การอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขันจักรยาน |
การเตรียมตัวก่อนทำการแข่งขันจักรยานนั้น ส่วนตัวผมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน นะครับ
- การเตรียมความพร้อมของจักรยาน และอุปกรณ์ สวมใส่
- การเตรียมความพร้อมของร่างกาย
การเตรียมความพร้อมสำหรับจักรยาน
- ลมยาง และสภาพยางจักรยาน ยางที่หมดสภาพแล้วควรเปลี่ยนก่อนทำการแข่งขัน และเช็คแรงดันลมยางให้ถูกต้อง ก่อนทำการแข่งขันเสมอครับ เช็คตรงจุด Start เลยครับ แน่นอนที่สุด แต่หากเป็นการแข่งขันประเภทลู่ ที่ยังทำการแข่งขันกันในสนามดิน ควรเช็คกาวที่ทายางอาฟ ด้วยครับว่ากาวหมดสภาพหรือยัง เหตุการณ์นี้ ผมเคยเจอมากับตัวเองเลยครับ ตอนที่ผมแข่งจักรยาน คัดตัวแทนเขต 5 ผมลงแข่งขันจักรยานประเภทพ้อยเรซ ผมประสบอุบัติเหตุ ระหว่างการแข่งขันเพราะว่า กาวที่ทายางอาฟ มันหมดสภาพ ครับยางเลยหลุดออกจากขอบ ตัวผมสปริ้นนำมาแล้วพอช่วงเข้าโค้ง ความเร็วมันสูงมากครับ ยางเลยหลุดออกจากขอบล้อ ตัวผมล้มก่อนครับ ส่วนคนที่ตามผมมา ก็ไม่รอดครับ สอยผมเข้าไปเต็มๆ ล้มด้วยกันทั้งคู่ แต่ก็ยังดีครับ พวกพี่ๆ ที่อยู่ทีมเดียวกันกับผม เขามาชมแบบติดสนามจริงๆ คือผมล้มต่อหน้าเขาเลยครับ พี่เขาเลยเข้ามาช่วยดึงยางให้เข้าที่ แล้วผมก็ต้องแข่งขันต่อตามระเบียบครับ สรุปพอจบการแข่งขันผมได้ ที่2 พี่คนที่ล้มตามผมเขาได้ ที่1 ครับ เหตุที่พวกพี่เขาชอบดูการแข่งขันแถวใกล้ๆโค้ง เพราะส่วนใหญ่จะได้เห็นภาพกีฬามันๆ กันแบบจะๆ พวกการแข่งขันจักรยานประเภทสปริ้น ที่ใช้ความเร็วสูงๆ โอกาสล้มมีสูงมากครับ ยิ่งแข่งในลู่ดินแล้วละก็ เกือบจะทุกรายการครับ เป็นต้องล้มกันบ่อย ดังนั้นอย่าลืมเช็คสภาพยางก่อนการแข่งขันด้วยนะครับ
- เช็คจุดหมุน และข้อต่อต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ล้อเช็คว่าลื่นดีหรือเปล่า มีอาการโยกหรือคลอนใหม โซ่จักรยานอยู่ในสภาพดีหรือเปล่า อย่าลืมหยอดน้ำมันหล่อลื่นด้วยนะครับ น็อตสกรูต่างๆ ขันแน่นหรือยัง ตรวจให้พร้อมครับ เพราะพวกนี้ตอนซ้อมมันไม่ค่อยมีอาการ แต่ตอนที่เราจะแข่งนี้ซิครับ หากเราไม่เช็คอีกรอบ มันชอบมางอแง่ช่วงนี้จริงๆ
- ระบบเบรคจักรยาน ส่วนใหญ่หลายคนจะ ไม่ค่อยได้เช็ค หลอกครับ เพราะถือว่าใช้ทนใช้นาน เลยละครับ ยิ่งผ้าเบรคบางรุ่นใช้กันจนลืม เลยครับว่าซื้อมาเมื่อไหล่ แต่ก่อนแข่งขัน ดูซักหน่อยก็ดีครับ กันเหนียว เช็คทั้งระบบ เลยยิ่งดีครับ เช่น สายเบรค หมุนน็อตแน่นหรือเปล่า เช็คดูให้ดีครับ เพราะเบรคจะสำคัญมากครับ เวลาเราลงเขา
- บรรได และรองเท้าจักรยาน ตรงส่วนนี้หลายคนอาจจะ ไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร แต่มันทำให้ผมพลาดโอกาสได้ลุ้นเหรียญ ในกีฬาแห่งชาติ มาแล้วครับ ตอนนั้นผมไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ที่จัดขึ้นที่จังหวัดอยุธยา ผมจำปีไม่ได้แล้วครับขออภัยด้วยนะครับ ซึ่งผมเป็นตัวแทนของเขต 5 ทางผู้จัดการทีมให้ผมลงแข่งขัน 2 รายการครับ แต่ก็พลาดโอกาสได้เหรียญทั้งสองรายการเลย คือ จักรยานทางไกลระยะทาง 180 ก.ม. และพ้อยเรซ รายการแรก 108 ก.ม. ผมพลาดโอกาสได้เหรียญเพราะว่าประสบการณ์ผมยังน้อยครับ ผมแบ่งการใช้แรงยังไม่เป็น เลยเข้าแค่ที่ 5 ส่วนประเภทพ้อยเรซที่ทางพี่ๆ ในทีมเขาหวังว่าผมคงได้ลุ้นเหรียญแต่ก็พลาดเพราะว่า เจ้ารองเท้าจักรยานของผม เชือกผูกรองเท้ามันหลุดครับ (ไม่ต้องงงครับเมื่อก่อนรองเท้าจักรยานบางรุ่นยังใช้เชือกผูกรองเท้าอยู่ครับ) คือช่วงที่เชือกมันยังไม่หลุดผมก็สปริ้นเข้า และมีคะแนนตลอด พอเชือกมันหลุดแล้วผมลุกจากอานจักรยานสปริ้นไม่ได้เลยครับ ได้แต่ประคองตัว ไม่ให้หลุดออกจากกลุ่ม ก็พอ ช่วงแรกๆ ของการแข่งขันมีอุบัติเหตุล้มกันไปหลายคนครับ เพื่อนผมที่อยู่ทีมเดียวกันก็ล้มไปด้วย จนต้องออกจากการแข่งกันไปหลายคน ส่วนผมหลบมาได้อย่างหวุดหวิด แต่ดันมาเชือกรองเท้าหลุดอีก มันน่าเศร้าจริงๆ แต่ผมก็แข่งขันจนจบนะครับ แต่ก็พลาดไม่ได้ซักเหรียญ ดังนั้นอย่าประมาทครับควรเช็ครองเท้าปั่นจักรยาน ดูให้แน่ใจว่าสภาพ กาวที่ยึดพื้นรองเท้ากับตัวรองเท้า ยังติดกันดีอยู่ เพราะผมเคยสปริ้นจนตัวรองเท้าหลุดออกจากพื่นรองเท้ามาแล้วครับ ไม่ใช้ว่าผมแรงดีนะครับ เป็นเพราะกาวที่ทางโรงงานเขาทามามันหมดสภาพเองครับ อีกอย่างผมเคยเห็นการแข่งขันจักรยานประเภทลู่สมัยนี้ เขาจะมีเข็มขัดรัดรองเท้าให้ติดกับบรรไดอีกที หากคุณเป็นคนที่สปริ้นหนักๆ ผมว่าหามาใช้สักคู่ก็ดีครับ ผมเคยเห็นวีดีโอของฟรั่ง บางคนสปริ้นกันจนซี่จักรยานขาดกันเลยก็มีครับ โหดกันดีจริงๆ ที่สำคัญหล่อนเป็นผู้หญิงด้วยนะครับ ใครได้เป็นแฟนคงไม่กล้าหนีเที่ยวเป็นแน่แท้!!
การเตรียมความพร้อมของร่างกาย ก่อนการแข่งขันจักรยาน
- การอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขันจักรยาน ผมว่ามันเป็นสิ่งสำคัญเลยครับ เพราะมันจะทำให้ร่างกายของเรา พร้อมสำหรับการแข่งขัน และลดอาการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อม หรือการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น หากเราจะทำการแข่งขันจักรยานทางไกล เราก็ยืดเส้นยืดสาย ก่อนขึ้นขี่จักรยาน แล้วก็ปั่นเล่นเบาๆ ใกล้ๆ กับจุดเริ่มต้นของสนามแข่งขัน หรือถ้าหากเป็นการแข่งขันประเภทลู่ ก่อนทำการแข่งเราต้องอบอุ่นร่างกาย ด้วยการขึ้นลูกกลิ้ง หรือเทรนเนอร์ เพราะเนื้อที่ที่มีจำกัด ของสนามแข่งนั่นเองครับ
- การทานอาหารก่อนทำการแข่งขันจักรยาน หากเราจะทำการแข่งขันระยะทางสั้นๆ เราไม่ควรทานเยอะครับ อาจจะทานก่อนทำการแข่งขัน 1 ช.ม. ครึ่ง ถึง 2 ช.ม. หากเป็นการแข่งขันจักรยานทางไกล อันนี้จัดเต็มไปเลยครับ แต่ควรก่อนการแข่งขันสัก 1 ช.ม. ส่วนเหตุการณ์และประสบการณ์ เกี่ยวกับการทานอาหารนี้ไม่ได้เกิดกับผมโดยตรงนะครับ แต่มันเกิดกับรุ่นพี่ที่ฝึกซ้อมด้วยกันกับผม คือวันนั้นออกไปฝึกซ้อมจักรยานกันตามปรกติ ระยะทางประมาณ 70 - 80 กิโลเมตร พอขี่กันไปได้ซักประมาณ 20 กว่า ก.ม. พี่เขาก็ธาตุไฟเข้าแทรกครับ คืออวกนั่นเองครับ พี่เขาคงทานเยอะไปหน่อย แล้วไม่ได้รอให้อาหารย่อยสักพักก่อนแล้วค่อยมาฝึกซ้อม ทำให้พี่เขาต้องจอดพัก แล้วค่อยรอเข้ากลุ่มอีกที่ตอนที่กลุ่มวนกลับมาครับ แต่พี่เขาพอเข้ากลุ่มอีกที่ก็ไม่เป็นไร ปั่นได้ตามปรกติ ถ้าผมจำไม่ผิดการปั่นจักรยานฝึกซ้อมตอนนั้นความเร็วเฉลี่ยน่าจะอยู่ประมาน 43 - 45 ก.ม./ชั่วโมง ในสมัยนั้น ก็ถือว่าเร็วแล้วครับ แต่หากเป็นสมัยนี้ผมว่าความเร็วขณะปั่นกันเป็นกลุ่มคงไม่น่าจะต่ำกว่า 45 ก.ม./ช.ม. เพราะเหตุที่ว่า อุปกรณ์จักรยาน และเทคนิคต่างๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นเลื่อยๆ ทำให้นักปั่นจักรยานในปัจจุบัน ปั่นได้เร็วขึ้นนั่นเองครับ
- ความตื่นเต้นก่อนการแข่งจักรยาน อันนี้เป็นกันทุกคนครับ ใครที่เคยเป็นนักกีฬาคงจะรู้ดีครับ แต่เราควรควบคุมมันให้ได้ครับ อย่าให้มันมีผลต่อการแข่งขัน หากเป็นนักกีฬาที่มีประสบการณ์หรือ เคยผ่านสนามมาเยอะๆ จะไม่ค่อยตื่นเต้นครับ เพราะแข่งบ่อยๆ จะชินไปเองครับ แต่หากเป็นนักปั่นจักรยานหน้าใหม่ ต้องควบคุมตัวเองให้ได้ครับอย่าให้ตื่นเต้นจนลืมสิ่งที่โค้ช หรือผู้ฝึกสอน ได้แนะนำไว้ก่อนการแข่งขันนะครับ แต่หากเวลาผ่านไปเราก็จะมีประสบการณ์มากขึ้น และจะเคยชินไปเองครับ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: ตารางขนาดล้อ และยางจักรยาน
0 comments:
แสดงความคิดเห็น