี้ผมก็บอกแบบ ตรงตัวไม่ได้ครับ เพราะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของ แต่ละคนนั้น ไม่เท่ากัน แต่สำหรับตัวผมเองนะครับ ผมจะใช้จานหน้าเล็ก และเฟืองหลังประมาน 17 - 21 ครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชันของ ภูเขา หรือเนินที่เราขึ้นด้วยครับ
  • ท่าทางในการปั่น จักรยาน ขึ้นเขา อันนี้ผมว่ามันเป็นสไตล์ การปั่นของแต่ละคน นะครับว่าถนัดแบบใหนที่สุด โดยส่วนตัวแล้วผมชอบแบบนั่งปั่น (หรือภาษาในหมู่นักปั่นเขาจะเรียกการขึ้นเขาแบบนี้ว่า "นั่งกด" ครับ) ครับสูตรของผม คือ กด, ดึง, ดัน อธิบายง่ายครับ กด คือ เช่นเท้าซ้ายกดบรรได เท้าขวาก็ดึงบรรไดขึ้น ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยชอบลุกขึ้นโยกครับ เพราะว่าในความคิดของผมคิดว่า มันจะเสียแรงเยอะครับ ผมจะลุกขึ้นโยกก็ต่อเมื่อ ผมเมื่อยล้า และต้องการผ่อนคลาย หรือ ตอนที่ไกล้จะ สปรินเข้าเส้นชัย เท่านั้นครับ
  • การหายใจเราต้องฝึกหายใจให้ถูกต้องครับ ควรหายใจให้ลึกๆ ยาวๆ ครับจะช่วยได้เยอะครับ ผมเห็นจุดนี้เป็นจุดสำคัญมากครับ ไม่ว่าเราจะปั่น จักรยาน ทางเรียบ หรือขึ้นเขา การหายใจที่ถูกต้อง นั้นมีสำคัญมากครับ เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายของเราได้รับ ออกซิเจน อย่างเพียงพอ ซึ่งจะส่งผลทำให้ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้เราไม่เมื่อยล้า เร็วจนเกินไป ลองฝึกหายใจยาวๆ ลึกๆ ให้เป็นนิสัยดูครับ ผมรับรองว่า ท่านจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นครับ

ตอนนี้เรามาทราบถึง วิธีสำหรับการฝึกซ้อมปั่นจักรยานขึ้นเขากันบ้างครับ
  • ในกรณีที่ แถวบ้านท่านไม่มีภูเขา ให้ขึ้นครับ เราก็สามารถฝึกได้ตามท้องถนน ทางเรียบนี่แหละครับ โดยการปรับจานหน้า ไปใช้จานใหญ่ และใช้เฟืองหลังอันเล็กสุดครับ คือฝึกโดยการปั่นแบบเต็มที่ประมาน 1 - 2 นาที แล้วพัก ให้กล้ามเนื้อฟื้นตัว 3 - 5 นาที ทำแบบนี้ ซ้ำกัน 4 - 6 เซ็ทครับ โดยใช้อัตราทดเฟือง ดังที่กล่าวมาข้างต้นครับ ใน 1 อาทิตย์ ฝึกแบบนี้แค่ 2 ครั้งก็พอครับ
  • สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาใกล้ ภูเขา หรือแถวบ้านของท่าน มีภูเขาเยอะนั่นเองครับ สำหรับคนที่มีบ้านใกล้ภูเขาแล้ว ผมว่ามีความได้เปรียบครับ เพราะได้ฝึกขี่ จักรยาน แบบขึ้นเขาจริงๆ เพราะความรู้สึก และเหตุการณ์จริง นี้เองจึงทำให้มีการพานักกีฬาไปเก็บตัวฝึกซ้อม ตามสถานที่แข่งขันจริงก่อนการแข่งขัน จะเกิดขึ้น ซึ้งผมคิดว่ามันมีประโยชน์มาก และสร้างความได้เปรียบ ขึ้นอีกระดับหนึ่งครับ เพราะการที่เราได้ฝึกซ้อมจักรยานในสถานที่จริง จะทำให้เราได้รู้ถึงจุดต่างๆ ของภูมิประเทศ และสร้างความคุ้นเคยกับมัน ไม่น่าแปลกใจเลยนะครับ หากการแข่งขัน จักรยาน ทางไกลที่มีทางขึ้นเขาเยอะๆ ส่วนมากเจ้าถิ่นจะได้เปรียบครับ ส่วนการฝึกซ้อมนั้น ก็ฝึกปั่นขึ้นเขา แค่ อาทิตย์ละ 2 ครั้งก็พอครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องฝึกแค่อาทิตย์ละสองครั้ง ฝึกทุกวันไม่ได้หรือ คำตอบคือ ได้ครับ!! หากท่านต้องการเป็นเทพแห่งการขึ้นเขา อย่างเดียวโดยไม่ต้องการที่แข่งขัน จักรยาน ประเภททางเรียบ และจักรยานประเภทอื่นๆ เลย และอีกอย่างครับ ถ้าหากคิดว่าท่านไม่เบื่อเลยกับ การฝึกแบบขึ้นเขาทุกวัน อันนี้ก็ไม่มีใครสามารถ ห้ามท่านเทพได้ครับ (เอ!! วันนี้ออกแนวโหดไปหน่อยครับ!!)

สุดท้ายนี้ผมขอฝากคำขวัญ เล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ ชาวจักรยาน ทุกคนครับ

คือคำว่า "อีกนิดซิ" ส่วนมากผมจะใช้ตอนที่เหนื่อยมากๆ ครับ หรือตอนกำลังฝึกซ้อมหนักๆ หากเราเหนื่อยสุดๆ แล้วหรือ ไม่ใหวแล้ว นึกในใจเสมอว่า "อีกนิดซิ" คือ หมายความว่าให้เราอดทน "อีกนิดซิ" ตรงนี้ละครับ คือพัฒนาการที่ดีขึ้น ที่ท่านจะได้รับจาก การฝึกซ้อมจักรยานในแต่ละวัน ครับ นี่เป็นคำขวัญของ ผู้ฝึกซ้อมจักรยานให้แก่ผม คนแรกเลยนะครับ ผมเรียกท่านว่า อาจารย์เลยครับ แล้ววันหลังผมจะมาเล่าเรื่องสนุกๆ เกี่ยวกับการฝึกซ้อม จักรยาน กับอาจารย์คนแรก ของผมให้ฟังนะครับ อย่าลืมติดตามนะครับ มีอะไรดีๆ มากมายเลยครับ ขอบคุณครับ !!

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

จักรยานฟิกเกียร์ แข่งขันกันในกลุ่มเพื่อน

จักรยานฟิกเกียร์ แข่งขัน

    บทความนี้ ผมได้เขียนขึ้นมา เนื่องจาก ผมเข้าไปหาดูวีดีโอใน Youtube แล้วพอดีไปเจอ คลิปนี้ครับ มันเป็น การจัดการแข่งขัน จักรยานฟิกเกียร์ ของคนกลุ่มหนึ่ง ผมคิดว่าน่าจะเป็นการแข่งขันจักรยานแบบไม่เป็นทางการอะไร ในความคิดของผมนะครับ ผมคิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนๆ หรือ เป็น club ของคนที่ขี่จักรยานฟิกเกียร์ ด้วยกัน หลังจากที่ผมได้ดูจนจบแล้ว เลยอยากจะเอามาแบ่งให้ เพื่อนๆ พี่ๆ ได้ดูกันบ้างครับ ผมคิดว่าคนที่เขา จัดการแข่งขัน นี้ขึ้นมา จุดประสงค์ น่าจะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อนๆ ที่ขี่ จักรยานฟิกเกียร์ ด้วยกันเพื่อที่พวกเขาจะได้มาพบปะกัน และทำความรู้จักกันมากขึ้น มากกว่าเหตุผลทางธุรกิจ หรือหา ผลประโยชน์ ทางธุรกิจ เราลองมาดูกันครับว่าเขา แข่งขัน กันยังไง ครับ




    ช่วงระหว่างการแข่งขัน ผมว่าผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขัน คงมาเพื่อ ร่วมสนุก กันมากกว่า มาเพื่อแข่งขันกันเพื่อ ชัยชนะ ผมไม่ทราบว่าบ้านเรามี กลุ่มที่ขี่ จักรยานฟิกเกียร์ กลุ่มใหญ่ๆ บ้างหรือ เปล่า แต่ผมเคยเห็นมีเว็ปไซด์ ของกลุ่มที่ขี่จักรยานประเภทนี้ ด้วยครับ ผมว่ากลุ่มนี้น่าจะอยู่แถว ก.ม 8 ผมว่าน่าจะเป็นกลุ่มที่ขี่ จักรยานฟิกเกียร์ กลุ่มใหญ่พอสมควรเลยครับ ย้อนกลับมาเรื่อง การจัดการแข่งขันจักรยานประเภทนี้กันบ้างครับ ผมว่าบ้านเรา น่าจะทำได้ นะครับ แต่ใครจะเป็นคนเริ่มก่อนละครับ!? เป็นคำถามที่น่าคิดนะครับ

    ผมว่าจุดเริ่มต้นน่าจะ เริ่มจากการรวมกลุ่ม ของเพื่อนๆ ที่ขี่ จักรยานฟิกเกียร์ ด้วยกัน อาจจะนัดเจอกันในวันหยุด แล้วพากันขี่เที่ยวไปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง อาจจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยว ในท้องถิ่นของเรา อย่างผมอยู่ เชียงใหม่ ผมอาจจะพากลุ่มเพื่อนปั่นจักรยานเที่ยว ตามสถานที่ท่องเที่ยวที่ออกแนว ธรรมชาติ หน่อยๆ เพราะภาคเหนือ ส่วนใหญ่ ธรรมชาติ จะสวยงาม เช่น น้ำตก ต่างๆ หรืออาจจะ รวมกลุ่ม กันตอนเย็นๆ แล้วปั่นจักรยานเที่ยวตาม สวนสาธารณะ ต่างๆ หรืออาจร่วมกลุ่มกันเพื่อ เอารถสวยๆ มาแบ่งกันชม ผมว่า จักรยานฟิกเกียร์ แต่งสวยๆ บ้านเราก็มีเยอะไม่แพ้ ฟรั่งเหมือนกันนะครับ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: คาเดล อีแวนส์ คว้าแชมป์การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์ ปี 2011

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คาเดล อีแวนส์ คว้าแชมป์การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์ ปี 2011

คาเดล อีแวนส์ แชมป์การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์ ปี 2011

ในที่สุด คาเดล อีแวนส์ จากทีม บีเอ็มซี อายุ 34 ปีก็ทำได้สำเร็จ หลังจากที่พลาดการเป็นแชมป์ มาหลายปี โดยในปี 2011 เขากลายเป็นนักปั่น จักรยาน ชาวออสเตรเลียคนแรกที่สามารถชนะ การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ (Tour de France) โดยในการแข่งขันครั้งนี้เขาทำเวลาได้ 86 ชั่วโมง 12 นาที 22 วินาที และผู้ที่ได้อันดับ 2 คือ แอนดี้ Schleck จาก ลักเซมเบิร์ก โดยเขาทำเวลาได้ช้ากว่า อีแวนส์ 1 นาที 34 วินาที และผู้ที่ได้อับดับ 3 คือ แฟรงก์ Schleck ซึ่งเขาเป็นพี่ชายของ แอนดี้ Schleck

คาเดล อีแวนส์ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ สเตจ 18
โดยในการแข่งขันครั้งนี้ คาเดล อีแวนส์ ไม่ได้เป็นตัวเต็ง แต่อย่างใด ซึ่งเขาสามารถ ทำเวลาได้ดีในช่วงท้ายๆ ของรายการแข่งขัน ซึ่ง การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ (Tour de France) ปี 2011 นี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 98 แล้ว ซึ่งในปีนี้การแข่งขันได้เริ่มขึ้น ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2011 โดยมีจุดเริ่มต้นที่เมือง Passage du Gois และสิ้นสุดลงที่เมืองหลวงของ ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม ปี 2011 สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลอื่นๆ เจ้าแห่งภูเขาคือ ซามูเอล ซานเชส ชาวสเปน จากทีม Euskaltel - Euskadi และสุดยอดตัวสปริ้น ก็เป็นใครไปไม่ได้นั่นคือ จรวดทางเรียบ "มาร์ค คาเวนดิช" ชาวอังกฤษ จากทีม HTC ซึ่งถ้าเป็นทางเรียบ หรือสปริ้นหน้าเส้นชัย แล้วกินเขายากครับ เพราะฝีเท้าจัดเหลือเกิน

ต่อไปเรามากล่าวถึง ประวัติของผู้ซึ่งได้แชมป์ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ในปีนี้ 2011 นี้กันบ้างครับ

คาเดล อีแวนส์ เขาเกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 1977 เป็นนักปั่นจักรยาน อาชีพชาว ออสเตรเลีย สังกัดทีม "UCI ProTeam BMC" ในวัยเด็กเมื่ออายุได้ 7 ขวบ คาเดล อีแวนส์ เคยได้รับอุบัติเหตุจากการขี่ม้า และเขาต้องอยู่ในโรงพยาบาลด้วยอาการ โคม่าเป็นเวลานานถึง 7 วัน และต่อมาในปี 1986 พ่อและแม่ของเขาก็ได้ตัดสินใจแยกทางกัน ซึ่งเขาก็ได้ย้ายไปอยู่กับแม่ของเขาที่เมือง Armidale, รัฐ New South Wales โดยในช่วงวัยรุ่นเขาชอบเล่นกีฬา สเก็ตบอร์ด คาเดล อีแวนส์ ศึกษาที่โรงเรียนสาธารณะ (หรือ บ้านเราน่าจะเรียกว่าโรงเรียนของรัฐบาล) ใน Inverell, Eltham และโรงเรียนมัธยมปลายใน เมลเบิร์น

คาเดล อีแวนส์ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ สเตจ 20
คาเดล อีแวนส์ เริ่มต้นอาชีพการเป็น นักปั่นจักรยาน โดยเริ่มจากการแข่งขัน จักรยานเสือภูเขา (MTB) สังกัดทีมชาติ Australian Institute of Sport ภายใต้การควบคุมทีมของหัวหน้าโค้ช Heiko Salzwedel และ MTB โค้ช Damien Grundy ซึ่งผลงานของเขา คือได้รับรางวัลเหรียญเงินในปี 1997 และ 1999 และได้อับดับที่ 23 ในรายการแข่งขัน จักรยาน ชิงแชมป์โลก และเหรียญบรอนซ์ รายการชิงแชมป์โลกประเภทถนน ในปี 1995 รายการแข่งขันชิงแชมป์โลก Time Trial จูเนียร์ และการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก จูเนียร์ ประเภทจักรยานเสือภูเขา ก่อนที่จะหันไปขี่จักรยานประเภทถนนในปี 2001 อีแวนส์เป็น นักปั่นจักรยานเสือภูเขา สังกัดทีม Diamondback MTB ซึ่งบริษัท วอลโว่ เป็นเจ้าของทีม

ในช่วงฤดูร้อนของปี 2000 หลังจากปรึกษาหารือกับ Michele Ferrari ภายใต้การจัดการของ Tony Rominger คาเดล อีแวนส์ ตัดสินใจเปลี่ยนไปขี่ จักรยานประเภทถนน โดยได้เข้าสังกัดทีม Saeco (2001), Mapei (2002) และทีม Telekom (2003-2004) จากฤดูกาล 2005 เขาได้เข้าร่วมทีม ล็อตโต้ และได้อันดับที่ 8 ในรายการแข่งขันจักรยาน ตูร์ เดอ ฟรองซ์ เป็นครั้งแรกของเขาในฝรั่งเศส และเป็นนักปั่นจักรยาน คนแรกของประเทศออสเตรเลีย ที่ติดอับ 1 ใน 10 จากการแข่งขันรายการนี้ นับตั้งแต่ ฟิลเดอร์สัน เคยทำได้

ความสำเร็จใน การแข่งขันจักรยานรายการอื่นๆ ในช่วงระหว่างปี 2001 และ 2004 คือรายการทัวร์ของออสเตรียเขาได้อันดับที่ 14 ในปี 2002 รายการ Giro d'Italia เขาได้เป็นแชมป์ประเภท Time Trial ในปี 2002, ปี 2007 คาเดล อีแวนส์ เป็นนักปั่นจักรยาน คนแรกของออสเตรเลียที่ชนะรายการ UCI ProTour ซึ่งทำให้เขาได้กลายเป็นนักปั่นจักรยานคนแรกของ ออสเตรเลีย ที่ชนะ รายการนี้ เมื่อวันที่ 27 กันยายน ปี 2009 จากการแข่งขันจักรยาน ประเภทถนนชิงแชมป์โลก ซึ่งจัดขึ้นที่เมือง Mendrisio ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ชีวิตสมรส คาเดล อีแวนส์ ได้สมรสกับ Chiara Passerini, นักเปียโน และครูสอนดนตรี ชาวอิตาเลียน เขาได้รู้จักกันในปี 2002 และได้สมรสกันในปี 2005 คาเดล อีแวนส์ ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่บ้านของเขา ในออสเตรเลีย เมืองไกล้ริมทะเลของห่างจาก Barwon Heads, วิกตอเรีย, ประมาณ 100 กม. ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมลเบิร์น และยังคงทำการฝึกซ้อม จักรยาน อย่างมีวินัย เพราะเขารักในอาชีพการเป็นนักปั่นจักรยานของเขามาก


บทความที่น่าสนใจอื่นๆ : เคล็ดลับสำหรับการปั่น จักรยาน ทางไกลระยะทาง 100 กิโลเมตรขึ้นไป

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับสำหรับการปั่น จักรยาน ทางไกลระยะทาง 100 กิโลเมตรขึ้นไป

ปั่นจักรยานทางไกล

    สำหรับนักปั่นจักรยานหลายๆ คนการที่จะปั่นจักรยานให้ได้ระยะทาง 100 กิโลเมตร ขึ้นไปนั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยนะครับ ยกเว้นสำหรับผู้ที่เป็นนักกีฬาปั่นจักรยานอยู่แล้ว 100 ก.ม ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักกีฬา จักรยาน แล้วละก็การที่ปั่นจักรยานเป็นระยะทางไกลๆ 100 ก.ม ขึ้นไปนั้นถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้นะครับ แต่เราต้องมีการเตรียมตัวกันหน่อย ถือว่าไปปั่นจักรยานเที่ยวก็แล้วกันอย่าไปจริงจังกับเรื่องความเร็วให้มากนักครับเดี๋ยวจะปั่นไม่ครบ 100 ก.ม แถมกลับมาบ้านเราอาจจะไม่สบายได้ เพราะออกกำลังมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับใหว อันนี้สำคัญมากนะครับ และนี่ยังเป็นสาเหตุหลักๆ เลยที่ทำให้ผู้ที่ปั่นจักรยานเบื่อการปั่นจักรยาน และเลิกปั่นไปในที่สุด

    ยกตัวอย่างแบบง่ายนะครับ ถ้าคุณจะปั่นจักรยานระยะทางประมาณ 120 ก.ม โดยใช้ความเร็วประมาณ 20 - 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทริปนี้คุณจะใช่เวลาในการปั่นประมาณ 6 ชั่วโมง ขึ้นไป แต่ไม่น่าจะเกิน 8 ชั่วโมง นะครับเวลานี้เผื่อสำหรับการแวะทานอาหารเที่ยง และทำธุระต่างแล้ว แต่ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ เช่นเส้นทางที่เราจะไปปั่น เป็นทางเรียบ หรือว่ามีทางขึ้นเขา หากเส้นทางที่เราไปปั่นเป็นเขาเยอะๆ เราควรเผื่อเวลาไว้ด้วยครับเพราะความเร็วที่เราใช้ปั่นจะช้าลง ดังนั้นเราควรจะศึกษาเส้นทางกันก่อนแล้วจึงมาคำนวนเวลาในการปั่น แล้วจึงเตรียมตัวอีกทีครับ

เคล็ดลับการปั่นจักรยานให้ครบระยะทางที่เราตั้งเป้าหมายไว้

การเตรียมตัวก่อนออกไปปั่นจักรยาน
    คุณจะต้องคำนวนเวลาว่าวันนี้เราจะปั่นโดยใช้เวลาประมานกี่ชั่วโมง และกำหนดเวลาในการเริ่มต้นปั่นว่าเราจะออกไปปั่นเวลากี่โมง และจะกลับถึงที่พัก หรือบ้านเวลากี่โมง เอาแบบคล่าวๆ ครับไม่ต้องตรงเวลาเปะ แต่โดยส่วนตัวผมเอง ผมจะออกไปปั่นแต่เช้าหน่อยครับ เพราะจะเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วน 7 - 8 โมงเช้าเพราะการจราจร จะคับคั่งเกินไป

มันอยู่ที่ตัวเราว่าเราจะปั่นแบบไหน
การที่เราปั่นจักรยาน ระยะทางไกลๆ นั้นความเมื่อยล้านั้นเป็นของคู่กันอยู่แล้วครับ จงพักหากเราอยากจะพัก มันไม่ใช่เรื่องสำคัญเลยที่เราจะต้องนั้งบนอานจักรยานตลอด เช่นหากเราเห็นวิวทิวทัศน์สวยๆ ตามทางที่เราปั่นไป เราอาจจะแวะถ่ายรูปเก็บไว้ดู ภายหลัง จงอย่าเครียดนึกเสียว่าเป็นการไปเที่ยว

กินให้เยอะๆ
    ในระหว่างการปั่นจักรยานเราควรทานของว่าง หรือขนมไปด้วย และพยายามกินบ่อยมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ ซึ่งของว่างหรือ ขนมนั่นควรจะเป็นของที่ให้พลังงานสูงเพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้ร่างกายของคุณ หากคุณไม่ได้พลังงานที่เพียงพอแล้วละก็ ผลที่ตามมานั้น มันค่อนข้างจะหนักนะครับ ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของตัวผมเอง ตอนที่เริ่มปั่นจักรยานใหม่ๆ ตอนนั้นออกไปซ้อมกับรุ่นพี่คนหนึ่ง ระยะทางในการปั่นประมาน 150 ก.ม แถมยังเป็นทางที่เป็นเขาเยอะด้วยครับ ระหว่างทางผมไม่ค่อยได้ทานอะไร ยกเว้น พักทานข้าวเที่ยง และน้ำเปล่าอีก 2 ขวด เหตุเกิดตอนไกล้จะถึงบ้าน คือเหลืออีก ประมาณ 20 ก.ม จะถึงบ้านแล้วผมก็รู้สึก ว่าตัวเองไม่มีแรงขึ้นมาเฉยๆ คล้ายๆ กับรถเวลาน้ำมันหมดนั้นแหละครับ อาการคือ ตัวจะเย็นๆ และใจเราจะหวิวๆ หากปั่นต่อผมคงน็อคคา จักรยานแน่ ผมเลยบอกพี่เขาว่าเราใจหวิวๆ หมดแรง พี่เขาเลยรีบจอด และซื้อน้ำอัดลมให้ผมทาน และนั่งพักกันสักพัก แรงผมก็เริ่มกลับมาแบบน้อยๆ พอจะพาตัวเองกลับบ้านได้ หลังจากทริปนั้นเวลาผมออกไปปั่นระยะทางไกลอีก ผมพกขนมเพียบครับ ประเภทว่ากระเป๋าตุงกันเลยครับ เพราะเข็ดแล้วครับ

ดื่มน้ำเยอะๆ เข้าไว้
    น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เวลาปั่นจักรยาน ร่างกายของเราจะสูญเสียน้ำออกไป โดยเหงือของเรานั้นเองครับ การจิบน้ำบ่อยเวลาปั่นนั้นจึงควรทำให้เป็นนิสัย พอนานๆ ไปเราจะคล่องเองครับ วิธีทดสอบง่ายว่าร่างกายของเราได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ คือระหว่างทางเวลาเรา แวะ เบา หรือปัสสาวะ ให้สังเกตุสีของมันหากเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ควรชดเชยน้ำให้ร่างกายอย่างเพียงพอ โดยเวลาปั่นควรจิบน้ำให้ถี่ขึ้น

อาหารกลางวันอย่าลืมครับ
    แวะรับประทานอาหารเที่ยง ควรทานให้มากๆ และควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ไม่ต้องกลัวอ้วนครับ ทานเข้าไป ให้มากเท่าคุณจะทำได้ ผลดีของมันนั้นไม่ได้มีเฉพาะระหว่างปั่นจักรยาน แต่มันจะส่งผลดีต่อเนื่องไปจะถึง หลังจากที่เราปั่นจักรยาน เสร็จแล้วมันจะทำให้เราไม่รู้สึกอ่อนเพลียมากเกินไปจากการออกไปปั่นจักรยานไกลๆ  พอเราทานอาหารเสร็จเราควรนั่งพักให้อาหารย่อยบ้างสัก 30 นาที แล้วค่อยออกไปปั่นต่อครับ

ประสบการณ์จะได้รับจากช่วงปั่นกลับนี่แหละครับ
    เมื่อคุณเสร็จสิ้นการทานอาหารกลางวันแล้วก็ถึงเวลาสำหรับช่วงครึ่งหลังของการปั่นจักรยานทริปนี้แล้ว  ทุกอย่างจะค่อยๆ เข้ามาหา เช่นความอ่อนล้า ความปวดเมื่อย และอื่นๆ  แต่คุณต้อง ทนให้ได้ และคิดบวกเข้าไว้อย่าถอดใจโดยการโบกรถ สองแถว กลับบ้านนะครับ เพราะถ้าหากเราทำสำเร็จตามที่เราตั้งเป้าหมายไว้ ถือว่าเราได้ชนะใจตัวเอง แล้วเพราะมันยิ่งใหญ่กว่าเราชนะคนอื่นๆ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ : การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์

ตูร์เดอฟรองซ์

ประวัติการแข่งขันจักรยาน ตูร์เดอฟรองซ์

Henri Desgrange
Tour de France หรือ ตูร์เดอฟรองซ์ เป็นการแข่งขัน จักรยาน ทางไกลที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีการก่อตั้ง และจัดการแข่งขันขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ 1903 โดย Henri Desgrange และหนังสือพิมพ์ ออโต้แอล โดยจะมีการจัดการแข่งขันเป็นประจำทุกปีใน ประเทศฝรั่งเศส ประมานเดือน กรกฎาคม ในการแข่งขันจักรยานรายการนี้จะใช้ระยะทางรวมในการแข่งขันนั้นมากกว่า 3,000 กิโลเมตร โดยชาวฝรั่งเศสถือว่า การแข่งขันจักรยาน รายการนี้มีชื่อเสียงที่สุดในโลกรายการหนึ่ง โดยในปี 2009 มีสถานีโทรทัศน์กว่า 78 สถานี ซึ่งได้มีการถ่ายทอดการแข่งขัน ตูร์เดอฟรองซ์ ไปใน 170 ประเทศทั่วโลก

ความเป็นมาของการแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์

ในปลาย ศตวรรษที่สิบเก้า ในประเทศฝรั่งเศสการแข่งขันกีฬาจักรยานถือว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง โดยบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ชื่อ ปิแอร์ Giffard พวกเขาได้สนับสนุนทางด้านการเงิน, การโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ของพวกเขา ในปี 1900 ผ่านตัวแทนของพวกเขา โดยพวกเขาเลือก Henri Desgrange เพื่อสร้างหนังสือพิมพ์สำหรับรายงานการแข่งขันกีฬาจักรยาน ซึ่งมีชื่อว่า "L' Auto - VELO" โดย Henri Desgrange กับ หนังสือพิมพ์ดังกล่าว ได้เริ่มจัดการแข่งขัน จักรยานทางไกล ตูร์เดอฟรองซ์ ขึ้นเมื่อ วันที่ 19 มกราคม ค.ศ 1903 โดยประกาศว่าเราจะสร้างการแข่งขันจักรยาน "ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดขึ้น คือ ตูร์เดอฟรองซ์" โดยการแข่งขันได้เปิดตัวขึ้นในเดือน กรกฎาคม ในปีเดียวกัน ซึ่งส่งผลทำให้ยอดขายของหนังสือพิมพ์ ออโต้แอล เพิ่มขึ้นอย่างสูง และยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงทุกวันนี้


บทความอื่นๆ ที่ท่านอาจสนใจ : แนวทางการดัดแปลง จักรยาน เสือหมอบธรรมดาให้เป็น จักรยานฟิกเกียร์ แจ่มๆ

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการดัดแปลง จักรยาน เสือหมอบธรรมดา ให้เป็น จักรยานฟิกเกียร์ แจ่มๆ

จักรยานฟิกเกียร์

     รูปภาพข้างบนนี้คือ จักรยานฟิกเกียร์ แบบทั่วๆ ไปที่เราสามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่าย จักรยาน ทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันนี้ ร้านจำหน่าย จักรยาน แทบจะทุกร้าน จะมี จักรยานฟิกเกียร์ ไว้จำหน่าย เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ให้ความสนใจ จักรยาน ประเภทนี้เพิ่มขึ้น เพราะในปัจจุบันกลุ่มผู้ปั่น จักรยาน หันมาสนใจ จักรยาน ประเภทนี้กันมาก ครับ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กวัยรุ่น ผมเห็นขี่กันทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ราคาของเจ้า จักรยานฟิกเกียร์ นี้ก็ไม่ไช่ถูกๆ เลยครับ ราคายืนพื้นเบาะๆ ก็ตกราวๆ คันละ ประมาณ 7,000 - 10,000 กว่าบาท จนไปถึงระดับขั้นเทพ ก็เหยียบๆ แสนกันเลยครับ วัยรุ่นหลายคนที่กำลังศึกษาอยู่ และมีทุนทรัพย์น้อยก็ อดเท่กันไปครับ เพราะถ้าเป็น จักรยาน ธรรมดาๆ คัน 3 - 4 พันบาท ก็ยังพอใหวแต่นี่ราคาเกือบๆ หมื่น ซึ่งน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ คงต้องเก็บเงินค่าขนมกัน นานพอสมควรกว่าจะได้ มาขี่ซักกคัน

     วันนี้ ผมเลยจะมา แนะนำ แนวทางการดัดแปลง จักรยานเสือหมอบ ธรรมดาๆ เก่าๆให้เป็น จักรยานฟิกเกียร์ สวยๆ ไว้ขี่เล่นกันครับ น้องๆ บางคนอาจมี จักรยานเสือหมอบ เก่าๆ อยู่ที่บ้าน อาจจะยังใช้ได้อยู่หรือ ไม่ได้ใช้แล้วก็ตามครับ อย่าทิ้งนะครับ เพราะเราสามารถ นำมันมาดัดแปลงให้เป็น ฟิกเกียร์ แจ่มๆ ไว้ขี่เล่นได้ครับ และที่สำคัญ ต้นทุนต่ำอีกต่างหาก เวลาเราเบื่อแล้วก็ไม่ต้องเสียดายเงินด้วย ข้อดีก็มีเยอะมากเลย งั้นเรามาดู จักรยานฟิกเกียร์ ที่ทำการดัดแปลงมาจาก จักรยานเสือหมอบ กันเลยนะครับ โดยดูจากรูปข้างล่างครับ

ฟิกเกียร์ แปลง

จากภาพข้างบน ผมจะทำลูกศร ตรงจุดที่แตกต่างระหว่าง จักรยานเสือหมอบ กับ จักรยานฟิกเกียร์ ไว้ จริงๆ แล้วมันเยอะกว่านี้ครับ แต่เอาตรงที่จุดที่ มีความแตกต่าง กันอย่างชัดเจนจริงๆ ครับ
  1. คือจุด สำหรับใส่ สายเบรค สำหรับ จักรยานฟิกเกียร์ แล้วจะไม่มีครับ
  2. คือ จุดที่ติดตั้งกล้ามเบรค ถ้าเป็นเฟรม ฟิกเกียร์ จริงๆ แล้วจะไม่มีครับ แต่ที่ในปัจจุบันเฟรมจักรยานประเภทนี้จะมีรูให้ ติดตั้งเบรค ด้วย ผมว่าเขาคงคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ตามท้องถนนมากกว่า ติดไว้ก็ดีนะครับ ปลอดภัยไว้ก่อน
  3. คือ จานหน้าครับ รถจักรยานฟิกเกียร์ จะมีใบจานแค่อันเดียว ส่วนเสือหมอบจะมี 2 ใบ
  4. คือ จุดยึดล้อหลัง สำหรับเฟรมของ จักรยานเสือหมอบ หรือภาษาชาวบ้านเรียก "หางปลา" จะใส่โดยการคล้องแล้วดึงมาด้านหลัง ส่วน ของ ฟิกเกียร์ จะใส่จากด้านหลังแล้วดันไปข้างหน้าครับ
  5. คือ ดุมหลังนั่นเองครับ คือจุดที่เราต้องเปลี่ยนครับ สังเกตุดูว่าถ้าเป็นดุมของ จักรยานเสือหมอบ จะไม่สามารถ ใส่เฟืองหลังของฟิกเกียร์ได้ครับ
ส่วนที่เราต้องดัดแปลง

ดุมล้อ ฟิกเกียร์
ตรงจุดนี้ เรียกว่าดุมล้อครับ เราจะทำการเปลี่ยนเฉพาะดุมหลังเท่านั้นครับ เพราะดุมหน้าใช้ของเดิมได้ โดยการเปลี่ยนจาก ดุมของเดิมมาเป็นดุมของ จักรยานฟิกเกียร์ แต่เวลาเราไปซื้อ ดุมเราควร นับจำนวน ซี่ลวดของล้อเราด้วยนะครับ ว่ามีกี่ซี่ โดยทั่วไปแล้วจะมี 32 ซี่ ครับ แต่ถ้าเป็นรุ่นเก่าจริงๆ จะมี 36 ซี่ หากของเรามี 36 ซี่ ผมแนะนำใช้ ดุมของรถจักรยาน BMX แทนได้ครับ เพราะ BMX ส่วนมากจะมี 36 ซี่ ผมแนะนำถ้าใคร ขึ้นซี่ลวดล้อเองไม่เป็น ให้ร้าน จักรยาน ทำให้นะครับ จะดีกว่า โดยส่วนตัวแล้วผมจะทำเอง เพราะไม่ใว้ใจร้านที่ ทำ เพราะให้เขาทำทีไรเขาจะขึ้นซี่ลวดให้เราตึงเกินไป ข้อเสีย คือ เวลาขี่ไปนานๆ ซี่ลวดอาจขาดได้ครับ และที่สำคัญหากขาดแล้ว ล้อรถเราจะคดมากกว่าปรกติ และไม่สามารถขี่กลับบ้านได้ ต้องยกรถขึ้นสองแถวอย่างเดียว ผมเจอมาแล้วครับ ตอนนั้นทำเองไม่เป็น เลยเข้า-ออกร้าน จักรยาน บ่อยมากจนผมลำคาญ เลยฝึกทำเอง ให้มันรู้แล้วรู้รอดไป หลังจากทำเองแล้วซี่รถ ผมไม่เคยขาดอีกเลย "ขอออกตัวก่อนนะครับ ผมไม่ใช่ระดับเซียนนะครับแค่พอทำได้ครับ"

ชุดจาน จักรยานฟิกเกียร์
ตรงจุดนี้ เราเรียกว่า จานหน้า ครับของ จักรยานฟิกเกียร์ จะมีใบจานแค่ใบเดียวครับ ส่วนของเสือหมอบจะมี 2 ใบ คือใบใหญ่ ก็ตรงจุด A นั้นแหละครับ ส่วนใบเล็กก็จุด B ครับ หากเราจะทำเป็นจานฟิกเกียร์ ก็ถอดใบใหญ่เก็บไว้ แล้วเอาใบเล็กมาใส่แทนใบใหญ่ ครับไม่ยากครับ ลองทำดูครับ หรือให้เพื่อนที่พอมีความรู้ทางด้านนี้ทำให้ แล้วเลี้ยงกาแฟ เขาสักแก้วคงพอใหวนะครับ ถ้ารักกันจริง ถ้าหากเปลี่ยนแล้ว หากไปลองปั่นแล้ว รู้สึกเบาเกินไป คือเวลาปั่นแล้วปั่นซะ ซอยยิกๆ เราควรเปลี่ยนเฟื่องหลังให้เล็กลง ให้เหลือซักประมาน 12 - 13 ฟันน่าจะพอครับ แต่ถ้าจานหน้าเป็นของเสือหมอบรุ่นเก่าๆ ใบเล็กจะมี 42 ฟันครับ แต่ถ้าเป็นจานรุ่นใหม่ จะมีแค่ 39 ฟันครับ ถ้าของเพื่อนๆ เป็นจานรุ่นเก่าที่มี 42 ฟันก็ใช้เฟื่องหลัง ประมาณ 15 - 16 ฟันน่าจะพอปั่นแบบสบายๆ ไม่หนักจนเกินไปครับ

จุดที่เราไม่ต้องดัดแปลง

เฟรม จักรยาน
จุดนี้ โดยทั่วไปเขาเรียกว่า หางปลา ครับเราไม่ต้องไปทำอะไรกับมันครับ ผมเอามาลงให้ดูเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จักรยาน ทั้งสองประเภทครับ แต่ผมเคยเห็น บางคนไปตัด หางปลาของเสือหมอบ ออกแล้วทำการเชื่อมหางปลาของ จักรยาน BMX เข้าไปแทน โดยส่วนตัวแล้วผมไม่แนะนำครับ เพราะความแข็งแรงเฟรมจะลดลง ยิ่งถ้าหากร้านที่ทำฝีมือไม่ถึงแล้ว ปัญหาจะตามมาอีกเยอะครับ ผมแนะนำใช้แบบเดิมนั่นแหละครับ ดีแล้ว ไม่งั้นผมคิดว่ามันจะไม่ คลาสสิค ผมคิดเองนะครับ

ส่วนรูปข้างล่างเป็น จักรยานฟิกเกียร์ ที่ดัดแปลงมาจาก จักรยานเสือหมอบ แต่ละคันสวยๆ ทั้งนั้นครับผมหามาให้ชมเพื่อที่เพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการตกแต่ง จักรยาน ของตนเองได้ครับ

ฟิกเกียร์
คันนี้ก็อย่างสวยครับจะเห็นได้ เขายังใช้จานหน้าของ เสือหมอบ อยู่ครับใหญ่เชียว คงหนักน่าดูเวลาปั่น แต่ก็สวยครับ

จักรยานฟิกเกียร์ ดัดแปลง
อีกคันที่ดัดแปลงมาได้สวยครับ แต่จานหน้าของเขาใช้ของ จักรยานฟิกเกียร์ จริงๆ  ล้อของเขายังเป็นแบบ 36 ซี่อยู่ครับซึ่งเราสามารถ นำดุมล้อของ จักรยาน BMX มาใส่แทนได้ครับ

ฟิกเกียร์ แปลงแล้ว
คันนี้ก็ทำได้สวยอีกคันหนึ่งครับ แต่เบาะน่าจะแพงอยู่ครับ

ฟิกเกียร์ จักรยานสวย
คันนี้คนขี่คงสูงน่าดูผมว่าน่า 190 ซ.ม ขึ้นนะครับ สังเกตุจากเฟรมแล้วไม่น่าพลาด เพื่อนๆ สังเกตุตรงแฮนครับ เขาตัดเอาของเสือหมอบธรรมดา นี่แหละครับมาใส่ ช่างสร้างสรรค์จริง งานก็เนียนดีครับ

ฟิกเกียร์ คลาสสิค
คันนี้เขาแต่งแนวคลาสสิค ครับแต่ก็ดูดีมีสกุล ครับตามแบบฉบับ Vintage

    หลังจากดูรูป ที่ทางผมนำมาฝากแล้ว หวังว่าเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ หลายคนคงมีแนวทางในการแต่งรถ จักรยานฟิกเกียร์ ของตนเองบ้างนะครับ ส่วนรายละเอียดลึกๆ ในการดัดแปลงวันหลังผมจะนำเสนอเป็นจุดๆ แบบเจาะลึกกันเลยครับ ยังไงก็ขอขอบคุณ ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชม นะครับ!!

บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ : นักปั่นจักรยาน 10 อันดับแรกที่มีคะแนน สูงสุด ปี 2011

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นักปั่นจักรยาน 10 อันดับแรกที่มีคะแนน สูงสุด ปี 2011

     บทความนี้เรามาดูกันว่า นักปั่นจักรยาน ที่สามารถทำคะแนนสะสมได้สูงสุด 10 อันดับแรก ในปี 2011 กันครับ ว่าอันดับมีการเปลี่ยนแปลงกันยังไงบ้างเรามาเริ่มกันเลยครับ
Joaquin Rodriguez Oliver
  • อับดับ ที่ 1 คือ Joaquin Rodriguez Oliver
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว สเปน
  • เกิดวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ 1979
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Katusha
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 944 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 216

Alberto Contador Velasco
  • อับดับ ที่ 2 คือ Alberto Contador Velasco
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว สเปน
  • เกิดวันที่ 6 ธันวาคม 1982
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Saxo Bank
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 975 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 129

Gilbert
  • อับดับ ที่ 3 คือ Philippe Gilbert
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว เบลเยี่ยม
  • เกิดวันที่ 5 กรกฎาคม 1982
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Omega Pharma
  • คะแนนที่เขาทำได้ในปีนี้ 940 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 191

Scarponi
  • อับดับ ที่ 4 คือ Michele Scarponi
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว อิตาลี
  • เกิดวันที่ 25 กันยายน 1979
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Lampre
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 926 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 499

nibali
  • อับดับ ที่ 5 คือ Vincenzo Nibali
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว อิตาลี
  • เกิดวันที่ 14 พฤศจิกายน 1984
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Liquigas
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 780 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 353

Vinokourov
  • อับดับ ที่ 6 คือ Alexandre Vinokourov
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว คาซัคสถาน
  • เกิดวันที่ 16 กันยายน 1973
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Astana
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 751 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 69

Evans
  • อับดับ ที่ 7 คือ Cadel Evans
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว ออสเตรเลีย
  • เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1977
  • ปัจจุบันสังกัดทีม BMC
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 739 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 71

Samuel Gonzalez
  • อับดับ ที่ 8 คือ Samuel Sanchez Gonzalez
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว สเปน
  • เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1978
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Euskaltel
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 710 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 125

Cunego
  • อับดับ ที่ 9 คือ Damiano Cunego
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว อิตาลี
  • เกิดวันที่ 19 กันยายน 1981
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Lampre
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 669 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 94

Joaquin Rojas Gil
  • อับดับ ที่ 10 คือ Jose Joaquin Rojas Gil
  • เป็น นักปั่นจักรยานชาว สเปน
  • เกิดวันที่ 8 มิถุนายน 1985
  • ปัจจุบันสังกัดทีม Movistar
  • คะแนนที่ทำได้ในปีนี้ 664 คะแนน
  • อันดับโลกเขาอยู่ทีอันดับ 657

     วันหลังผมจะนำประวัติของนักปั่นจักรยานแต่ละคนมาฝากนะครับ ยังไงก็ค่อยติดตาม นะครับ สำหรับวันนี้ ขอจบบทความนี้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ง่วงนอนแล้วครับ ตี 4 ครึ่งพอดี ขอบคุณทกท่านที่แวะมา ครับ

บทความที่ท่านอาจสนใจก่อนหน้านี้ : ทำไมนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่จึงต้องโกนขนหน้าแข้ง

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทำไมนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่จึงต้องโกนขนหน้าแข้ง

cyclist legs

    หลายคนคงเคยเห็นนักปั่นจักรยานทั่วไปส่วนใหญ่เวลาเรามองที่ขาของพวกเขา เราอาจสงสัยว่าเขาทำไมไม่มีขนหน้าแข้ง ผมเองก็เป็นคนหนึ่งครับที่เคยโกนขนหน้าแข็ง ตอนสมัยที่ผมยังแข่งขันจักรยานอยู่โดยไม่ไม่รู้เลยว่า ทำไมเราต้องโกนมันออกด้วย ผมเคยถามพวกพี่ๆ ที่ฝึกซ้อมด้วยกัน พวกเขาก็ตอบว่า "ทำให้ลู่ลมบ้าง ทำให้ง่ายต่อการนวดขาบ้าง" แต่ผมก็ไม่ได้สนใจอะไรเห็นพวกพี่เขาโกนผมก็โกนตามเขาด้วย โดยผมรู้สึกว่าถ้าโกนขนหน้าแข้งตามพวกพี่เขาเราก็จะได้ดูเป็นมืออาชีพขึ้นบ้างครับนึกแล้วก็ ตลกเหมือนกันครับ แต่อันที่จริงแล้วการโกนขนหน้าแข้ง และขาของนักปั่นจักรยานนั้น จากการที่ผมได้ไปหาอ่านตามเว็บไซต์ และบทความตามนิตยสารต่างๆ แล้วจึงได้รู้ว่ามันมีประโยชน์กับเราชาวนักปั่นจักรยานอยู่ไม่น้อยเลยครับ ไม่เพียงแต่โกนตามแฟชั่น หรือโกนตามเพื่อนไปให้ดูกลมกลืน เท่านั้นเหตุผลก็มีดังนี้ครับ

โกนขนหน้าแข้ง แล้วมีประโยชน์ยังไง

  • เพื่อให้ง่ายต่อการนวดคลายกล้ามเนื้อ อันนี้เป็นความจริงครับโดยส่วนใหญ่แล้วนักปั่นจักรยานส่วนใหญ่มักจะนวดคลายกล้ามเนื้อขาของตนด้วย แป้งซึ่งแป้งในที่นี้ก็คือแป้งที่เราใช้ทาตัวหลังอาบน้ำนั่นแหละครับยี่ห้ออะไรก็ได้ ผมก็นวดด้วยแป้งเช่นกันครับ ลองนึกดูนะครับถ้าเราไม่โกนขนหน้าแข้งออกเวลาเรานวดมันจะเจ็บ เพราะราวกับว่าเราดึงขนหน้าแข้งของตนเองทุกวันแต่พอเราโกนมันออกแล้ว ลื่นเลยครับนวดได้อย่างคล่องตัว แต่หากเป็นสุภาพสตรี อาจไม่ประสบกับปัญหานี้เพราะผู้หญิงโดยส่วนมากจะไม่มีขนหน้าแข้งครับ
  • ทำให้ง่ายต่อการรักษาความสะอาด เพราะเวลาเราปั่นจักรยานตามท้องถนนนั้นจะมีฝุ่น และสิ่งสกปรกมากมายเช่น ฝุ่น, คราบน้ำมัน เป็นต้น หากเรามีขาที่ปราศจากขนแล้ว มันจะทำให้ขาของเรายากต่อการที่พวกฝุ่น และควันต่างๆ จะมาเกาะ และยังมีประโยชน์มากหาก เพื่อนๆ เป็นนักปั่นจักรยานเสื่อภูเขา เพราะเวลาเพื่อนๆ ปั่นไปในเส้นทางที่ค้อนข้างรก หรือปั่นไปในป่าแล้วอาจจะเจอหนามของต้นไม้เกี่ยวขนหน้าแข้งทำให้เราบาดเจ็บได้ ซึ้งถ้าหากเราโกนขนหน้าแข้งออกแล้ว หนาม หรือกิ่งไม้จึงไม่สามารถเกี่ยวขนเราได้ครับ
  • ง่ายต่อการรักษาบาดแผลเวลาเราเกิดอุบัติเหตุ จากการปั่นจักรยาน เพราะแผลถลอกที่เกิดจากการล้มเวลาเราปั่นจักรยานนั้นหากจะทำให้หายเร็วนั้นเราต้องหมั่นรักษาความสะอาด และใส่ยาทุกวัน ซึ่งในเรื่องนี้ผมมีประสบการณ์มาแล้วครับสมัยที่ยังปั่นจักรยานอยู่ หากเราไม่รักษาความสะอาดของแผลเป็นประจำ จะทำให้แผลนั้นหายช้ามากเราจึงต้องล้างแผล และทายาทุกวันครับจึงจะทำให้แผลหายเร็วขึ้น
เพื่อนๆ คงได้ทราบประโยชน์จากการที่เราโกนขนหน้าแข้งกันบ้างแล้วนะครับ คราวนี้ก็อยู่ที่เพื่อนๆ แล้วละครับ ว่าจะโกนมันออกหรือเปล่า หากเพื่อนๆ ต้องการที่ปั่นจักรยานแบบจริงๆ จังๆ ผมว่าโกนออกก็ดีครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เส้นทางปั่นจักรยาน เชียงใหม่

เส้นทางปั่นจักรยาน เชียงใหม่
    วันนี้ผมจะมาแนะนำเส้นทางในการปั่นจักรยาน ในจังหวัดเชียงใหม่ครับ โดยเส้นทางนี้ถ้าหากเป็นคนในพื้นที่หรือ ชาวเชียงใหม่แล้วส่วนมากจะเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นคนต่างจังหวัดอาจจะไม่ค่อยรู้เส้นทางเท่าใหล่นะครับ โดยถนนสายนี้เป็นถนนที่จะเดินทางไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั่นเองครับ ซึ่งจะเป็นทางหลวงหมายเลข "1001" ครับถ้าดูตามแผนที่ทั่วไป โดยลักษณะเส้นทางช่วง 2 กิโลเมตรแรก จะเป็นถนนคอนกรีต หลังจากนั้นจะเป็นถนนลาดยางมะตอย ตลอดเลยครับ โดยเส้นทางนี้ผมจะใช้ขี่จักรยานออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว เหตุผลคือ การจราจรไม่คับคั่ง และส่วนมากจะเป็นถนนลาดยางมะตอย ทำให้ขี่ได้นิ่มนวล และที่สำคัญไม่เปลืองยางรถ ของเราด้วยครับ คือทำให้เราสามารถยืดอายุการใช้งานของยางรถจักรยานของเราได้มากเลยถ้าหากเรา ขี่จักรยานบนเส้นทางที่ลาดยางมะตอย

    โดยทางด้านความปลอดภัยแล้วเส้นทางนี้ผมถือว่าใช้ได้เลยนะครับ เพราะใหล่ทางค้อนข้างกว้าง คือประมาณ 2 เมตรเห็นจะได้ และเรียบมากครับ ไม่ค่อยมีรถจอดตามไหล่ทางให้เกะกะมาก ทางแยกต่างๆ ก็มีไม่เยอะ สามารถทำความเร็วได้ต่อเนื่องไม่ต้องมาสะดุด กับทางแยกต่างๆ โดยระยะทางเริ่มจากสามแยกแม่โจ้ ไปจนถึง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้นประมาน สิบกว่ากิโลเมตร และนี่ก็ถือเป็นอีกเส้นทางหนึ่งเอาไว้เป็นทางเลือกในการปั่นจักรยาน ของเพื่อนๆ ได้นะครับ หรือถ้าหากใครมาเที่ยวเชียงใหม่แล้วอยากปั่นจักรยานออกกำลังกาย หรือว่าท่องเที่ยวแล้วละก็ ผมว่าเส้นทางนี้ก็นะจะเป็นทางเลือกสำหรับเพื่อนๆ ชาวจักรยานได้บ้างนะครับ

หมายเหตุ รูปแผนที่ที่ผมนำมาลงให้ดูนั้นสามารถกดดูภาพใหญ่ได้นะครับ ลองดูนะครับเผื่อว่าท่านอยากจะไปปั่นจักรยานบนถนนเส้นนี้บ้าง ถ้าเจอกันก็โบกมือทักท่ายได้ครับ ขอบคุณครับ

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผลของการนอนหลับที่มีต่อนักกีฬา จักรยาน

การนอน

    หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ที่ว่า เมื่อคืนนอนน้อยแล้วรุ่งเช้าต้องตื่นไปทำงาน, ไปเรียน หรือต้องออกไปปั่นจักรยานยิ่งถ้าเราไปเที่ยว หรือไปดื่มกับเพื่อนๆ ด้วยแล้วละก็ แทบจะไม่อยากลุกจากที่นอนกันเลยครับนี่แค่เราตื่นไปทำงาน หรือไปเรียนตามปรกตินะครับ ยิ่งถ้าหากเราเป็นนักกีฬาแล้วละก็ มันจะส่งผลต่อการฝึกซ้อมอย่างมากเลยครับ ดังนั้นในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงความสำคัญของการพักผ่อนด้วยการนอนหลับ และเทคนิคการนอนหลับสำหรับนักกีฬาทั่วไป และนักปั่นจักรยาน ครับระหว่างที่เรานอนหลับนั้นร่างกายของเราจะเริ่มทำการฟื้นฟู หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกู้คืน ทำให้ร่างกายของเรากลับเข้าสู่สภาวะปกติ และในระหว่างนี้ร่างกายเราจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอไปด้วยทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง และทำให้สุขภาพดี งั้นเรามาทราบวิธีกันเลยดีกว่าครับ

เคล็ดลับ และเวลาในการนอนสำหรับนักกีฬาอาชีพ

  • จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบัน พบว่าร่างกายของคนเราจะทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอ หรือกู้คืนร่างกายจากความอ่อนล้านั้นจะเกฺิดขึ้นช่วง 2 ชั่วโมงแรกของการนอนหลับ ดังนั้นจึงมีความพยายามแบ่งการนอน ของนักกีฬาอาชีพ, นักปั่นจักรยาน ให้เป็นการงีบกระจายไปตลอดทั้งวัน อาจจะงีบช่วงบ่ายหลังจากรับประทานอาหารเสร็จซัก 1 ชั่วโมง แต่ไม่ใช่ว่าทานเสร็จแล้วนอนเลยนะครับ ต้องรอให้อาหารย่อยก่อนซัก 1 ชั่วโมงแล้วค่อยงีบ ส่วนเวลาในการงีบหลับนั้น ควรอยู่ระหว่าง 20 - 30 นาที่ก็พอครับ
  • ในการนอนหลับของคุณแต่ละครั้งนั้น ควรนอนหลับในช่วงเวลา 10:00 - 02:00 น. และเวลาที่เราไม่ควรนอนหลับจะเป็นช่วงเวลา 06:00 - 08:00 น. เพราะร่างกายของเราธรรมชาติได้สร้างมาให้เราตื่นนอนในช่วงเวลานี้
  • อย่านอนหลับให้มากเกินไป เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนหลับในแต่ละครั้งคือ 7-8 ชั่วโมง สำหรับในการนอนตามปรกติ, ส่วนการงีบนั้นควรใช้เวลาประมาน 20-30 นาที ในช่วงช่วงบ่ายประมาน 13:00-15:00 น.
  • ควรมีขวดน้ำวางใว้ข้างเตียงเสมอ เพราะในช่วงที่คุณนอนหลับตามปรกติในช่วงกลางดึกคุณอาจจะต้องตื่นไปเข้าห้องน้ำ แต่พอคุณทำธุระส่วนตัวเสร็จก่อนกลับไปนอนคุณควรดื่มน้ำที่วางอยู่ข้างเตียงเข้าไปเล็กน้อย เพื่อเวลาคุณตื่นนอนตอนเช้าคุณจะได้รู้สึกสดชื่น และยังมีผลดีต่อสุขภาพด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประวัตินักปั่นจักรยาน ชื่อ Fabian Cancellara

Fabion

    Fabian Cancellara เกิดวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1981 ปัจจุบันเขาอายุได้ 30 ปี ชื่อเล่นของเขาคือ "Spartacus"  Fabian เป็นชาว สวิทเซอร์แลนด์ หลายคนคงเคยรู้จักเขาคนนี้ ในฐานะนักปั่น จักรยาน ประเภท Time Trial ที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดในโลก ในขณะนี้ งั้นเรามารู้จักชีวิตในวัยเด็กของเขาก่อนนะครับ Fabian เกิดใน หมู่บ้าน "Wohlen bei Bern" ใกล้ๆ กับเมือง เบิร์น เขาเริ่มรู้จัก จักรยาน เมื่อเขาอายุได้ 13 ปี และเขามีพรสวรรค์ เป็นพิเศษ ในการปั่นจักรยานประเภท "Time Trial" ด้วยความมีใจรัก บวกกับ ความเหมาะสมทางด้านสรีระร่างกายของเขาที่เอื้อต่อการ ปั่นจักรยานประเภทนี้ ทำให้เขาประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย โดยการที่เขาได้แชมป์โลกการแข่งขัน จักรยาน Time Trial ประเภทเยาวชน ในปี ค.ศ. 1998, 1999, และในปี 2000 หลังจากที่เขาได้ผันตัวเองไปเป็นนักปั่นจักรยานอาชีพสังกัดทีม "Mapei Quick Step" ด้วยวัยเพียง 19 ปี ต่อมาในปี 2003 เขาก็สิ้นสุดสัญญากับทีม และได้เข้าร่วมกับทีมใหม่ คือ "Fassa Bortolo" ในปีเดียวกัน ความสามารถอันโดดเด่นในการปั่น จักรยาน แบบ TT ทำให้เขาได้รับความนิยมจากผู้ชมมาก ในหลายรายการทัวร์ ซึ้งส่งผลกับจำนวนผู้ชมของแต่ละรายการทัวร์ที่เขาได้เข้าร่วมการแข่งขัน รวมถึงสปอนเซอร์ และผู้ให้การสนับสนุน รายการแข่งขันต่างๆ

    โดยในปี 2010 เขาได้ถูกกล่าวหาว่า เขาได้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการปั่น จักรยาน ที่ปรากฎในคลิปวีดีโอ ของ Youtube แต่จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคการตัดต่อภาพแล้ว สรุปว่าวีดีโอ ได้ถูกดัดแปลงขึ้นจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อตัวเขา ต่อมาในปีล่าสุด เขาได้รับฉายาว่าเป็น "Superman" อันเนื่องมาจากในการปั่น จักรยาน ด้วยความสามารถที่พิเศษ และเหนือกว่าคนอื่นๆ ในการปั่นจักรยานแบบ "Time Trial"

ผลงานที่โดดเด่นของ Fabian Cancellara คือ

World Time Trial Champion ในปี ค.ศ. 2006, 2007, 2009, 2010
Olympic Time Trial Champion ค.ศ. 2008
National Time Trial Champion ค.ศ. 2002, 2004, 2005, 2006, 2007, 2008
Tour de France ( 7 สเตจ)
Paris Roubaix ปี 2006, 2010
Milan San Remo ปี 2008

โดยปัจจุบันปี 2011 Fabion Cancellara อยู่สังกัดทีม "Leopard Trek"

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

การปรับแต่งจักรยานให้เหมาะสมกับผู้ขี่

Bike fit

    การปรับแต่ง จักรยาน ให้เหมาะสมกับตัวเรานั้น ถ้าเราปรับตั้งถูกวิธีมันสามารถช่วยให้เราขี่ จักรยาน คันโปรดของเราได้สบายขึ้น ไม่มีอาการปวดเมื่อยจากการขี่จักรยานมารบกวน แต่ก่อนอื่นนั้นเราต้องเลือกไซด์ จักรยาน ให้เหมาะสมกับตัวเราก่อนครับ ซึ่งผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับการเลือกไซด์จักรยานไว้ก่อนหน้านี้แล้วครับ พอเราได้จักรยานมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ให้เราทำการปรับตั้ง อุปกรณ์ต่างๆ ตามที่ผมกำลังจะแนะนำได้เลยครับ

1. ให้เราขึ้นไปนั่งขี่บนรถของเราแล้วหมุนขาจานให้ทำมุม 90 องศา กับพื้น โดยขาของเราจะต้องทำมุมอยู่ระหว่าง 10 - 20 องศา จึงจะถือว่าเหมาะสม





 2. ให้เราหมุนขาจานให้ทำมุมระนาบกับพื้นแล้วนำลูกดิ่งมาทำการวัดโดยให้ลูกดิ่งเริ่มจากสะบ้าหัวเข่าเราตามรูป แล้วดิ่งลงไปให้เส้นด้ายลงไปที่กึ่งกลางของลูกบรรไดพอดีนะครับ ตามรูปเลยครับแน่นอนถ้าลูกดิ่งไม่ลงตรงกึ่งกลางบรรไดให้เราทำการปรับเบาะนั่งเลื่อนไปข้างหน้า หรือ ข้างหลัง จนกว่าลูกดิ่งลงตรงกึ่งกลางบรรไดพอดี ครับ








3. ให้ลำตัวของเราทำมุม 45 องศา โดยเราต้องจับที่มือเบรคนะครับเวลาเราวัดทางที่ดีควรมีเพื่อนมาช่วยวัดจะดีมากครับจะได้ชัว







4. พอลำตัวเราทำมุม 45 องศาแล้ว ให้เรามองไปที่ดุมล้อหน้าของเรา ที่สำคัญในการที่เรามองลงไปนั้นดุมล้อจะต้องตรงกับ คอแฮนด์ หรือ สเตม พอดีนะครับ ตามรูปเลยครับ อย่างง่ายครับ






    การปรับแต่ง จักรยาน ที่ผมมานำเสนอนี้เป็นเพียงการปรับแต่งแบบ พื้นฐานนะครับ แต่จริงๆ มันมีการปรับแต่งที่มากกว่านี้ เช่น สำหรับแข่งขันนั้น มันก็แล้วแต่สนามหรือ ภูมิประเทศด้วยครับ อย่างทางขึ้นเขาเยอะๆ การปรับตั้งก็จะแตกต่างกันออกไป หรือ รายการไหนเป็นทางเรียบซะเป็นส่วนใหญ่ ก็จะปรับตั้งกันอีกแบบครับ เอาไว้วันหลังผมจะ เจาะลงไปสำหรับการปรับตั้ง จักรยาน สำหรับการแข่งขันแต่ละประเภท มาให้ทุก คนนะครับ ขอบคุณครับวันหลังเจอกันใหม่นะครับ!!

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาการปวดเมื่อยจากการขี่ จักรยาน และวิธีแก้ไข

bike fit

    หลายคนคงเคยประสบปัญหาว่าเวลาปั่น จักรยาน ไปนานๆ แล้วรู้สึกปวดหลัง, ปวดคอ, ปวดไหล่ และปวดส่วนอื่นๆ ของร่างกายเวลาปั่น จักรยาน ไม่ใช่อาการปวดแบบเรื้อรัง แค่เราพัก หรือนวดแล้วอาการเหล่านี้ก็จะหายไป แต่พอกลับไปปั่นจักรยานอีกอาการปวดเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นอีก อาการเหล่านี้ นั้นอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เราหยุดปั่นเป็นเวลานานๆ แล้วกลับมาปั่นอีกอาการเหล่านี้ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากเราปั่น จักรยาน มานานแล้วยังมีอาการปวดเหล่านี้อีกก็แสดงว่าเกิดสิ่งผิดปรกติขึ้น และสิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวต่อไปนี้ คือสิ่งผิดปรกติที่เกิดจากการปรับขนาด หรือระยะของอุปกรณ์ จักรยาน ไม่ถูกต้องเช่น เบาะอาจจะปรับไปข้างหน้า หรือหลังมากเกินไป, คอแฮนด์ หรือสเตมอาจจะสั้นหรือยาวเกินไปเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของอาการปวดเมื่อยทั้งสิ้น ดังนั้นเรามาดูกันว่าอาการปวดเมื่อยของร่างกายแต่ละอย่างนั้นสาเหตุเกิดจากอะไร และเราจะมีวิธีการแก้ไขเบื่องต้นอย่างไรครับ

อาการ

สาเหตุ

วิธีแก้ไข

เวลาปั่นคุณมักจะต้องเขยิบตัวไปข้างหลังบ่อยครั้ง

คอแฮนด์ หรือสเตมยาวเกินไป, องศาของเบาะนั่งก้มลงมากเกินไป

เปลี่ยนคอแฮนด์ให้สั้นลง, ปรับองศาเบาะนั่งให้เงยขึ้นเล็กน้อย

เวลาปั่นคุณมักจะต้องเขยิบตัวไป
ข้างหน้าบ่อยครั้ง
คอแฮนด์ หรือสเตมสั้นเกินไป, เบาะนั่งถูกปรับไปข้างหลังมากเกินไป

เปลี่ยนคอแฮนด์ให้ยาวขึ้น, ปรับเบาะนั่งไปข้างหน้าตามความเหมาะสม

อาการปวดหลังส่วนล่าง

คอแฮนด์ หรือสเตมต่ำเกินไป, เบาะนั่งสูงเกินไป

ปรับคอแฮนด์ขึ้น, ปรับเบาะนั่งลงตามความเหมาะสม

ปวดต้นคอเวลาปั่น

ปรับตั้งคอแฮนด์ต่ำเกินไป

ปรับคอแฮนด์ให้สูงขึ้น ตามความเหมาะสม

ปวดมือ, เจ็บมือ

คอแฮนด์ต่ำเกินไปทำให้น้ำหนักตัวไปตกอยู่ตรงส่วนหน้ามากเกินไปส่งผลถึงมือของเราต้องรับน้ำหนักมากไปด้วยจึงทำให้ปวดมือ

ปรับตั้งคอแฮนด์ให้สูงขึ้นตามความเหมาะ
สม

ปวดหัวเข่าด้านหน้า

เบาะนั้งต่ำเกินไป

ปรับเบาะนั่งให้สูงขึ้นอย่างเหมาะสม

ปวดหัวเข่าด้านหลัง

เบาะนั่งสูงเกินไป

ปรับเบาะนั่งให้ต่ำลงตามสมควร

รู้สึกก้นชาตลอดเวลาการปั่น

น้ำหนักตัวส่วนใหญ่ลงมาที่เบาะนั่งมากเกินไป

ปรับคอแฮนด์ให้ต่ำลง หรือปรับเบาะนั่งให้สูงขึ้นแล้วแต่ความเหมาะสม

รุ้สึกร้อนที่เท้า หรือปวดร้อนเท้าเวลาปั่น

รองเท้าปั่นคับเกินไป,
คลิปล็อคบรรไดถูกปรับไปข้างหน้ารองเท้ามากเกินไป

หารองเท้า จักรยาน คู่ใหม่ที่ใหญ่
กว่าเท้าเรา 1 เบอร์ เช่น เท้าเปล่าเราเบอร์ 40 ให้หารองเท้าเบอร์ 41 หรือ 41 ครึ่ง , ปรับคลิปล็อคบรรไดให้ถอยมาข้างหลังอย่างเหมาะสม

ปวดเอ็นร้อยหวาย

ในการปั่นคุณลงน้ำหนักไปที่นิ้วเท้ามากเกินไป หรือคุณปรับคลิปล็อคบรรไดไปข้างหน้ามากเกินไป

ปรับคลิปล็อคบรรไดถอยกลับมาตามความเหมาะสม



หมายเหตุ ในการปรับระยะของอุปกรณ์ควรปรับที่ละน้อยๆ เช่น ปรับทีละ 1-2 ม.ม แล้วออกไปปั่นฝึกซ้อมจักรยานตามปรกติแล้วสังเกตุอาการปวดของเราว่ามันบรรเทาลง หรือไม่ หากยังไม่หายให้กลับมาปรับเพิ่ม หรือลดจนกว่าอาการปวดของเราจะหายไปเวลาเราปั่น ควรใจเย็นๆ นะครับเพราะมันอาจต้องใช้เวลาในการปรับหลายวันพอเราได้ขนาดที่เหมาะสมกับตัวเราแล้ว เราควรจดขนาดต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวเราใส่กระดาษไว้เพราะหากวันหลังเราเปลี่ยน จักรยาน คันใหม่เราจะได้นำข้อมูลส่วนตัวของเราไปปรับใช้กับ จักรยาน คันใหม่ได้เลยไม่ต้องเสียเวลามาลองผิดลองถูกอีกครับ ขอบคุณทุกคนครับ

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

การฝึกซ้อมจักรยาน สำหรับผู้เริ่มต้น

training bike

    สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกซ้อม จักรยาน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรผมได้ไปหาข้อมูลมาฝากแก่ผู้ที่มีความสนใจ หรือต้องการที่จะเริ่มต้นฝึกซ้อม โดยโปรแกรมที่ผมจะมานำเสนอนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะเริ่มต้นจริงๆ เพราะมันเป็นโปรแกรมที่ไม่หนักมากเกินไป เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก โดยการปั่น จักรยาน ก็สามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ได้นะครับ โดยโปรแกรมนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน สำหรับผู้ที่เป็นนักปั่นระดับอาชีพ หรือผู้ที่เคยฝึกซ้อมเป็นประจำแต่ห่างหายจากการฝึกซ้อมไปเป็นเวลานานๆ และต้องการจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ก็สามารถนำไปใช้ได้ไม่ว่ากันครับโดยตัวโปรแกรมการฝึกซ้อม จะแบ่งเป็น 4 สัปดาห์ นะครับมาดูกันเลยครับ

สัปดาห์ที่ 1

วันจันทร์

30 นาที

ปั่น จักรยาน เบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพ หลังจากนั้นปั่นด้วยรอบขา 100 rpm 30 วินาทีจำนวน 10 set ระหว่าง set พัก 1 นาที พอครบ ก็ cooldown 5 นาที ก่อนหยุดการซ้อม

วันอังคาร

30 นาที

ปั่นเบาๆ 30 นาที โดยระหว่างการปั่นควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm

วันพุธ

48 นาที

ปั่นเบาๆ 15 นาทีเป็นการวอมอัพจากนั้นปั่นด้วยรอบขา 55 - 65 rpm 4 นาที จำนวน 4 set ระหว่าง set พัก 3 นาที พอครบ 4 set ก็ cooldown 5 นาที ก็เป็นอันจบ

วันพฤหัสบดี 30 นาที

ปั่นเบาๆ 30 นาที โดยระหว่างการปั่น จักรยาน ควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm
วันศุกร์

วันพัก

อาจจะไปเดินเล่น หรือว่ายน้ำก็ได้ครับ

วันเสาร์

30 นาที

ปั่นเบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพโดยวันนี้จะปั่น จักรยาน ด้วยขาข้างเดียว ถ้าใครมี เทรนเนอร์จะดีมากครับ เริ่มด้วยข้างใหนก่อนก็ได้ครับ โดยขาข้างหนึ่งให้เหยีบบเก้าอี้ใว้แล้ว ข้างที่ปั่นให้ปั่นไป 1 นาที พอครบก็สลับขาอีกข้างปั่นทำไปให้ครบข้างละ 5 set พอครับก็ cooldown 10 นาที การฝึกแบบนี้จะช่วยเรื่องการใช้กล้ามเนื้อของขาอย่างมีประสิทธิภาพครับ และทำให้เราปั่นได้นิ่งมากครับ

วันอาทิตย์

45 นาที

วันออกไปปั่น จักรยาน ไกลๆ หน่อยปั่นตามใจเลยครับโดยใช้เวลา 45 - 75 นาที



สัปดาห์ที่ 2

วันจันทร์ 38 นาที

ปั่นเบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพแล้วปั่นด้วยรอบขา 100 rpm 30 วินาทีจำนวน 15 set ระหว่าง set พัก 1 นาที พอครบ ก็ cooldown 5 นาที ก่อนหยุดการซ้อม
วันอังคาร 40 นาที

ปั่นเบาๆ 40 นาที โดยระหว่างการปั่นควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm
วันพุธ 52 นาที

ปั่นเบาๆ 15 นาทีเป็นการวอมอัพจากนั้นปั่นด้วยรอบขา 55 - 65 rpm 5 นาที จำนวน 4 set ระหว่าง set พัก 3 นาที พอครบ 4 set ก็ cooldown 5 นาที ก็เป็นอันจบ
วันพฤหัสบดี 30 นาที

ปั่นเบาๆ 30 นาที โดยระหว่างการปั่น จักรยาน ควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm
วันศุกร์ วันพัก

อาจจะไปเดินเล่น หรือว่ายน้ำก็ได้ครับ
วันเสาร์ 35 นาที

ปั่นเบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพโดยวันนี้จะปั่นด้วยขาข้างเดียว ถ้าใครมี เทรนเนอร์จะดีมากครับเริ่มด้วยข้างใหนก่อนก็ได้ครับ โดยขาข้างหนึ่งให้เหยีบบเก้าอี้ใว้แล้วข้างที่ปั่น จักรยาน ให้ปั่นไป 1 นาที พอครบก็สลับขาอีกข้างปั่นทำไปให้ครบข้างละ 7 set พอครับก็ cooldown 10 นาที
วันอาทิตย์ 55 นาที

วันออกไปปั่นไกลๆ หน่อยปั่นตามใจเลยครับโดยใช้เวลา 55 - 75 นาที


สัปดาห์ที่ 3

วันจันทร์ 33 นาที

ปั่นเบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพแล้วปั่นด้วยรอบขา 105 rpm 45 วินาทีจำนวน 10 set ระหว่าง set พัก 1 นาทีพอครบ ก็ cooldown 5 นาที ก่อนหยุดการซ้อม
วันอังคาร 40 นาที

ปั่นเบาๆ 40 นาที โดยระหว่างการปั่น จักรยาน ควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm
วันพุธ 56 นาที

ปั่นเบาๆ 15 นาทีเป็นการวอมอัพจากนั้นปั่นด้วยรอบขา 55 - 65 rpm 6 นาที จำนวน 4 set ระหว่าง set พัก 3 นาที พอครบ 4 set ก็ cooldown 5 นาที ก็เป็นอันจบ
วันพฤหัสบดี 40 นาที

ปั่นเบาๆ 40 นาทีโดยระหว่างการปั่นควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm
วันศุกร์ วันพัก

อาจจะไปเดินเล่น หรือว่ายน้ำก็ได้ครับ
วันเสาร์ 35 นาที

ปั่น จักรยาน เบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพโดยวันนี้จะปั่นด้วยขาข้างเดียว ถ้าใครมี เทรนเนอร์จะดีมากครับเริ่มด้วยข้างใหนก่อนก็ได้ครับ โดยขาข้างหนึ่งให้เหยีบบเก้าอี้ใว้แล้วข้างที่ปั่นให้ปั่นไป 1 นาที พอครบก็สลับขาอีกข้างปั่นทำไปให้ครบข้างละ 7 set พอครับก็ cooldown 10 นาที
วันอาทิตย์ 60 นาที

วันออกไปปั่นไกลๆ หน่อยปั่นตามใจเลยครับโดยใช้เวลา 60 - 80 นาที


สัปดาห์ที่ 4

วันจันทร์ 36 นาที

ปั่นเบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพแล้วปั่น จักรยาน ด้วยรอบขา 105 rpm 45 วินาทีจำนวน 12 set ระหว่าง set พัก 1 นาทีพอครบ ก็ cooldown 5 นาที ก่อนหยุดการซ้อม
วันอังคาร 45 นาที

ปั่นเบาๆ 45 นาที โดยระหว่างการปั่นควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm
วันพุธ 60 นาที

ปั่นเบาๆ 15 นาทีเป็นการวอมอัพจากนั้นปั่นด้วยรอบขา 55 - 65 rpm 7 นาที จำนวน 4 set ระหว่าง set พัก 3 นาที พอครบ 4 set ก็ cooldown 5 นาที ก็เป็นอันจบ
วันพฤหัสบดี 40 นาที

ปั่นเบาๆ 40 นาที โดยระหว่างการปั่นควรรักษารอบขาไว้ที่ ประมาณ 85 - 95 rpm
วันศุกร์ วันพัก

อาจจะไปเดินเล่น หรือว่ายน้ำก็ได้ครับ
วันเสาร์ 35 นาที

ปั่นเบาๆ 10 นาทีเป็นการวอมอัพโดยวันนี้จะปั่นด้วยขาข้างเดียว ถ้าใครมี เทรนเนอร์จะดีมากครับเริ่มด้วยข้างใหนก่อนก็ได้ครับ โดยขาข้างหนึ่งให้เหยีบบเก้าอี้ใว้แล้วข้างที่ปั่นให้ปั่นไป 1 นาที พอครบก็สลับขาอีกข้างปั่นทำไปให้ครบข้างละ 7 set พอครับก็ cooldown 10 นาที
วันอาทิตย์ 70 นาที

วันนี้ออกไปปั่น จักรยาน ไกลๆ หน่อยปั่นตามใจเลยครับช้าบ้างเร็วบ้างสลับกันไป โดยใช้เวลาประมาณ 70 - 85 นาที

    จะเห็นได้ว่าตารางการฝึกซ้อมข้างต้นไม่หนักเลยนะครับเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เริ่มต้น หรือผู้ที่หยุดปั่น จักรยาน ไปเป็นเวลานานๆ แล้วต้องการกลับมาปั่น จักรยาน ใหม่อีกครั้ง หรืออาจจะเป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการเขาโปรแกรมฝึกซ้อมแบบเข้มข้นต่อไปครับ โดยจริงๆ แล้วยังมีโปรแกรมการบริหารร่างกายหลังจากปั่นจักรยานอีกนะครับไว้วันหลังผมจะนำมาฝากอีกนะครับ ขอบคุณมากครับ

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัตินักปั่นจักรยาน ชื่อ Jacques Anquetil

ประวัตินักปั่นจักรยาน

   Jacques Anquetil เกิด วันที่ 1 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1934, และเขาได้เสียชีวิตลงใน วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ 1987, เขาเป็นนักปั่น จักรยาน ชาวฝรั่งเศส และที่สำคัญเป็นนักปั่นชาวฝรั่งเศสคนแรกที่สามารถชนะรายการ Tour de France ถึง 5 ครั้ง โดยเขาสามารถทำได้สำเร็จในปี ค.ศ 1957 และ ค.ศ 1961 - 1964 โดยเขามีความสามารถที่โดดเด่นมากก็คือ การปั่น จักรยาน แบบ "Time Trial" จนเขาได้รับฉายาว่า "Monsieur Chrono"

   ในวัยเด็กเมื่อเขาอายุได้ 17 ปี เขาได้รับใบอนุญาติแข่งขัน จักรยาน ครั้งแรกใน วันที่ 2 ธันวาคม 1950 และในเวลาต่อมา Anquetil ก็ได้ให้โค้ชชื่อ "Boucher" ช่วยแนะนำในการฝึกซ้อม ซึ่งทำให้ Anquetil มีพัฒนาการในการฝึกซ้อมคืบหน้าอย่างรวดเร็ว และได้ชัยชนะถึง 16 ครั้งในการเป็นนักปั่นสมัครเล่น โดยชัยชนะครั้งแรกในชีวิตของเขาคือ การแข่งขันรายการ "Prix Maurice Latour" ซึ่งจัดขึ้นที่เมือง "Rouen" ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 เขายังได้แชมป์ โดยต่อมาเขายังสามารถชนะ รายการ "Prix de France" ในปี ค.ศ 1952 และ "Tour de la Manche" และรายการแข่งขัน จักรยาน ถนนชิงแชมป์แห่งชาติในปีเดียวกัน Anquetil ได้ขี่ให้ทีมชาติฝรั่งเศสในการแข่งขันประเภทไทม์ไทรอัล 100 กิโลเมตร ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปี ค.ศ 1952 ในกรุงเฮลซิงกิ และในการแข่งขันดังกล่าวเขาได้รับแค่ เหรียญทองแดง แอนดรู Boucher ประทับใจกับความสำเร็จของลูกทีมของเขามาก จึงเสนอชื่อ Anquetil ให้ ฟรานซิส Pelissier ซึ่งเป็นผู้จัดการทีม จักรยาน ที่ส่งทีมเข้าแข่งขันในรายการ ทัวร์ เดอะฟรอง และต่อมา ฟรานซิส ได้เรียก Anquetil มาเข้าเป็นสมาชิกทีม โดยทางทีมเสนอค่าตอบแทนให้เขาเป็นจำนวนเงิน 30,000 ฟรังซ์ต่อเดือนโดยการเป็นนักปั่นจักรยานอิสระ หรือกึ่งมืออาชีพ และ Anquetil ก็ตอบรับที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของทีมตามข้อเสนอที่เขาได้รับ ต่อมาในปี ค.ศ 1957, Anquetil ก็ได้รับชัยชนะ รายการ ทัวร์ De France ครั้งแรกในฐานะนักปั่น จักรยาน ทีมชาติฝรั่งเศส โดยเขายังคงปั่นให้ทีมชาติเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าการขี่ให้ทีมต้นสังกัด โดยตลอดชีวิตการเป็นนักปั่น จักรยาน เขาได้ทำผลงานที่โดดเด่นมาก ดังต่อไปนี้
  • Tour de France (1957, 1961, 1962, 1963, 1964)
  • Giro d'ltalia (1960, 1964)
  • Vuelta a Espaha (1963)
  • Super Prestige Pernod lnternational(1961, 1963, 1965, 1966}
  • Grand Prix des Nations (1953, 1954, 1955, 1956, 1957, 195S, 1961, 1965, 1966)
  • Gent Wevelgem (1964)
  • Liege Bastogne Liege (1966)
  • World hour record (1956)

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาเท่าไหร่ถึงจะดี

Pedalling Frequence

    เมื่อ แลนซ์ อาร์มสตรอง ชนะการแข่งขัน จักรยาน ในรายการ ทัวร์เดอะฟรอง ในปี ค.ศ 1999 เขาได้โชว์ ให้เราๆ ท่านๆ เห็นว่า การปั่นด้วยรอบขาที่สูง หรือที่เรารู้จักกันใน คำว่า RPM นั้น สามารถช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แม้ในสเตทที่มีเส้นทางขึ้นภูเขาสูง มากๆ โดยการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้นข้อดีคือ มันสามารถ สลายกรดแลคติกที่สะสมอยู่ในขาของเราได้เร็วขึ้น ซึ่งเจ้ากรดตัวนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ กล้ามเนื้อของเราเกิดความอ่อนล้า และเจ็บปวด แต่การที่จะปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่สูงเป็นเวลานานๆ ได้นั้น นักกีฬาผู้นั้นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก และเข้มข้น และมีวินัยอย่างยาวนานซึ่งอาจจะใช้เวลานานหลายปี เพื่อที่จะให้ตัวนักกีฬาผู้นั้นสามารถรักษาระดับการปั่นด้วยรอบขาที่สูงเป็นเวลานานๆ ได้

การปั่นจักรยานด้วยรอบขาเท่าไหล่ถึงจะดีที่สุด
    ในความคิดของผมแล้ว การเปลี่ยนลักษณะเฉพาะตัวของสไตล์การขี่ จักรยาน หรือการเปลี่ยนระดับรอบขาในการปั่นนั้นทำได้ยาก และต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนสไตล์ของตัวเองนานมาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ครับเช่นเราถนัดเขียนหนังสือมือขวา ต่อมา จะให้เราเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย ก็คล้ายกันกับประเด็นนี้ครับ การปรับตัวเองเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการขี่ จักรยาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับรอบขาหรือ ลักษณะท่าทางการขี่นั้นข้อนข้างทำได้ยาก แต่กระนั้น ผมก็ได้พยายามที่จะปรับบางส่วนของผม เพื่อที่จะทำให้ผมปั่นด้วยรอบขาที่สูงขึ้น โดยมีความเชื่อที่ว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้นสามารถที่จะช่วยให้เราประหยัดพลังงานในการขี่ จักรยาน ในรายการแข่งขันต่างๆได้

    สรุปแล้วจนขณะนี้ผมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสไตล์ การปั่นจักรยานด้วยรอบขาที่สูงได้มากนัก โดยสามารถเปลี่ยนได้เล็กน้อยจากเดิม เราเคยปั่นด้วยรอบขา 70 รอบต่อนาที ดังนั้นเราอาจจะเพื่มขึ้นได้เป็น 0-5 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับการฝึกซ้อมของเราว่ามีประสิทธิภาพมากแค่ใหน และในความคิดส่วนตัวของผม เห็นว่าการปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่ สูงนั้น มักจะทำให้เรานั้นเหนื่อยเร็วขึ้น ผมว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูงนั้น เหมาะสำหรับ นักปั่นจักรยานประเภท ลู่ มากกว่าสำหรับ นักปั่นจักรยาน ประเภทถนน ผมคิดว่าควรใช้รอบขาแบบปานกลางจะดีกว่าการปั่นด้วยรอบขาที่สูง เพราะถ้าท่านสังเกตุนักปั่นจักรยานที่อยู่ในระดับโลก หลายคนจะปั่นด้วยรอบขาที่ไม่ค่อยสูงมาก สังเกตุจากการแข่งขันจักรยานรายการต่างๆ เช่น ทัวร์เดอะฟรองโดยนักปั่นสวนใหญ่จะใช้รอบขาปานกลาง คือ ประมาณ 75-85 รอบต่อนาที แต่อัตราทดเกียร์จะหนักพอสมควร ซึ่งขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาของนักปั่นแต่ละคน

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปั่นด้วยรอบขาปานกลางจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ซึ่งจะทำให้เรารักษา ระดับอัตราการเต้นของหัวใจ หรือค่า HR ได้ดีกว่าการปั่น จักรยาน ด้วยรอบขาที่สูงยิ่งรอบขาสูงจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงไปด้วย ฉะนั้น การปั่นด้วยรอบขาที่สูงขึ้นควรใช้ ในตอนที่เรารู้สึก ปวด หรือล้ากล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อจะรู้สึกผ่อนคลายและยังช่วยสลายกรดเลคติกที่อยู่ในกล้ามเนื้อให้สลายไปได้เร็วขึ้นอีกด้วย ขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัตินักปั่น จักรยาน ชื่อ Bernard Hinault

Bernard Hinault

    Bernard Hinault เกิดวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ 1954 ปัจจุบันเขาอายุได้ 56 ปี เป็นชาวฝรั่งเศส เบอร์นาร์ด เป็น 1 ใน 5 นักปั่นจักรยานที่สามารถชนะ 3 รายการแกรนด์ทัวร์หลักที่ใหญ่ๆได้ครบหมด โดยเขาสามารถชนะรายการ ทัวร์เดอะฟรอง ถึง 5 สมัย รายการ Giro d' Italia 3 สมัย และ รายการ Vuelta Espana 2 สมัย เบอร์นาร์ด ได้ชื่อว่าเป็นนักปั่นจักรยานที่มีความ เด็ดขาดตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วในการที่จะทำให้ตัวเองได้ชัยชนะมาครอง และเขาจะไม่ปล่อยโอกาสที่เปิดให้สำหรับเขานั้นหลุดลอยไปเฉยๆ

    เบอร์นาร์ด เริ่มการเป็นนักปั่นจักรยานอาชีพในปี ค.ศ 1974 โดยเริ่มแรกเขาได้เข้าสังกัดทีม The Gitane ในอีกสองปีต่อมา โดยในปี ค.ศ 1978 เขาก็สามารถประสบความสำเร็จโดย ชนะรายการ ทัวร์เดอะฟรองเป็นครั้งแรก ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการและ ตลอดอาชีพการเป็นนักปั่นของเขาเขาได้ทำผลงานไว้มากมาย โดยสามารถชนะรายการ หลักๆ ได้ยกตัวอย่าง เช่น
  • Tour de France (1978, 1979, 1981, 1982, 1985)
  • Giro d'Italia (1980, 1982, 1985)
  • Vuelta a Espana (1978, 1983)
  • การแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (1980)
    โดยหลังจากที่เขา เกษียณจากการเป็นนักปั่นจักรยานอาชีพเขาได้ร่วมทำงานให้กับ ผู้จักการแข่งขันรายการ แข่งขันทัวร์เดอะฟรอง และ ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ผลิตอะไหล่จักรยาน อย่างเช่นบริษัท LOOK ที่ผลิตบรรไดจักรยานสวยๆ มาให้เราได้ใช้กันในทุกวันนี้ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภาษา จักรยาน ที่ท่านคุ้นเคย

การฝึกซ้อมจักรยาน

    คำศัพท์ หรือภาษาที่ผมคิดว่าทุกท่านน่าจะคุ้นหูกันพอสมควร และที่ผมจะมานำเสนอนี้ เป็นศัพท์ที่ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง ถ้าหากท่านได้ไปปั่น จักรยาน กับกลุ่มเพื่อนๆ หรือปั่นกับกลุ่มอื่นๆ หรือชมรมที่มีแต่คนแรงๆ แต่ผู้ที่เข้ามาในวงการ จักรยาน ใหม่ๆ หรืออาจเรียกว่า มือใหม่นั้นอาจจะยังไม่เคยได้ยินหรือไม่คุ้นหูเท่าไหล่ แต่พอท่านปั่นไปนานๆ ก็จะรู้เองว่าศัพท์ที่ผมนำมา แบ่งปันนั้นเขาใช้กันจริงๆ นะครับ อาจจะพูดในใจ หรือพูดกันในหมู่เพื่อนที่ร่วมปั่นด้วยกัน ทั้งต่อหน้า และลับหลัง หรือที่เขาเรียกว่า นินทาลับหลังนั่นแหละครับ งั้นเรามารู้จักศัพท์ต่างๆ กันเลยครับ

  • "หลุด" คำนี้นักปั่นจักรยานไม่ว่า มือเก๋า หรือมือใหม่ต้องคุ้นเคยกับคำ คำนี้เป็นอย่างดี ยิ่งถ้าเป็นเด็กใหม่ หรือ ผู้ที่ไม่ค่อยได้ซ้อมบ่อยๆ แล้วละก็คำนี้มันชั่งเป็นคำที่ทุกท่านไม่ชอบเลย ยิ่งถ้าไปเจอพวกเพื่อนๆ ที่แรงๆ แล้วแทบไม่อยากออกไปขี่ด้วยเลย ลักษณะ ที่สำคัญของคำว่า "หลุด" คือ เราปั่นไปพร้อมกับกลุ่มไปได้สักพัก พอเพื่อนในกลุ่มแร่งความเร็วในการปั่นจักรยานขึ่นไปเลื่อยๆ จนไปถึงความเร็วที่เราไม่สามารถทนอยู่ได้ แล้วเราก็เลยหลุดออกจากกลุ่มแล้วมองกลุ่มที่กำลังปั่นด้วยความเร็วสูงค่อยๆ หายไป ทีละน้อยๆ ต่อหน้าต่อตามันชั่งเป็นคำที่บาดใจเสียเหลือเกิน ดังนั้นเราควรกลับมาซ้อม หรือเตรียมพร้อมตัวเองให้ดีกว่าเดิม เพื่อกลับไปขี่จะได้ไม่หลุดจากกลุ่มนั่นเอง นี่คือวิธีแก้ไขครับ
  • "จี้" คำนี้หลายท่านคงชอบนะครับ มันไม่ได้หมายถึงการไป จี้ หรือ ไปปล้นใครนะครับ ที่ถูกต้องแล้วมัน หมายถึงการที่ขี่ตามเพื่อนนักปั่นแบบไกล้ๆ ยิ่งไกล้เท่าไหล่เรายิ่งเสียแรงในการปั่นจักรยานน้อยลงเท่านั้น เพราะผู้ที่ขี่อยู่ข้างหน้าเราจะเป็นตัวที่บังลม หรืออากาศไม่ให้มาประทะกับเราทำให้เรา ใช้แรงในการปั่นน้อยลง ยิ่งเวลาระหว่างการแข่งขันด้วยแล้ว การจี้ จะถูกนำมาใช้กันมาก แต่เวลาทำการฝึกซ้อมเราไม่ควร จี้ ให้มากนักนะครับ นอกจากเราจะไม่แข็งแกร่งขึ้นแล้ว เรายังจะเป็นที่รังเกียจของเพื่อนๆ ที่ร่วมซ้อมกับเราเพราะเราไปกินแรงเขามากเกินไป แต่ถ้าเรามีเหตุผลในการจี้อย่างเดียวก็ควร อธิบายให้เพื่อนในกลุ่มได้รู้ก่อนออกไปฝึกซ้อม ได้จะดีมากครับ เพื่อนๆ จะได้เข้าใจ และไม่คิดกับเราในด้านลบ
  • "เฆี่ยน" คำนี้ในวงการจักรยานนั้นหมายถึง นักปั่นจักรยานที่มีความฟิตมากๆ ไปขี่กับนักปั่นคนอื่นๆ แล้วตัวเองขี่ด้วยความเร็วสูงมากๆเพื่อหวังว่าคนอื่น หรือนักปั่นคนอื่นจะหลุด จากการที่ตัวเองขี่ด้วยความเร็วสูง อันที่จริงแล้วตามมารยาทในการฝึกซ้อมไม่ควรใช้ครับ การเฆี่ยน ควรใช้ในการแข่งขันมากกว่า ถ้าท่านแรงจริงควรไปเจอกันในระหว่างแข่งขันไม่ใช่ว่าไปทำคนที่แรงน้อยๆ หรือเด็กไหม่ครับไม่งั้นถ้าท่านทำบ่อยๆ อาจจะมีคนหมั่นใส้ และ ท่านจะเจอกับคำที่ผมจะนำเสนอต่อไป
  • "สวน" คำนี้มีใว้สำหลับผู้ที่ทำการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี จนมีแรงแบบเหลือๆ แต่ท่านควรใช้ในเหตุการณ์ที่สมควรด้วยนะครับ และถ้าท่านเจอนักปั่นจักรยานที่มีนิสัยตามข้อ 3 เราอนุญาติให้ท่าน สวน ได้เลยครับตามสบายครับ แต่ต้องสวนให้เขาผู้นั้นหลุด ไปเลยนะครับ เรียกว่าเป็นการบอกให้เขาผู้นั้นรู้เป็นนัยๆ ว่าคนแรงกว่าท่านยังมีอีกเยอะ การ สวน คนอื่นนั้นถ้าเราคิดว่าเราไม่พร้อมหรือไม่แรงจริงอย่าทำ ครับเพราะเราจะเป็นฝ่ายที่ถูกสวนกลับ และกลายเป็นผู้ที่หลุดจากกลุ่มเอง

    ภาษาในกลุ่มนักปั่นจักรยานยังมีอีกเยอะแยะครับไว้วันหน้าวันหลังถ้าผมว่างๆ จะเอา ศัพท์ แปลกๆ ตลกๆ มากฝากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ อีกนะครับวันนี้ขอจบบทความนี้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ บทความนี้ถึงจะไม่ค่อยมีสาระเท่าไหล่ แต่ก็คิดเสียว่าอ่านให้ได้คลายเคลียดกันก็พอครับ ขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัตินักปั่น จักรยาน ชื่อ Roger De Vlaeminck

Roger De Vlaeminck

    Roger De Vlaeminck เขาเกิดวันที่ 24 สิงหาคม ปี ค.ศ 1947 เป็นนักปั่น จักรยาน ชาวเบลเยี่ยม ปัจจุบันเขาอายุได้ 63 ปี เขามีชื่อเล่นว่า "ยิปซี" เหตุที่เขามีชื่อเล่นนี้เพราะว่าเขาเกิดในครอบครัวของนักเดินทางอย่างแท้จริง คือครอบครัวของเขาจะไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน โดยจะอาศัยกันอยู่ในรถที่ตกแต่งภายให้เป็นบ้าน และครอบครัวของเขาก็ย้ายที่อยู่กันบ่อยครั้ง โรเจอร์ นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปั่นจักรยานที่สามารถทำผลงานได้ดี ในรายการแข่งขัน จักรยาน ที่มีสภาพสนามเป็น แบบวิบาก เช่น การแข่งขันจักรยานรายการ "Paris Roubaix" และจากความสามารถอันโดดเด่นนี้เองทำให้เขาได้รับ ฉายาว่า "Monsieur Paris Roubaix"

   ในวัยเด็กนั้น โรเจอร์ ชอบเล่นกีฬาฟุตบอลมาก โดยเขาเล่นให้กับทีม F.C. Eeklo จนกระทั่งเขาได้ออกจากโรงเรียน และได้เป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ ต่อมาพี่ชายของเขาได้ชักชวนเขาเล่นกีฬาจักรยาน เพราะว่าตัวของพี่ชายของเขานั้น เป็นนักปั่น จักรยาน อาชีพอยู่ก่อนแล้ว และโรเจอร์ ก็มีความสนใจอยู่แล้วจึงตอบตกลงที่จะร่วมเดินทางไปในเส้นทางเดียวกับพี่ชายว่าจะลองมา เล่นกีฬาจักรยาน โดย รายการแรกที่เขาลงทำการแข่งขันนั้น เป็นรายการของมือสมัครเล่น ในปี ค.ศ. 1965 ต่อมาเขาและพี่ชายได้เข้าร่วมการแข่งขันจักรยานรายการ "Cyclo cross" ในปี ค.ศ. 1968 โดยพี่ชายของเขาได้กลายเป็นแชมป์ ระดับอาชีพ ส่วนเขานั้นได้แชมป์ประเภทสมัครเล่น และต่อมาในปี ค.ศ. 1969 โรเจอร์ ก็ได้กลายเป็นนักปั่นจักรยานอาชีพเต็มตัว และในการแข่งขันแต่ละรายการนั้นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับตัวของเขาคือ เอ็ดดี้ เมิร์ก โดยตลอดการเป็นนักปั่นจักรยานอาชีพนั้นเขาได้ทำผลงานไว้มากมาย และชัยชนะที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากนั้น ได้แก่
  • Belgian National Road Race Championships ในปี 1969, 1981
  • Omloop Het Volk ในปี 1969, 1979
  • Paris–Roubaix ในปี 1972, 1974, 1975, 1977
  • Tirreno–Adriatico ในปี 1972, 1973, 1974, 1975, 1976, 1977
  • Ronde van Vlaanderen ในปี 1977
  • Milan – San Remo ในปี 1973, 1978, 1979
  • Giro di Lombardia ในปี 1974, 1976
  • Liege–Bastogne–Liege ในปี 1970

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

จักรยาน ฟิกเกียร์

จักรยานฟิกเกียร์

    จักรยานประเภทนี้นั้น จะมีความคล้ายคลึงกับจักรยานที่ใช้สำหรับแข่งขันในประเภทลู่ แต่ถูกผลิตหรือดัดแปลงมาเพื่อใช้บนถนนทั่วไป จักรยานประเภทนี้จะไม่มีเกียร์นะครับ คือจะมีเฟืองหลังเพียงอันเดียว และที่สำคัญมันฟรีเท้าไม่ได้นะครับ ในปัจจุบันผมเห็นกลุ่มวัยรุ่นหันมาขี่จักรยานฟิกเกียร์กันเยอะพอสมควร แต่เห็นว่า จักรยาน ประเภทฟิกเกียร์ที่ใช้บนท้องถนนนั้น ได้เข้ามาในเมืองไทยหลายปีแล้วครับแต่ได้รับความนิยมเพียงกลุ่มเล็กๆ เช่นนักเรียน หรือผู้ที่ไปศึกษาที่ต่างประเทศพอเรียนจบกลับบ้านที่ประเทศไทยก็จะนำจักรยานของตัวเองกลับมาด้วย เพื่อเอามาปั่นในเมืองไทย (ตอนที่ผมไปหาซื้ออะไหล่จักรยาน ผมก็เคยเจอ ดารานักแสดงบ้านเรา เขาก็ขี่จักรยานประเภทนี้กันหลายคนครับ เช่น คุณ เจ มณฑล และ อีกหลายคนผมจำชื่อ ไม่ค่อยได้ครับ แต่ก็เจอบ่อยเหมือนกันครับ) แต่ในต่างประเทศนั้นจักรยานฟิกเกียร์นั้นโดย ทั่วไปแล้วจะเป็นจักรยานที่เขาใช้ในการส่งเอกสาร หรือผู้ที่ทำงานทางด้านส่งเอกสารระหว่างบริษัทที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก และต้องการความเร่งด่วนในการส่งเอกสารมากๆ จึงต้องใช้บริการของพวกเขาเหล่านี้ ด้วยการที่เป็นจักรยานที่มีความคล่องตัวสูง และประกอบกับไม่ต้องการ การดูแลรักษามาก อีกทั้งในปัจจุบันได้มี กลุ่มวัยรุ่น หันมาตกแต่ง จักรยานฟิกเกียร์ ของตนให้มีสีสันสวยงามสดุดตา จึงยิ่งทำให้จักรยานประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก กว่าแต่ก่อนที่มีกลุ่มที่ปั่นเพียงกลุ่มเล็กๆ

ข้อควรระวังในการขี่จักรยานฟิกเกียร์
  • สำหรับนักปั่นมือใหม่ผมขอแนะนำ ว่าควรติดตั้ง ระบบเบรค ไว้ด้วยนะครับ เพราะผมเห็นหลายคนซื้อจักรยานประเภทนี้มาใหม่ๆ และอาจจะเห็นของเพื่อนๆ ไม่ได้ ติดตั้งเบรค นั้นอาจเป็นเพราะว่าเพื่อนของคุณขี่จักรยานประเภทนี้มานาน และมีความชำนาญในการบังคับ และควบคุม ต่างจากนักปั่นมือใหม่ ที่ยังไม่รู้จังหวะในการหยุดรถ จักรยานฟิกเกียร์ เพราะมันต้องอาศัยประสบการณ์และทำความคุ้นเคยกับมันพอสมควร
  • หลายท่านเวลาไปหาซื้อจักรยานฟิกเกียร์มา คงสังเกตุเห็นว่าบางร้านเขาจะ ติดตั้งที่รัดเท้า ติดมากับบรรไดรถจักรยานด้วย หลายคนมักเรียกว่า "ตะกร้อรัดเท้า" นั่นแหละครับ ผมแนะนำว่ามือใหม่เวลาท่านปั่นไม่ควรรัดเท้าติดกับบรรได ควรปล่อยแบบหลวมๆ ไว้ นะครับเพราะเวลาท่านจอดรถท่านจะต้อง เจอกับปัญหา ที่ว่าถอดเท้าไม่ออก หรือ ลืมจึงถอดออกไม่ทันแล้วคุณก็ล้ม ลงตรงนั้นอาจจะไม่เจ็บมาก แต่ถ้าล้มต่อหน้า สาวๆ แล้วคงไม่ต้องให้ผมบรรยายนะครับว่า มันหน้าอายมากแค่ใหนแทบจะแทรก หรือมุดดินให้ตัวเองหายไปตรงนั้นเลยครับ ไม่ต้องคิดอะไรมากครับขนาดมือ เก๋าๆ บางคนยังลืมได้เลย ของมันลืมกันได้ครับ แต่ยังไงความปลอดภัย ก็ต้องมาเป็นอันดับแรก นะครับ ขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆสนุกกับการปั่นจักรยานที่ตัวเองรักนะครับ และก็ต้องขอบอก บ๊าย บาย!! ก่อนจบบทความผมหา คลิปวีดีโอ การปั่นฟิกเกียร์ จาก Youtube มาฝากด้วยครับ เชิญชมได้ตามสบายนะครับ